ปกปิดข้อมูล บอกไทม์ไลน์ไม่หมด โทษทั้งจำปรับ

โทษระบุชัด! ผู้ป่วย โควิด-19 ปกปิดข้อมูล บอกไทม์ไลน์ไม่หมด โทษทั้งจำปรับ

หลังจากเมื่อวานนี้ 26 ม.ค.2564 26 ม.ค.64 กรมควบคุมโรค พบผลตรวจ โควิด-19 จากกรณีของดีเจมะตูม ติดเชื้อเพิ่มอีก 5 ราย รวมสะสมล่าสุด 24 ราย โดยเป็นผู้ชาย 23 ราย ผู้หญิง 1 ราย มีอายุระหว่าง 20-49 ปี

ขณะเดียวกัน ด้านนายพงศกร ขวัญเมือง โฆษก กทม. ก็มีการได้โพสต์ภาพไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang และจากการไล่ดูไทม์ไลน์ของผู้ป่วยตั้งแต่รายที่ 610 ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ เป็นต้นไป พบว่ามีผู้ป่วยบางราย ไม่เปิดเผยข้อมูล และบางรายได้ไปร่วมงานวันเกิดเพื่อน พร้อมกับขอไม่เปิดเผยข้อมูลไทม์ไลน์บางส่วน

อ่านข่าว

ล่าสุดวันนี้ 27 ม.ค. 2563 อีจันต่อสายตรงหาประชาสัมพันธ์กรมควบคุมโรค ทราบว่ากรณีดังกล่าวผู้ป่วยไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลเลยทันที มีการอ้างว่าไม่ได้เดินทางไปในในสถานที่อื่นๆ ซึ่งต้องใช้เวลากดดันและสอบสวนโรคพอสมควรกว่าผู้ป่วยจะยอมเปิดเผย พร้อมกันยังบอกอีกว่า หากใครที่ไม่ยอมเปิดเผยไทม์ไลน์อาจมีโทษทั้งจำ ทั้งปรับ โดยระบุว่า

จากการตรวจสอบ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

โดยมีสาระสำคัญดังนี้ การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ให้ประชาชนในพื้นที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่น “หมอชนะ” ควบคู่การใช้แอพพลิเคชั่นไทยชนะ

ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง โดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมและยานพาหนะของประชาชนเดิน ทางเข้าออกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร เพื่อสกัดคัดกรองคนเข้าออกพื้นที่ โดยบุคคลที่จะอออกนอกพื้นที่ ต้องแสดงเหตุผลความจำเป็น บัตรประชาชน บัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรอง ต่อเจ้าหน้าที่ ปราบปรามลงโทษผู้กระทำผิดเด็ดขาด จัดการเจ้าหน้าที่ที่รู้เห็นให้มีบ่อนพนันในพื้นที่อันเป็นต้นตอของการระบาด รวมถึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างประเทศโดยไม่ได้มีการตรวจสอบ คัดกรองโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โทษของผู้ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จ ต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรคเป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ.2558 ด้วย

โดยมาตรา 49 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 18 หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตามมาตรา 22(6) หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมาตรา 28(6) หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 50 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (1)(2)(4) หรือ (6) มาตรา 39 (1)(2)(3) หรือ (5) มาตรา 40 (5) หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 39 (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (3)(4)(7) หรือ (8) หรือมาตรา 40 (3) หรือ (4) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 53 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 54 เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 40 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 55 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท