สภาวิศวกร ชี้ 3 แนวทางเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว

สภาวิศวกรชี้ 3 แนวทางเตรียมความพร้อมคนกรุงรับมือแผ่นดินไหว

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศลาว ตั้งแต่คืนวันที่ 20 พฤศจิกายนถึงช่วงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายนโดยมีระดับความรุนแรงต่ำสุดที่ 2.9 ริกเตอร์และสูงสุดที่ 6.4 ริกเตอร์ ส่งผลให้ประเทศไทย ได้รับผลกระทบถึงเเรงสั่นสะเทือนหลายจังหวัด

ภาพจากอีจัน
หลังเกิดแผ่นดินไหว ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ได้ประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับคนกรุงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว คือ 1. จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหววิธีการดูแลอาคารให้ปลอดภัย 2 มีการตรวจสอบอาคารตามความเสี่ยงโดยแบ่งประเภทของอาคารตามความเสี่ยง เช่นสีแดงอาคารเก่าที่เสี่ยงมากต้องปรับปรุงเสริมโครงสร้างทันทีสีส้มอาคารที่เสี่ยงระดับกลางที่ต้องหมั่นตรวจสอบตามกำหนดและสีเหลืองอาจมีความเสี่ยงเช่นมีการต่อเติม 3 มีสถานีวัดแรงสั่นสะเทือนพร้อมแจ้งเตือนประชาชนในทุกช่องทางทันที
ภาพจากอีจัน
สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวคือ อาคารเก่าหรือมีการก่อสร้างก่อนปี 2550 เพราะอาคารลักษณะดังกล่าวได้รับการออกแบบและก่อสร้างมายาวนาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไม่นิ่งนอนใจเข้าตรวจสอบความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของอาคารอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในอนาคตอาจจะเกิดแผ่นดินไหวที่ขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ภาพจากอีจัน
นายกสภาวิศวกรยังเปิดเผยอีกว่า สำหรับอาคารสูงรุ่นใหม่มักเป็นอาคารที่มีโครงสร้างรองรับการเกิดแผ่นดินไหวอยู่แล้ว เนื่องจากมี พ.ร.บ ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้มีการก่อสร้างที่รองรับแผ่นดินไหว และออกแบบเพื่อรับแรงลม