เพจ กฎหมายแรงงาน อธิบายชัด ปมครูสาวสอบติดราชการ

เพจ กฎหมายแรงงาน อธิบายชัด ปมครูสาว ถูกรร.ประกาศเลิกจ้าง หลังสอบติดราชการ

ความคืบหน้ากรณีโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ออกประกาศแจ้งบุคคลพ้นสภาพการเป็นบุคคลากร แต่กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชาวเน็ตถึงถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม จนทำให้คนเข้าใจผิด คิดว่าครูกระทำผิดร้ายแรง

ล่าสุด เพจ กฎหมายแรงงาน ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวเกับกรณีดังกล่าว ว่า

“ ประกาศของโรงเรียนกำหนดว่าถ้าจะไปสอบงานต้องลาออกก่อน ไม่งั้นผิดวินัยร้ายแรงตามที่เป็นข่าวดังและได้เขียนไปตอนแรกเมื่อช่วงเช้า พอมาเห็นประกาศของโรงเรียนเอกชนจึงขอนำประกาศนี้มาวิเคราะห์ให้ฟัง

โดย ผอ. โรงเรียนได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า

“…ประกาศฉบับนี้โรงเรียนทำถูกต้องทุกอย่าง และเรื่องนี้มีอยู่ประเด็นเดียวคือการให้ออกเป็นหลักของปฏิบัติโรงเรียน เพราะเป็นการเสียโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนที่ครูหายไปกลางคัน จึงเป็นที่มาของการออกประกาศ กรณีการไปสอบเป็นข้าราชการทางโรงเรียนไม่เคยห้ามและเปิดโอกาสให้ครูทุกคนไปสอบ แต่ต้องลาออกก่อน” (ที่มา: มติชนออนไลน์)

เดี๋ยวมาดูกันว่าตามกฎหมายแล้วเป็นจริงดั่ง ผอ. ว่าหรือไม่

กฎหมายโรงเรียนเอกชนมีความคล้ายกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกาศของโรงเรียน ซึ่งในทางกฎหมายแรงงานถือว่าประกาศดังกล่าวมีลักษณะเป็นสภาพการจ้าง เมื่อประกาศออกมาแล้วและไม่มีการคัดค้านจากฝ่ายครูก็มีผลบังคับใช้ได้

ฟังจากข่าว ฝ่ายครูบอกว่าประกาศเพิ่งออกมาภายหลังจึงไม่บังคับกับครูนั้น ความเห็นของฝ่ายครูไม่น่าจะถูก ประกาศซึ่งมีสถานะเป็นสภาพการจ้างแม้ออกมาบังคับภายหลังจากเข้ามาทำงานแล้วก็ใช้ได้ ถ้าประกาศนั้น “ชอบด้วยกฎหมาย” และ “เป็นธรรม

ดังนั้น เมื่อประกาศโรงเรียนซึ่งมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศออกมาโดย “ขัดรัฐธรรมนูญ” จึงอ้างไม่ได้ว่าประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

และถือได้ว่าระเบียบเช่นนี้ไม่ “เป็นธรรม” ที่หมายถึง ว. ถูกต้อง. (อ้างอิง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต) เช่นนี้ หากโรงเรียนเอกชน หรือบริษัท ห้างร้าน นายจ้างต่างๆ ออกประกาศเช่นนี้ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม

การฝ่าฝืนประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมจึงสามารถทำได้ และที่สำคัญหากเลิกจ้างโดยอิงระเบียบที่ไม่ชอบก็ต้องจ่ายค่าชดเชย

ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งจะไปสมัครสอบเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยื่นใบลาออกก่อนนั้นเป็นคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิในการแสวงความก้าวหน้าของลูกจ้างเกินความจำเป็น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วยเหตุฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 3503/2527)

จะเห็นว่าเรื่องนี้ โรงเรียนเอกชนรายนี้หาเรื่องให้ตัวเอง เพราะการลาออกไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่แล้ว แต่ทีนี้พอมาเลิกจ้าง ผลที่ตามมา ก็อาจมองได้ 2 ทาง คือ

1) อาจเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ครูคนนี้ แถมอาจต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก

2) ศาลอาจไม่มองเป็นเลิกจ้างได้เพราะเจตนาจะลาออกอยู่แล้ว แต่ศาลจะกำหนดความเสียหายจากการให้ออกก่อนกำหนด (ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าจะมาตามแนวทางที่ ๒ นี้มากกว่า)

-PDPA รับอีก ๓ ท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ไลน์ไอดี labourlaw

อ้างอิง – ระเบียบกระทรวงศึกษาฯ

คลิปแนะนำอีจัน
สืบ ซุ่ม ชาร์จ ช่วย 18 ชีวิตคนไทย ล้างบางแก๊งคอลเซ็นเตอร์