แพทย์เผย กรณีลัลลาเบล (กินเหล้าจนช็อก) พบน้อยมาก!

แพทย์อายุรกกรมเผย ลัลลาเบลเธอโชคร้าย ปกติคนเราไม่สามารถรับแอลกอฮอลล์ เกิน 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

ล่าสุด ชุดสืบสวนสอบสวน เปิดเผยผลว่า ผลชันสูตรเบล เสียชีวิตจากการดื่มสุรา หรือทางการแพทย์ เรียกว่า Alcohol intoxication ซึ่งตรวจพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด สูงถึง 418 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ไม่พบสารเสพติดในร่างกายและไม่พบยีนหรือโครโมโซม หรือ สายดีเอ็นเอของผู้อื่นในร่างกายของเบล

ซึ่งหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมลัลลาเบลถึงกินเหล้าจนเสียชีวิต! แล้วเป็นไปได้เหรอ ที่คนเราจะกินเหล้าจนเสียชีวิต?

จันจึงติดต่อไปยัง ผศ.นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ อาการ Alcohol intoxication ของลัลลาเบล
ผศ.นพ.สุชัยบอกว่า ปกติร่างกายของคนเราจะสามารถรับปริมาณได้สูงสุด อยู่ที่ 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็จะหมดสติและไม่รับแอลกอฮอล์เพิ่มแล้ว

ผศ.นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รวมคลิปวิดีโอ ปริศนาลัลลาเบล

ปริมาณแอลกอฮอล์ 50 -100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะมีการตอบสนองช้า และเริ่มมึนเมา ซึ่งเป็นปริมาณปกติที่เมื่อได้รับแล้วจะมีอาการแบบนี้ แต่เมื่อร่างกายรับปริมาณแอลกอฮอล์ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเริ่มไม่มีสติและเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายรับปริมาณเกิน 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป คนที่ดื่มจะหมดสติหรือหลับไป และถ้าหากเกิน 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อาจจะถึงขั้นช็อกและหยุดหายใจได้


โดยคนทั่วไปเมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ถึง 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะหมดสติและหลับไปเอง แต่ในกรณีของลัลลาเบล สันนิษฐานว่าร่างกายอาจได้รับแอลกอฮอล์เกินที่ร่างกายจะรับไหว หรือเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีอาการอย่างอื่นด้วย เช่น เกิดอาเจียน และสำลัก จนทำให้ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด หรือเพราะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 


ทั้งที่ผศ.นพ.สุชัย บอกอีกว่า การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากเราสังเกตว่าคนหมดสติเพราะดื่มแอลกอฮอล์ ให้เคลียร์ระบบทางเดินหายใจ ให้ไม่มีสิ่งกีดขวางการหายใจ หากมีสร้อยคอหรือเสื้อผ้าที่รัดเกินไป ให้ปลดออก และให้นอนตะแคง ให้นอนอยู่ในท่าสบายที่สุด พยายามเช็คชีพจร หากอ่อน หรือหายใจติดขัด ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล ไม่ควรให้ดื่มน้ำหรือล้วงคอให้อาเจียน เพียงเพราะคิดว่าจะทำให้สร่างเมา เนื่องจากแอลกอฮอล์ไม่สามารถลดปริมาณจากการขับออกในรูปแบบปัสสาวะหรือเหงื่อได้ในทันที


ทั้งนี้ คุณหมอยังฝากเตือนสายดื่มทั้งหลายว่า ดื่มได้เท่าที่ร่างกายไหว อย่าคิดสนุกเพราะร่างกายคนเรามีขีดกำจัดในการรับแอลกอฮอล์ เชื่อคุณหมอกันนะคะทุกคน จันเป็นห่วง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง