
ส.ป.ก. ย่อมาจาก “สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” ดังนั้นที่ดิน ส.ป.ก. คือ ที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ที่ดินแก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้ามาทำประโยชน์โดยทำการเกษตรในที่ดิน โดยแนวคิดของที่ดินประเภทนี้ก็เกิดมาจากการที่ไทยประสบปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน ไม่มีที่ทำเกษตรกรรม

ที่ดิน ส.ป.ก. นี้จะมีเอกสารสิทธิคือ ส.ป.ก. 4-01 ก็คือหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน หมายถึง พื้นที่ที่ ส.ป.ก.รับมอบมาจากกรมป่าไม้ ได้แก่
1. ป่า A เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือป่าที่เหมาะทำเกษตรกรรม
2. ป่า E ป่าเศษฐกิจ เป็นป่าเสื่อมโทรม
3. ป่า C ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. แล้วกรมป่าไม้ส่งมอบแล้ว มาประกาศเขตเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เเละเมื่อ ส.ป.ก.มีแผนงาน งบประมาณแล้ว เข้าดำเนินการแล้วให้ถือว่า เป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติแปลงนั้นแล้ว และหากพื้นที่ที่ป่าไม้ส่งมอบมายังมีลักษณะต้องห้าม คือยังมีสภาพเป็นป่าไม้สมบูรณ์ และมีสภาพไม่เหมาะสมเป็นภูเขา ต้นน้ำ ลำธาร หรือเป็นพื้นที่สาธารณะชุมชนยังร่วมใช้ประโยชน์ร่วมกัน ส.ป.ก.ไม่สามารถนำจัดได้ ต้องส่งคืนกรมป่าไม้
*ไม่รวมป่าในเขตอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ ,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ,เขตต้นน้ำลำธาร
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
•เป็นเกษตรกรผู้ถือครองที่ดิน
•เป็นผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี
•ได้ครอบครัวละไม่เกิน 50 ไร่
หลังจากได้รับเอกสาร 4-01 แล้วมีหน้าที่ ดังนี้
•ห้ามซื้อ-ขาย
•สามารถโอนและตกทอดให้ทายาทได้
•ต้องทำประโยชน์ที่ดินด้วยตัวเอง
•ใช้เฉพาะงานเกษตรเท่านั้น
•ผิดเงื่อนไขรัฐยึดคืน
•หากไม่ทำการเกษตรต้องคืนรัฐ

