ในประเทศไทย พบก้นบุหรี่มากกว่า 100 ล้านชิ้น กลายเป็นขยะ

ก้นบุหรี่มากกว่า 100 ล้านชิ้น กลายเป็นขยะ ในประเทศไทย เฉพาะที่ชายหาด 1 แสนชิ้น

ในประเทศไทยพบก้นบุหรี่มากกว่า 100 ล้านชิ้น กลายเป็นขยะ เกลื่อนเมือง และ 1 แสนชิ้นถูกพบบริเวณชายหาด ทำให้น้ำทะเลปนเปื้อน เป็นสาเหตุทำให้สัตว์ทะเลตาย

(31 พ.ค.65) เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และ องค์กรอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าว และจัดงานสัมนาภาคีเครือข่ายขึ้น เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 65 เพื่อสร้างเข้าใจ ถึงผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ

โดย พญ.โอลิเวีย นีเวอราส ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไม่ติดต่อ WHOประจำประเทศไทยได้เปิดเผยว่า บุหรี่ ทำลายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเริ่มต้นปลูกต้นยาสูบ และ รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า ภาควิศวกรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การทำไร่ยาสูบทำทำลายคุณภาพดิน การฟื้นฟูสภาพดินมีค่าใช้จ่ายสูง และวงจรของบุหรี่ ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงขั้นตอนกำจัด ใช้น้ำเป็นจำนวนมาก

WHO เผย! บุหรี่ ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกหากเลิกสูบบุหรี่จะสามารถประหยัดน้ำได้มากถึง 74 ลิตรต่อวัน

นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาขยะทางทะเล จึงได้สำรวจปริมาณและประเภทของขยะ พบก้นกรองบุหรี่กระจายเกลื่อนชายหาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งชายหาดแต่ละแห่งมีกันกรองบุหรี่ตกค้างมากกว่า 1 แสนชิ้น

จึงคิดโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ขึ้นมาโดยนำร่อง 24 ชายหาด 15 จังหวัดชายฝั่งทะเล ที่มีชื่อเสียง เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น

– หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี

– หาดบำตอง จังหวัดภูเก็ต

– หาดหัวหิน จังหวัดประจวบศีรีขันธ์

และเอาผิดกับผู้ที่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ และทิ้งก้นกรองบุหรี่ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายอภิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ระบุว่า ก้นกรองบุหรี่เป็นขยะที่พบได้บ่อยที่สุด มีการประมาณ การว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีปริมาณการผลิตและ ใช้ก้นกรองบุหรี่มากถึง 4.5 ล้านล้านชิ้น เฉพาะในประเทศไทย มีก้นบุหรี่ผลิตขึ้นมากกว่า 100 ล้านชิ้น ที่กลายเป็นขยะไปตกอยู่ ตามสถานที่ต่างๆ

ขยะจากก้นกรองบุหรี่ จะประกอบด้วยสารเคมี เช่น ท๊อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็ง สามารถทำให้น้ำทะเลและน้ำสะอาดมีพิษ และยังเป็นพิษต่อจุลินทรีย์และสัตว์ทะเลขนาดเล็ก

ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่มักได้รับผลกระทบ จากการกินขยะประเภทนี้จนเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตก้นกรองบุหรี่ยังมีพลาสติก ที่ใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 2-12 ปี ปัจจุบันหลายประเทศตระหนักถึงปัญหาขยะจากกันบุหรี่ และรณรงค์ลดขยะด้วยวิธีต่าง ๆ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะขยายผลการดำเนินโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ ไปยังทุกชายหาดในโอกาสต่อไป”

คลิปอีจันแนะนำ
ภัยจากบุหรี่ ร้ายแรงกว่าที่คิด 31พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก