นายกสมาคมภัตตาคารไทย แนะการจัดอาหารให้ผู้ป่วย โควิด กลุ่มสีเขียว

นายกสมาคมภัตตาคารไทย ชี้ ผู้ป่วย โควิด กลุ่มสีเขียว (Home Isolation) ควรได้รับ อาหารปรุงสุก ทุกมื้อ

สถานการณ์ โควิด ในประเทศไทยขณะนี้ ยังคงมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาล ในขณะที่บางส่วน ที่เป็นส่วนผู้ป่วยสีเขียว จะเป็นการรักษาในรูปแบบของ HI หรือ Home Isolation

13 มี.ค. 65 นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ได้เขียนเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ อาหารส่งให้ผู้ป่วย ที่รักษาตัวแบบ Home Isolation โดยระบุว่า…

อุดมคติเหมือนดวงดาว

แม้ไม่สามารถเอื้อมไปคว้าดวงดาวมาอยู่ในกำมือได้ จริงๆ แต่ขอให้เรา สามารถตั้งจิตมั่น

ในกรณีของ อาหารผู้ป่วยกักตัว เตียงเขียว

Home Isolation ชื่อย่อว่า Hi

เราไม่สามารถหา สถานพยาบาลที่มีองค์ประกอบครบในอุดมคติทั้งหมด ให้เงินตามที่ขอ 380 บาท แต่กว่าเงินจะออก 70 วัน มีข้าราชการ C น้อยๆ อวดวิเศษ มาควบคุมโภชนาการคนไข้

รู้บ้างละเปล่า ในชีวิตจริงคนป่วย เขากินไม่ลง

ความเป็นนักออกแบบโภชนาการ เก็บเอาไป ก้มหน้า รอขึ้นตำแหน่งละกัน

ส่งงานบ้าบอคอแตกอะไรกัน

จนอาหารกินไปจนหมด คนไข้หายป่วย ยังแก้เอกสารส่งงาน

อ้างดินอ้างฟ้า อ้าง สปสช. อ้างไปถึง สตง.

อ้างให้ถึง ลุงตู่ ได้จะดีมาก

นี่มันสงครามโรค วิกฤตขนาดทั้งโลกล้มคว่ำคะมำหงาย ยังอ้างระบบราชการ อยู่ได้

ขอแช่งให้ ครอบครัวติดโควิด แล้วได้อาหารเน่าๆ ไปกิน วันนั้นจะ สำนึก

ไม่ค่อยอยากจะอวด ขี้โม้ว่า

ในเมื่อนายกรัฐมนตรี ยังฟังความเดือดร้อนของ คนร้านอาหาร โดยสมาคมภัตตาคารไทย เป็นแกนกลาง นำเสนอ เป็นตัวแทนคนร้านอาหารขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

เรื่อง อาหารกล่อง ที่มีเงิน รัฐบาล เงินภาษี ไม่มาจ้าง ไม่มาปรึกษา เรา

มัวคิดหาประโยชน์ ค้ากำไร กับ ความเจ็บป่วยของชีวิต ผู้คน เราสวยเลือกได้ เรา จะทำกับคนดีเท่านั้น

เราเจอ สถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ขอ package C

วางบิลทุกวันศุกร์ จ่ายเงินสัปดาห์ ถัดไป

เพื่อนๆ ร้านอาหาร ต้องมีเงินสด สำรอง ค่าอาหารสด และค่า Rider ทุกวัน

เคส รพ. นี้ ทำตั้งแต่กลางกรกฎาคม 64 และทำจนถึงปัจจุบัน อะลุ่มอล่วย ถ้อยที ถ้อยดำเนินการ แต่เคสไม่เยอะ รับผิดชอบแค่ 2 ร้าน ก็ให้เพื่อนๆ รับผิดชอบกัน

จน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 ตอบรับคำเชิญประชุมของ รพ. ธนบุรีบำรุงเมือง คุยกัน 2 ชั่วโมง ปรับจูนทิศทาง อุดมคติ ตรงกัน ให้คนป่วยได้รับอาหารในมื้อเช้า กลางวัน เย็น เป็นอาหารเหมือนที่พวกเรากินได้ แทบน้ำตาไหล ด้วยความดีต่อใจ

ในที่สุด เราก็หากันจนเจอ จ่ายเงิน 3 วันแรกจ่ายวันที่ 4 ต่อไปไล่จ่ายวันต่อวัน 3 วันแรก ขลุกขลักนิดหน่อย วันที่ 4 พอได้เวลาต้องจ่ายเงิน

ฝ่ายบัญชี การเงิน ติดต่อมา คืนวันที่ 11 โอนยอดเงินวันที่ 8 มา เมื่อคืนวันที่ 13 โอนยอดเงินค่าอาหารวันที่ 9 และ 10 มา

ตอนนี้ เริ่มเข้าระบบ สิ่งที่ออกแบบไว้กับ อาหารของผู้ป่วย HI ต้องเป็นแบบนี้ ใช้ร้านอาหารใกล้บ้านผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับอาหารร้อน ปรุงสุกใหม่

คนไข้และผู้ป่วย สามารถมีปฏิสัมพันธ์ คุยกัน สั่งอาหารเพิ่มได้ คนไข้มีอาหารที่มีคุณภาพ ร้านอาหารมีรายได้ ได้บุญ ได้เกื้อกูลคนในสังคมใกล้ที่ตั้งร้าน ได้โอกาสเพิ่มลูกค้าในอนาคต

ที่สำคัญไดัสตางค์เร็วมาก สายป่านจะขาดหมดแล้ว

ขอบคุณนะคะ ที่ รพ.ธนบุรีบำรุงเมือง หาสมาคมภัตตาคารไทยจนเจอ อย่างน้อย ในฐานะมืออาชีพด้านร้านอาหารที่มีเพื่อนๆ กระจายทั่ว กทม. และทั่วประเทศ

เราได้พิสูจน์ทฤษฎี ความร่วมมือ 2 ฝั่ง คือ ฝั่งแพทย์ และฝั่งร้านอาหาร จับมือกัน ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับอาหารที่ดีที่สุด ในพื้นฐานความจำเป็นแห่งการดำรงชีวิต

ร้านอาหารเองก็ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองรับผิดชอบงาน และได้รับการตอบแทนที่ดีพอสมควร

ในโลกนี้ ไม่มีอะไรดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด

เอาแค่ ดีที่สุดเท่าที ความเป็นมนุษย์ด้วยกัน พึงกระทำต่อกัน ในสถานการณ์เช่นนี้

คลิปอีจันแนะนำ
จับโป๊ะสกิลใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์!