ปี 60 โรคระบาดไทรอยด์เป็นพิษเคยระบาดในเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

กรมราชทัณฑ์ เผย ปี 60 เคยมีโรคระบาดไทรอยด์เป็นพิษในเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาเหตุเกิดจากเนื้อหมูปนเปื้อน

จากกรณีผู้ต้องขังเสียชีวิตในเรือนจำ จ.พิษณุโลก ไล่เลี่ยกัน 4 ราย ล่าสุด กรมราชทัณฑ์ ออกมาชี้แจงแล้ว ว่ากรมราชทัณฑ์ได้ส่งผู้อำนวยการกองบริการทางการแพทย์ลงพื้นที่ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เข้าตรวจสอบสาเหตุที่โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้ข้อสรุป เบื้องต้นพบว่าเกิดจากการระบาดของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

อ่านข่าว

ตรวจสอบย้อนหลังกลับไปพบว่าเมื่อปี 2557-2558 มีนักโทษในเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนป่วยโรคระบาดไทรอยด์เป็นพิษและเสียชีวิตมาแล้ว 7 ราย

สรุปผลการตรวจสอบและชี้แจงของกรมราชทัณฑ์ ว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 เคยมีเหตุผู็ต้องขังเสียชีวิตในเรือนจำ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยไม่ทราบสาเหตุจำนวน 7 ราย กรมราชทัณฑ์ได้รับรายงานอุบัติการผู้ต้องขังเสียชีวิต ในช่วงปี พ.ศ.2557-2558 ออกมาชี้แจงแล้วว่า

ผลการวินิจฉัยสาเหตุโรคจากหน่วยงานที่เข้าดำเนินการสอบสวนโรค ประกอบด้วย โรงพยาบาลแม่สะเรียง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน คณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ผลจากความร่วมมือของทุกหน่วยงานทางการแพทย์ ได้ข้อสรุป เบื้องต้นพบว่าน่าจะเกิดจากการระบาดของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจากอาการและผลการตรวจ ผู้ต้องขังที่เสียชีวิตในเรือนจำอำเภอแม่สะเรียง โดยก่อนเสียชีวิตมีอาการชักเกร็งและหัวใจหยุดเต้น ผลการผ่าพิสูจน์ศพส่วนใหญ่พบมีปอดบวมน้ำ และสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตคือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของการระบาด น่าจะเกิดจากแหล่งโรคร่วม ซึ่งอาจเกิดจาก อาหารที่ปนเปื้อนต่อมไทรอยด์ เช่น เนื้อหมูที่นำมาประกอบอาหารจัดเลี้ยง เป็นสาเหตุการระบาดไทรอยด์เป็นพิษดังกล่าว

ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ จัดส่งเอกสารสรุปรายงานสถานการณ์ภาวะไทรอยด์เป็นพิษระบาด ในเรือนจำ อ.แม่สะเรียง มาเผยแพร่ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ในประเด็นสำคัญดังนี้

1.เรือนจำต้องให้ความสำคัญกับการตรวจวัดคุณภาพวัตถุดิบในการประกอบอาหารจัดเลี้ยงสำหรับผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่
2.เรือนจำทุกแห่งควรตระหนักในการเฝ้าระวังสังเกตอาการผู้ต้องขังป่วยหรือผู้ต้องขังเสียชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเป็นจำนวนมาก
3.มอบหมายสถานพยาบาลเรือนจำตรวจสอบข้อมูลผู้ต้องขังป่วยด้วยอาการใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว โดยเฉพาะที่มีภาวะขาดวิตามินบี1 หรือภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดต่ำร่วมด้วย และหากพบเป็นจำนวนมากผิดปกติให้แจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่รับทราบเพื่อพิจารณาการสอบสวนโรค