เรื่องเล่า “ช้าง” กะ “เสือ”

วันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกเลยอยากเล่าเรื่อง “ช้าง” กะ “เสือ”

เรื่องเล่า “ช้าง” กะ “เสือ”
วันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกเลยอยากเล่าเรื่อง “ช้าง” กะ “เสือ”


6 มิย.2561 อีจันถ่อเข้าเมืองไปนั่งฟังงานวิจัยน่าสนใจเกี่ยวกับความต้องการ “งาช้าง” กับ “เสือ”
ของคนไทยในงานนี้มีแต่ฝรั่งจะมีนักข่าวไทยก็นิดหน่อย อีจันก็พยายามเข้าใจซึ่งโชคดีมาก ที่เขาจัดคนแปลให้รอดตายไปอย่างหวุดหวิด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เรื่องก็มีอยู่ว่างานวิจัยที่ USAID ทำขึ้นนี้ ได้ตอบคำถามที่ว่าทำไมคนไทยจึงมีความต้องการซื้อหรือครอบครอบงาช้างหรือเขี้ยวหรือหลังหรือกระดูกเสือ? เริ่มจากงาช้างก่อน?รู้มั้ย ทำไมคนถึงอยากครอบครองงาช้าง ? เพราะมันมีคนส่วนหนึ่งยังคงเชื่อแปลกๆว่า :
งาช้างนำความโชคดี
ป้องกันอันตราย
แสดงความสำเร็จ
และแสดงสถานะทางสังคม
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนคิดแบบนี้เพราะถ้างาช้างให้โชคดีป้องกันอันตรายได้ข่าวฮือฮาเมื่อเดือน 2 เดือนก่อนที่ เมียใครน๊าถูกแจ้งข้อหาครอบครองงาช้างแอฟริกา 4 กิ่ง คงไม่เกิด!!!เพราะต้องถือว่าโชคร้ายมาเยือนเพราะงาช้างนะแต่ก็นั่นแหละผลวิจัยบอกว่าเพราะยังมีคนเชื่อแบบนี้จึงมีการล่าช้างและตัดเอางาอย่างทารุณกรรมส่วนเสือก็เหมือนกัน เพราะความเชื่อของมนุษย์ว่า :

เสือเป็นจ้าวป่าเป็นสัตว์ทรงพลังอำนาจมีความศักดิ์สิทธ์
ถ้ามีเขี้ยวเสือก็จะปกป้องคุ้มครองตัวเองและครอบครัวได้
ด้วยเหตุนี้เสือที่ทรงพลังจึงถูกล่าและขายเขี้ยวขายขนขายหนังให้กับมนุษย์ที่อยากได้

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ตกลงใครทรงพลังกว่ากัน ?

ด้วยเหตุความเชื่อจึงทำให้ยังมีการลักลอบซื้อขายงาช้างและส่วนต่างๆของเสืออยู่ในตลาดมืด
ซึ่งมีทั้งที่เปิดเป็นหน้าร้านเป็นของประดับตลาดพระเครื่องหรือวัดซื้อขายผ่านออนไลน์และซื้อกันในกลุ่มปิดซึ่งพวกนี้ถือเป็นของผิดกฎหมาย!!!

ใครมีเบาะแส…แจ้งอีจันหน่อย จะไปพิสูจน์ให้ว่าที่ขายนั้น จริง หรือ ปลอม!!!

งานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ USAID Wildlife Asia ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา(USAID)

ภาพจากอีจัน
"ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ผู้ที่ยังบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าในปัจจุบันและผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะบริโภคในอนาคต เราสามารถใช้การสื่อสารและสร้างการรณรงค์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาปัจจัยที่กระตุ้นเร้าและผลักดันให้พวกเขาเกิดความต้องการงาช้างและผลิตภัณฑ์จากเสือโคร่งอีกทั้งยังจะช่วยยุติการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย"


มูลค่าของอาชญากรรมสัตว์ป่าผิดกฎหมายทั่วโลก ตอนนี้คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 5 ถึงพันล้านดอลล่าร์ต่อปี 

ตามพระราชบัญญัติงาช้างของไทยการค้างาช้างที่ได้มาจากช้างเลี้ยงในประเทศไทยถือว่า ถูกกฎหมาย แต่การค้าทุกรูปแบบเกี่ยวกับงาช้างของแอฟริกานั้นผิดกฎหมาย


การค้าผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนจากเสือโคร่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากงาช้างและเสือโคร่งดูจะยังมีความสับสนในประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับงาช้างและเสือ โคร่งหลายคนไม่แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ ที่พวกเขาครอบครองเป็นของถูกกฎหมายหรือไม่

ภาพจากอีจัน

การจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายผนึกกำลังกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีใจในการทำงานเดียวกันพร้อมทั้งปรับปรุงความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ"

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
***ข้อมูลอ้างอิง*** การวิจัยในครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลทางออนไลน์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคนไทยจำนวน 1,000 คนอายุระหว่าง 18 – 64 ปี และมีอัตราความคลาดเคลื่อนประมาณ ร้อยละ 5 เกี่ยวกับโครงการ USAID Wildlife Asia โครงการ USAID Wildlife Asia ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าสัตว์ป่าซึ่งจัดเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดย โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความต้องการของผู้บริโภคสำหรับสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ป่า สนับสนุนให้มี การบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มความมุ่งมั่นทางกฎหมายและทางการเมือง

และสนับสนุนการทำงานร่วมกันในภูมิภาค เพื่อลด อาชญากรรมสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกัมพูชาลาวไทยเวียดนามและจีน ชนิดสัตว์ป่าที่โครงการมุ่งเน้น ได้แก่ ช้าง แรด เสือและลิ่น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่ www.usaidwildlifeasia.org