ดราม่า ปรับ หรือ เปลี่ยน ชื่อ เมืองหลวง เสียงแตก ที่ต้องเหลียวกลับมาดู

ดราม่า ! ปรับ หรือ เปลี่ยน ชื่อ เมืองหลวง Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) ชื่อนี้เป็นเหตุสังเกตได้ เสียงแตก ! ทั้งโซเชียล ที่ต้องเหลียวกลับมาดูกันอีกครั้ง

ก่อนจะถกเถียงกันไปไกลเรามาดูรายละเอียดกันอีกที

ซึ่งหลายวันที่ผ่านมาเกิดเสียงแตก ในสังคมและสื่อออนไลน์จากกระแส ปรับหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ของประเทศไทย โดยแท้จริงแล้ว Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok ได้มีประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2544 ตามเอกสารที่ ราชบัณฑิตยสภา ได้ออกมาชี้แจง ดังนั้น ล่าสุดเป็นเพียงการปรับเครื่องหมายเพื่อเพิ่มคำนิยาม ของภาษาให้ชัดเจน

แบบเดิม Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok

เครื่องหมาย อัฒภาค ;

  • ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน

  • ใช้คั่นระหว่างประโยคที่สมบูรณ์ 2 ประโยค เพื่อแสดงความต่อเนื่องของประโยคทั้งสอง

  • ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคอยู่แล้วให้เป็นส่วน ๆ ชัดเจนขึ้น 335; 551; 35; 984

  • ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมาก ๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวก ๆ

  • ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ความหมายก็ยังมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม และยังใช้คั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายไม่สัมพันธ์กันด้วย จร ก. ดู; ไป, เกี่ยวไป; ประพฤติ

ใช้คั่นนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ยังมีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน

แบบใหม่ Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)

เครื่องหมาย นขลิขิตหรือวงเล็บ ( )

  • ใช้กับข้อความที่อธิบายไว้เพื่อช่วยให้ชัดเจนขึ้น

ตาของเธอสวยเหมือนตาเนื้อทราย (เนื้อทรายเป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีนัยน์ตาสวยมาก)

  • ใช้กับข้อมูลบางอย่างเพื่อเตือนความจำ กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน)

  • ใช้คร่อมนามเต็มที่เขียนไว้ใต้ลายเซ็น

  • ใช้คร่อมตัวเลขหรือตัวอักษรที่เป็นหัวข้อบอกเชิงอรรถ

  • ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือเขียนสูตรเคมีเพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือสัญลักษณ์

ใช้ขยาย, อธิบายความข้างหน้า ลดความกำกวม เพราะฉะนั้น การเอา Bangkok มาใส่ใน () ก็เพื่อขยายหรืออธิบาย Krung ​Thep​ Maha​ Nakhon ไม่ได้ “เปลี่ยน” อยากใช้ Bangkok ก็ใช้ไปสิ!

คลิปอีจันแนะนำ
พี่คิดว่า หนูหิวข้าวไหมคะ?