เจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมตลาดวังหลังแล้ว

น้ำล้นตลิ่งแล้วชาวเรา! เจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมตลาดวังหลังแล้ว ผู้ว่าฯรีบทำแนวกัน ระบายน้ำเร่งด่วน

เจ้าพระยาน้ำล้นตลิ่งแล้ว ตลาดวังหลัง คนเดินตลาดลุยน้ำซื้อของแล้ว ขณะเดียวกันบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (เก่า) หอนาฬิกา มวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงมายังถนนรถยนต์ ทางเจ้าหน้าที่เทศบาลนครนนทบุรี เร่งระดมวางแนวกระสอบทรายสูง 1.5 เมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ

ซึ่งทางเฟซบุ๊ก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน กทม. วันที่ 11 ต.ค. 64 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า

ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาใน กทม. ที่สูงอยู่ในตอนนี้ มีผลจากเขื่อนที่อยู่เหนือ กทม. คือ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระรามหก มีปริมาณน้ำไหลผ่านและการระบายน้ำออกจากเขื่อนเป็นจำนวนมาก เมื่อไหลมารวมกันทำให้แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงอยู่ในตอนนี้

สถานการณ์น้ำประจำวัน ของทั้ง 3 เขื่อน จากข้อมูลของกรมชลประทาน ประจำวันที่ 11 ต.ค. 64

– ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,520 ลบ.ม./วินาที

– เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กักเก็บน้ำ 856.75 ล้าน ลบ.ม คิดเป็นร้อยละ 89.24 ของความจุ : ระบายน้ำ 450.85 ลบ.ม./วินาที

– เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 800 ลบ.ม./วินาที

น้ำจากเขื่อนทั้งสามจุดไหลมารวมกันที่ อ.บางไทร (จุด C29A) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,963 ลบ.ม./วินาที และไหลผ่านมายัง กทม. โดยสถานีวัดระดับน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาของ กทม. ทั้ง 3 จุด มีดังนี้

– สถานีบางเขนใหม่ ระดับความสูงคันกั้นน้ำ 3.50 ระดับน้ำสูงสุด 1.59 ความสูงคันกั้นน้ำคงเหลือ 1.91

– สถานีปากคลองตลาด ระดับความสูงคันกั้นน้ำ 3.00 ระดับน้ำสูงสุด 1.50 ความสูงคันกั้นน้ำคงเหลือ 1.50

– สถานีบางนา ระดับความสูงคันกั้นน้ำ 2.80 ระดับน้ำสูงสุด 1.47 ความสูงคันกั้นน้ำคงเหลือ 1.33

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำทะเลหนุนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาค่อนข้างสูง และมีเอ่อล้นในบริเวณนอกแนวคันกั้นน้ำ กทม.ได้จัดเรียงกระสอบทรายเพื่อสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราว จัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมประตูระบายน้ำตลอดเวลา โดยระดับน้ำวันนี้ต่ำกว่าเมื่อวาน และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าคันกั้นน้ำทุกจุด และยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ขอให้น้ำลดและสถานการณ์คลี่คลายเร็วๆนะคะ เราจะผ่านไปด้วยกัน

คลิปอีจันแนะนำ
ข้าว 4 หมื่นกล่อง! เพื่อปากท้องชาวบ้าน