สหภาพแรงงานขอนแก่น วอน ขอค่าแรง 492 บาท! เท่าเทียมทั่วประเทศ

สหภาพแรงงานขอนแก่น วอน! ขอค่าแรง 492 บาท ทั้งประเทศ ทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ และแรงงานต่างด้าว

สหภาพแรงงานขอนแก่น วอน ปรับขึ้นค่าแรงวันละ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศเหมาะสม ในภาวะวิกฤติของแพงทุกอย่าง วอนรัฐทบทวนด่วนหลังไม่ได้ปรับขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 63

(5พ.ค.65) เมื่อเวลา 09.30 น. นายธีระพงศ์ ประเสริฐ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สรส.สาขาขอนแก่น พร้อมด้วย นายสมบัติ หอวิจิตร สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และนายสนธยา เครือสุุวรรณ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค ในฐานะที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์สาขาขอนแก่น

ร่วมประชุมหารือและติดตามความคืบหน้าภายหลังจาก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสากิจ หรือ สรส. ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท.ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่อเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากล ประจำปี 2565 ในการขอปรับขึ้นค่าแรง ทั้งประเทศทุกจังหวัดในอัตราวันละ 492 บาทโดยได้มีการยื่นเรื่องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี มาอย่างต่อเนื่องและขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนของการพิจารณาของคณะทำงานตามที่รัฐบาลกำหนด

นายสมบัติ หอวิจิตร ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าว ได้ยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและ รมว.แรงงานมาแล้ว 4 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 10 ธ.ค.2564,/24 ก.พ.2565,25 เม.ย.2565 และ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา

โดยเป็นข้อเสนอตามข้อเรียกร้อง 14 ข้อ ที่ สรส.และ คสรท. ได้ยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 14 ข้อ เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ และวันกรรมกรสากลปีนี้ ซึ่งเป็นการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำภาพรวมทุกจังหวัดทุกประเทศในอัตราราคาเดียว คือวันละ 492 บาท

เหตุผลที่ทำไมต้องขอปรับขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้น ล่าสุดมีขึ้นเมื่อปี 2563 โดยเป็นการปรับขึ้นแบบกลุ่มจังหวัด

“การยื่นเสนอขอปรับขึ้นค่าแรงในครั้งนี้เป็นมิติใหม่ ที่แสดงถึงความเท่าเทียม ทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำ โดยเป็นการปรับขึ้นค่าแรงตามข้อเรียกร้องที่เป็นราคาเดียวทั้งประเทศ ครอบคลุม ทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ และแรงงานต่างด้าว

ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ไม่ได้กดดันรัฐบาลหรือผู้ประกอบการ แต่ต้องการให้รัฐบาล นั้นได้แก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภาวะราคาสินค้าแพง ,น้ำมันแพง,ปุ๋ยแพง,ต้นทุนการผลิตในด้านต่างๆแพงหมด รวมไปถึงมาตรการด้านภาษี ซึ่งเมื่อค่าครองชีพแพง การเสียภาษียังคงเป็นไปตามที่รัฐกำหนด และไม่มีท่าทีที่จะลดลง รัฐบาลก็ควรที่จะปรับขึ้นค่าแรงให้กับแรงงานด้วยเนื่องจากรายรับที่ได้ขณะนี้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างชัดเจน”

นายสมบัติ กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อผู้ใช้แรงงานอย่างมาก ทั้งการถูกเลิกจ้างงาน ตกงงาน ขาดรายได้ ไร้อาชีพ บางครอบครัวลูกต้องออกจากดรงเรียน ,ไม่มีที่พักอาศัยเนื่องจากบ้านที่ต้องผ่อน แต่ไม่มีรายรับมาใช้หนี้ธนาคาร จึงต้องกลับภูมิลำเนามาตั้งตัวใหม่และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในขณะที่รัฐบาลไม่มีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ในราคาที่ยุติธรรม น้ำมันก็แพงซึ่งถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนการปรับขึ้นค่าแรงให้กับแรงงานในระบบ นอกระบบ

และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสมดุลในภาวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในภาพรวม

คลิปอีจันแนะนำ
ทนายตั้ม ไร้กังวล สู้ คดีฉาวอดีตนักการเมือง เผยยังมีทีเด็ด!