ภาพรวม ไฟป่าแม่ฮ่องสอน รายงานจุดความร้อนสะสม 3,812 จุด

ภาพรวม สถานการณ์ ไฟป่าแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่1 ม.ค. – 1 เม.ย. 65 พบว่า ในหนึ่งปี จุดความร้อนสะสมเกิดขึ้น 3,812 จุด

2 เม.ย. 65 ศูนย์อํานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จ.แม่ฮ่องสอน รายงานสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองของ จ.แม่ฮ่องสอน ในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 1 เม.ย. 65 พบว่า

1.จุดความร้อนสะสมเกิดขึ้นจํานวน 3,812 จุด คิดเป็นร้อยละ 31.91 ของภาพรวมปี 2564 เมื่อพิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบ ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ พบว่า จ.แม่ฮ่องสอน มีจุดความร้อนสะสมสูงสุด แต่ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา ถึงร้อยละของจุดความร้อนที่ลดลง ณ ห้วงเวลา เดียวกัน พบว่า จ.แม่ฮ่องสอน สามารถลดจุดความร้อน ณ ห้วงเวลาเดียวกัน ได้ร้อยละ 69.2

โดยลดลงได้มากเป็นลําดับที่ 10 ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ และเป็นลําดับที่ 5 ของ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายของ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ตั้งไว้ คือ ลดจุดความร้อนลงร้อยละ 20 หรือ ไม่เกิน 9,556 จุด ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้น 3,812 จุด คิดเป็นร้อยละ 39.89 ของเป้าหมาย

2.ค่าฝุ่น PM 2.5 ซึ่งในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน มีสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีตรวจวัดอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และสถานีตรวจวัดอําเภอแม่สะเรียง โดยมีผลการตรวจวัด ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงปัจจุบัน ดังนี้

-สถานีตรวจวัดอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน มีจํานวนวันที่ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน จํานวน 30 วัน (ค่ามาตรฐานกําหนดไว้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร)

-สถานีตรวจวัดอําเภอแม่สะเรียง มีจํานวนวันที่ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน จํานวน 14 วัน (ค่ามาตรฐาน กําหนดไว้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร) โดยค่าสูงสุดที่วัดได้ เท่ากับ 158 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 65 ณ สถานีตรวจวัด อําเภอแม่สะเรียง

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น โดยปี 2564 มี จํานวนวันที่ฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐาน จํานวน 49 วัน ซึ่งปี 2565 ณ ปัจจุบัน มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว จํานวน 41 วัน

อีกทั้งค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ตรวจวัดได้ ในปี 2565 เท่ากับ 158 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2564 ซึ่งมีความเข้มข้นสูงถึง 329 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

มื่อวิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ในห้วงที่ผ่านมา พบว่า จุดความร้อนสะสมลดลงเป็นจํานวนมาก แต่ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ยังมีแนวโน้มที่สูง และอยู่ในระดับที่เกินมาตรฐาน โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ หมอกควัน และทิศทางลม ประกอบกับจํานวนการเกิด จุดความร้อนสะสมในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า สาเหตุที่สําคัญอีกประการหนึ่งของค่าฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน มาจากจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีจํานวนมาก

ทั้งนี้ เมื่อประกอบกับทิศทางลมที่พัดเข้าสู่ จ.แม่ฮ่องสอน ทําให้ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้ามาสะสมในพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งมีสภาพเป็นแอ่งกระทะ จึงส่งผลให้ค่าฝุ่น ละออง PM 2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องหลายวัน

คลิปอีจัน แนะนำ