มหัศจรรย์คืนอาสาฬหบูชา 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในหนึ่งคืน

มหัศจรรย์คืนอาสาฬหบูชา 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในหนึ่งคืน ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี – จันทรุปราคาสีแดง

วันนี้ (27 ก.ค.61) เป็นวันอาสาฬหบูชา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายงานว่า

จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในคืนเดียวกันถึง 3 ปรากฏการณ์ 

คือ 1.ปรากฏการณ์ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก่อนโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี

ทำให้สามารถมองเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสุกสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ด้วยตาเปล่าได้ตลอดคืน วันที่ 27 ถึงรุ่งเช้า 28 ก.ค.61

ภาพจากอีจัน
ภาพถ่ายดาวอังคาร ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ค 2561


ปรากฏการณ์ที่ 2 คือ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบปี และ คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที ตั้งแต่เวลา 02.30 – 04.13 น. นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบปี (31 ม.ค. 2561)


และปรากฏการณ์ที่ 3 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลก ย้ำว่าไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร ในช่วงเวลาเดียวกับจันทรุปราคาเต็มดวง ดังนั้นเราจะได้เห็นดวงจันทร์ขนาดเล็กที่สุดในรอบปีนี้

ภาพจากอีจัน
จุดสังเกตการณ์หลักที่จะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ได้อย่างชัดเจนมีอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ 1) เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (โทร. 081-8854353) 2) นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา (โทร. 086-4291489) 3) ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา (โทร. 084-0882264) 4) สงขลา : ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา (โทร. 095-1450411)
ภาพจากอีจัน

ขอขอบคุณข้อมูลเเละรูปภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)