
ในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการแรงงานในปริมาณที่สูง เริ่มมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมถึงนักธุกิจที่เข้ามาเปิดห้างร้านเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเปิดรับอาชีพให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย นับเป็นการช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เช่นการให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำอาชีพที่คนไทยไม่นิยมทำ แรงงานจากประเทศก็จะถือโอกาสได้เข้ามาทำงานแทนคนไทย และได้เก็บภาษีเข้าระบบ แต่ทุกวันนี้เริ่มมีกลุ่มนายทุนที่เข้ามาเปิดธุรกิจในไทยมากขึ้นแล้วลักลอบประกอบอาชีพสงวนของคนไทย ทำให้เกิดกรณีที่เจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจสอบจับกุม เหตุที่คนต่างชาติหลาย ๆ คนเข้ามาทำงานอาชีพสงวนคนไทย ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพต้องห้ามผิดกฎหมายในไทย แล้วเชื่อว่ายังมีชาวไทยหลายคนอาจจะยังไม่ทราบ มาดูกันค่ะ ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง? เพื่อจะได้ไม่พลาดรับต่างด้าวมาทำงานในตำแหน่งที่คนต่างด้าวห้ามทำ
ตำรวจจับชาวจีน เปิดร้านเสริมสวย เเย่งอาชีพคนไทยโดยกฎหมาย เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ นั้นคำนึงถึงงานที่ไม่กระทบกับงานศิลปะ วัฒนธรรมของคนไทย ความมั่นคงของชาติ และโอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทยตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 มีทั้งหมด 40 อาชีพด้วยกัน แบ่งเป็นอาชีพที่คนต่างด้าวห้ามทำเด็ดขาด เป็นอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทยเท่านั้น 27 งาน และอีก 13 งานที่เหลือ เป็นงานที่คนต่างด้าวทำได้ แต่มีเงื่อนไขในการจ้างงาน เพื่อให้การจ้างแรงงานต่างด้าวมีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็น โดยมติดังกล่าวได้แบ่งงานออกเป็น 4 บัญชี ดังนี้
1. งานแกะสลักไม้
2. งานขับขี่ยานยนต์
3. งานขายทอดตลาด
4. งานเจียระไนเพชร/พลอย
5. งานเสริมสวย
6. งานทอผ้าด้วยมือ
7. งานทอเสื่อ
8. ทำกระดาษสาด้วยมือ
9. ทำเครื่องเขิน
10. ทำเครื่องดนตรีไทย

11. ทำเครื่องถม
12. ทำเครื่องเงิน/ทอง/นาก
13. ทำเครื่องลงหิน
14. ทำตุ๊กตาไทย
15. ทำบาตร
16. ทำผ้าไหมด้วยมือ
17. ทำพระพุทธรูป
18. ทำร่ม
19. งานนายหน้า/ตัวแทน

20. งานนวดไทย
21. งานมวนบุหรี่
22. งานมัคคุเทศน์
23. งานเร่ขายสินค้า
24. งานเรียงอักษร
25. งานสาวบิดเกลียวไหม
26. งานเลขานุการ
27. บริการทางกฎหมาย
1. วิชาชีพบัญชี งานควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงาน ยกเว้นงานดังต่อไปนี้
งานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว
งานตามข้อตกลงระหว่างประเทศหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่ สภาวิชาชีพเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัต
2. วิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา งานวางโครงการ งานออกแบบและค านวณ งานควบคุมการก่อสร้าง หรือการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ งานอำนวยการใช้ จัดระบบ วิจัย ทดสอบ ยกเว้นเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลง ยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRA) รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการ ให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
3. วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานศึกษาโครงการ งานออกแบบ งานบริหาร และอำนวยการก่อสร้าง งานตรวจสอบ หรืองานให้คำปรึกษา ยกเว้นเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนด้านบริการสถาปัตยกรรม (MRA) รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการให้บริการสถาปนิกข้ามแดนจากสภาสถาปนิก หรือผู้ได้รับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก
1. งานกสิกรรม
2. งานทำที่นอน
3. งานทำรองเท้า
4. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย

5. งานก่อสร้างอื่นๆ
6. งานทำมีด
7. งานทำหมวก
8. งานปั้นดินเผา
ให้คนต่างด้าวทำได้เฉพาะที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรต่างกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้ MOU ได้แก่
1. งานกรรมกร
2. งานขายของหน้าร้าน

คนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกผลักดันส่งกลับ และในส่วนนายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี้ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ