ทำไมต้อง บูลลี่ พอหรือยังกับผลร้ายที่ตามมา

บูลลี่ คืออะไร ทำไมต้องบูลลี่ ผลเสียร้ายแรงที่ตามมาเป็นอย่างไร กับการเตรียมพร้อมรับมืออย่างถูกต้อง

บูลลี่ (Bully)

บูลลี่ (Bully) คือ การกลั่นแกล้ง แซวแรง ให้ร้าย ดูถูก ยั่วยุ เหยียดหยาม เยาะเย้ย นินทา ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดทางกายและใจ และอื่นๆ ที่เป็นการกระทำไม่ดีให้อีกฝ่ายกระทบกระเทือนจิตใจ ปัจจุบันการบูลลี่เกิดในประเทศไทยในทุกช่วงอายุและทุกสังคม เช่น เด็กนักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน รวมทั้งวัยเกษียณก็อาจเกิดขึ้นได้ ผลร้ายของการบูลลี่คนอื่น ทำให้ผู้ถูกกระทำ รู้สึกหดหู่ เครียด ซึมเศร้า ไม่กล้าเข้าสังคม หรือร้ายแรงที่สุดคือฆ่าตัวตาย เพราะ รับไม่ได้ อับอาย รู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่

เด็ก 14 เเชทลาเเม่ บอกโดนกดดัน เพื่อนไม่คบ ครูด่า

ข้อมูลล่าสุด กรมสุขภาพจิต ระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับการบูลลี่เป็น 2 ในโลกในปี พ.ศ. 2563 รองจากประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดียโดยคำที่คนไทยส่วนมากใช้บูลลี่กันมากที่สุดมักเป็นเรื่องของ รูปลักษณ์ เพศ และความคิดหรือทัศนคติ

ขณะที่โลกปัจจุบันการบูลลี่ ไม่ใช่เพียงแค่บูลลี่ในคมสังคมปิดแบบ offline ในโรงเรียน ในที่ทำงาน เพียงเท่านั้น แต่ยังมีบูลลี่ในรูปแบบ Online อีกด้วย หรือที่เราเรียกกันว่า Cyberbullying เช่น การโพสต์คุกคามทางคำพูดผ่านทางโซเชียลต่างๆ ทำให้โลกปัจจุบันมีความร้ายกาจและรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกว่าเราถูกบูลลี่แล้วเราจึงควรมีความคิดที่จะป้องกันตัวเพื่อให้ตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างดีขึ้นและไม่คิดสั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า เรากำลังบูลลี่คนอื่นอยู่?

บางทีการบูลลี่ คิดง่ายๆ คือการ แซวทีเล่นทีจริง บางครั้งผู้ฟังอาจรู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจแต่อาจไม่บอกเราก็ได้ แต่เราควรสังเกตุพฤติกรรมของผู้ที่เรากำลังแซวเล่นอยู่ว่า บุคลิกเขาเปลี่ยนไปหรือไม่หลังเราได้แซวลงไป ถ้ามีพฤติกรรมเปลี่ยนชัดเจนควรขอโทษและปลอบโยน แต่ถ้าเปลี่ยนเล็กน้อยก็ควรที่จะเปลี่ยนเรื่องคุยไปเลยหรืออาจคุยปรับความเข้าใจกันก็จะช่วยให้ไม่แตกหักกันได้

วิธีการรับมือกับการถูกบูลลี่

  1. ถูกบูลลี่ เพราะคิดไปเองว่าเราถูกบูลลี่ ส่วนนี้เป็นพฤติกรรมส่วนตัว ควรปรับตัวด้วยการพยายามคิดเรื่องอื่น ไม่เสพสื่อออนไลน์มากเกินไป เลิกคิดมาก คิดแค่ว่าไม่ใช่เราหรอก หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ แล้วคิดเรื่องอื่นทันทีช่วยได้

  2. ควรมีสติและคุยกับผู้รังแกให้เคลียร์ปัญหา (พูดเหมือนง่าย แต่ต้องลองทำนะ)

  3. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ อย่าแคร์ผู้อื่นมากเกินไป ควรแคร์บุคคลที่เราควรแคร์

  4. วางตัวในสังคมให้เป็น และไม่ทำอะไรเกินตัว เช่น เรามีรายได้น้อย แต่อยู่ในสังคมใช้ของแพง ถูกคนอื่นคุกคามทางคำพูดและสายตาต่างๆ เราก็ควรปรับความคิดว่า ควรพอใจในสิ่งที่เรามี ไม่มีแบบเขาเราก็อยู่ได้ เรื่องของเรา คิดแค่นั้นสบายใจ

  5. ไม่ใช้กำลังเพื่อหยุดการ รังแกและข่มเหง เพราะอาจส่งผลไม่ดีตามมากับเราได้ ถ้าเราทนไม่ไหวและเริ่มก่อน หากคิดว่าศักดิ์ศรีต้องมาก่อนเราต้องตอบโต้ซะบ้าง คิดซะว่า ปัญหาจะตามมาอย่างไม่หยุดแน่นอน ทั้งในเรื่องของคดีความต่างๆ การเจ็บตัว และค่ารักษาพยายาบาล อ้าว!…แล้วควรทำไงหละเมื่อเราโดนกระทำ ควรหนี (ศักดิ์ศรีบางทีก็กินไม่ได้ติดคุกขึ้นมายุ่งเลย) หาหลักฐานต่างๆ เพื่อมัดตัวผู้กระทำ พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือตำรวจ

สำหรับการบูลลี่ในโรงเรียน การที่เด็กถูกบูลลี่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดปัญหาเด็กไม่อยากไปโรงเรียน ส่งผลต่อผลการเรียนและความปลอดภัยของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเจอปัญหาตามลำพัง ผู้ปกครองควรหมั่นซักถาม และสังเกตอาการ เมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ วิตกกังวล กลัว ไม่อยากไปโรงเรียน ควรรีบปรึกษาครูประจำชั้นหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทันที เพื่อช่วยกันแก้ไขและหาทางออกของปัญหาก่อนที่จะบานปลายทำให้เด็กไม่สามารถเข้าสังคมได้เป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปในอนาคต บูลลี่ในที่ทำงาน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรูปร่างหน้าตา และพฤติกรรมของพนักงาน รวมถึงเรื่องชู้สาวที่มีโอกาสเกิดปัญหาคุกคามทางเพศ

ทั้งนี้การคุกคามให้คนอื่นกระทบกระเทือนจิตใจสามารถทำได้ง่าย แต่จะทำไปเพื่ออะไร เราควรที่จะสร้างมิตรที่ดี ไม่ควรคุกคามผู้อื่น ถ้าเราถูกผู้อื่นคุกคาม ควรมีสติ คิดให้มากๆ ไม่ควรใข้กำลัง ทุกอย่างมีทางออก เมื่อเราหาเจอ ผู้คุกคามเรา ก็จะไม่สามารถทำอะไรเราได้ พร้อมกับได้ชีวิตที่มีความสุขกลับคืนมา

อ้างอิง : กรมสุขภาพจิต , https://www.ihlcares.com/blogs/news/bullying

คลิปแนะนำอีจัน
โดยต่อยไม่ยั้ง เพราะ บอกกะเพราหมูกรอบ