30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก โรคอารมณ์สอง ขั้ว

30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก ทำความรู้จัก โรคอารมร์สองขั้ว ต้องรับมืออย่างไร

30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก วันนี้จันจะชวนมาทำความรู้จัก โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว อาการเป็นยังไง และต้องรับมืออย่างไรหากคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคไบโพลาร์

นพ.พิชัย อิฏฐสกุล รองศาสตราจารย์ สาขาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้คำจำกัดความโรคไบโพลาร์ อย่างง่ายๆว่า “อารมณ์สองขั้ว”

ไบโพลาร์ เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

1. ซึมเศร้า (depression)

2. อารมณ์ดีผิดปกติ (mania)

ช่วงที่ซึมเศร้านี้ ผู้ป่วยจะมีหดหู่ เบื่อหน่าย อะไรที่เคยชอบทำก็อาจจะไม่อยากทำ ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เบื่ออาหาร รวมถึงการนอนก็อาจจะเปลี่ยนไป สมาธิ

ในการทำงานไม่ดีเหมือนเดิม มองตัวเองแง่ลบ คิดว่าตัวเองไร้ค่า หรืออาจจะรวมไปถึงการมองคนอื่นในแง่ลบด้วย ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นอยากตาย !!!

ส่วนแบบ mania จะตรงกันข้ามกับซึมเศร้า คืออารมณ์ดีมากกว่าปกติ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางรายรุนแรงถึงขั้นคิดว่าตัวเองมีพลังวิเศษ

มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งกลุ่มนี้จะวอกแวกง่าย ความต้องการพักผ่อนหรือการนอนน้อยลง คือนอนแค่ 2-3 ชั่วโมง ต่างจากคนปกติที่จะนอน 6-8 ชั่วโมง

ส่วนสาเหตุ และ แนวทางการรักษาโรคไบโพลาร์ นั้น อ่านต่อได้ที่

ทำความเข้าใจ “ไบโพลาร์-อารมณ์สองขั้ว”
คลิปแนะนำอีจัน
พ่อตาบอดนึกว่าถูกทิ้ง ลูกร่ำไห้ปลอบ “ลูกอยู่ตรงนี้นะพ่อ”