รองนายกรัฐมนตรี แนะ 3 มาตรการ เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า

นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สังคมยุคใหม่ กฎหมายทันสมัย ระบบราชการทันโลก แก้คอรัปชั่นทันที” แนะ 3 มาตรการ เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า

(20 พ.ค.65 )ในงานเสวนา BETTER THAILAND open dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า โดยมี นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นกล่าว ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สังคมยุคใหม่ กฎหมายทันสมัย ระบบราชการทันโลก แก้คอรัปชั่นทันที”

นายวิษณุ ได้เปิดเผยว่า กฎหมายที่มีอยู่มากมายหลายฉบับในประเทศไทยนั้นจะเป็นภาวะทางกฎหมายที่ใครมาเห็นก็รู้สึกว่าล้าสมัย กฎหมายหลายฉบับที่ออกมาตั้งแต่ครั้งสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ก่อนรัชกาล จนวันนี้แล้ว กฎหมายเหล่านั้นยังใช้บังคับอยู่ นอกจากนี้ยังมี แล้วยังจะมีปัญหาที่เราออกกฎหมายมาไม่ทันกับสถานการณ์

ระบบราชการเช้าชามเย็นชามล้าสมัยสร้างภาระ และไม่เป็นมิตรกับประชาชน และในเรื่องของ การคอรัปชั่น มีกลไกตรวจสอบมีน้อย ทำให้ปราบได้ช้า

นายวิษณุ จึงได้แนะวิธีแก้ปัญหา เพื่อประเทศที่ดีกว่าเดิม 3 มาตรการ คือ

1.มาตรการทางบริหาร

หมายความว่า ถ้ามันไม่สะดวกไม่สบายมันยากมันใช้เวลารัฐ จำเป็นต้องเพิ่มคนจัดการกำลังเจ้าหน้าที่ให้เขา วันนี้ สำนักงาน ก.พ. และ ก.พ.ร. ก็พยายามทำอยู่ เพื่อให้จำนวนคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราเริ่มบริหารงบบุคลากรได้ และควบคุมจำนวนได้ไม่ให้มากเกินไป แต่ถ้าหน่วยใดยังขาดคนก็ต้องจัดให้ อาจไม่ต้องบรรจุราชการ เช่น ตำแหน่ง พนักงานราชการ ที่ใช้วิธีเพิ่มจำนวนพนักงานราชการ เพิ่มคนเพื่อแก้ปัญหา ทำงานสัญญาครั้งละ 4 ปี

และยังต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นงบประมาณไปเยอะ เช่น โควิด ก็ทำให้เราทำงานผ่านระบบทางไกล ประหยัดได้มาก สมัยก่อนทำไม่ได้ เพราะกฎระเบียบออกมาสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้ วันนี้ทำได้แล้วเพราะแก้กฎหมายแล้ว

2.มาตรการทางปกครอง

คือ ต้องพัฒนาบุคลากร เราจะเห็นหน่วยงานอบรมกันมาก วิทยาการใหม่ๆ เข้ามา จึงต้องพัฒนาบุคลากร แต่ไม่พอ แต่ต้องเปลี่ยนสมอง เปลี่ยนทัศนคติให้รู้ว่าการทำงานยุคสมัยนี้ ต้องให้บริการประชาชน เช้าชามเย็นชาม อืดเป็นเรือเกลือ นั่งเป็นพระเดชนายพระคุณไม่ได้ ผิดต้องลงโทษ ทุกวันนี้ก็มีแต่ไม่เป็นข่าวออกมา เดือนหนึ่งไล่ข้าราชการตำรวจออกไม่รู้ตั้งกี่คน เพียงแต่จะเป็นข่าวหรือไม่

3.มาตรการทางกฎหมาย

คือยุคนี้ มีหลักนิติธรรม แปลว่า ใช้กฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ตามอำเภอใจ หรือตำแหน่งใครเป็นใหญ่ นี่คือหัวใจของหลักนิติธรรม วันนี้เรามีรัฐธรรมนูญมาตรา 77 เป็นครั้งนี้ครั้งแรก ที่บัญญัติว่า รัฐพึงออกกฎหมายเท่าที่จำเป็น ต้องถามความเห็นประชาชนก่อน และเมื่อออกกฎหมายแล้ว ระยะหนึ่งต้องประเมินว่ายังมีคุณภาพอยู่หรือไม่ หากไม่จำเป็นต้องมีก็ยกเลิกโดยไว

และกำหนดว่า กฎหมายทั้งหลายพึงมีคณะกรรมการเท่าที่จำเป็น ในการที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจใช้ดุลยพินิจ ให้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะใช้กันตามอำเภอใจ และยังบัญญัติว่า กฎหมายทั้งหลายพึงกำหนดโทษทางอาญาเพียงเท่าที่จำเป็น

คลิปอีจันแนะนำ
อีจันอยากเจอ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร