อ.เจษ เห็นต่าง! บั้งไฟพญานาค ก็แค่ลูกไฟอัดแก๊ส ที่ยิงขึ้นจากบนบก

อ.เจษฏา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ บอกชัด บั้งไฟก็แค่ลูกกระสุนอัดแก๊ซยิงขึ้นจากบนบก

บั้งไฟพญานาค เป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน ของชาวบ้านริมแม่น้ำโขง ว่าวันออกพรรษานั้น จะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีลูกไฟลอยขึ้นมาจากน้ำเปรียบเสมือน มีพญานาค พ่นลูกไฟขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องพญานาค ของพี่น้องชาวนครพนมด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องของบั้งไฟพญานาคนั้นก็อยู่คู่กับพี่น้องชาวนครพนมมาอย่างยาวนาน และก็มีหลายคนที่ต้องการจะพิสูจน์ความเชื่อนี้ อยู่หลายครั้งด้วยกัน ด้าน รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ก็เป็นอีกหนึ่งคน ที่ต้องการพิสูจน์ความเชื่อนี้ โดยปีนี้อาจารย์เองก็ได้โพสต์เฟซบุ๊ก อธิบายโดยใช้หลักการ ถึงประเพณีบั้งไฟพญานาคนี้ไว้ว่า  

 “คำอธิบายทางดาราศาสตร์ ถึงการเกิด “บั้งไฟพญานาค” ว่าทำไมถึงน่าจะเป็นฝีมือมนุษย์” 

สรุปสั้นๆ คือ การที่บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นใน “วันออกพรรษา” นั้น เป็นสิ่งที่ตรงกับการกำหนดวันสำคัญขึ้นมาโดยมนุษย์ ตามปฏิทิน “สุริยจันทรคติ” ซึ่งไม่ได้เป็นวันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ …. และถ้ามีแต่มนุษย์ที่รู้จักวันออกพรรษา ก็ย่อมมีแต่มนุษย์ ที่ทำให้เกิดบั้งไฟพญานาคขึ้นได้ครับ  

– เหตุการณ์การเกิดบั้งไฟพญานาคนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลเดิมและเฟสดวงจันทร์เดิมของทุกปี แต่เกิดขึ้นในวันเดียวกันตามปฏิทินสุริยจันทรคติ แบบปฏิทินพุทธไทยเถรวาท ที่เราใช้กัน ซึ่งเป็นปฏิทินที่มีการนับเดือนตามดวงจันทร์ แต่มีการชดเชยวันที่หายไป ในทุกๆ ปี เพื่อให้เดือนเดิมกลับมาตรงกับปีในสุริยคติทุกครั้ง โดยในปี “อธิกมาส” นี้จะมีการเพิ่มเดือน8 ซ้ำ 2 ครั้ง ทำให้วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันออกพรรษา หรือวันลอยกระทง ไม่ได้เกินขึ้นในวันเดียวกันของทุกปี 

– ทำให้มีหลายครั้ง ที่ “บั้งไฟพญานาค” ไม่ได้เกิดขึ้นในคืนที่จันทร์เต็มดวงที่สุด (15 ค่ำ เดือน 11) แต่กลับเกิดขึ้นในคืนหลังจากนั้น … ซึ่งมีแต่เพียงมนุษย์เท่านั้น ที่ทราบว่า วันออกพรรษาที่กำหนดขึ้นนั้น จะเป็นวันที่เท่าไหร่กันแน่ ดังนั้น ถ้ามันเกิดขึ้นเฉพาะใน “วันออกพรรษาที่มนุษย์กำหนด” มันก็น่าจะมาจากเงื้อมมือของมนุษย์อย่างแน่นอน

ซึ่งก็มีชาวเน็ตท่านหนึ่งที่ต้องการจะพิสูน์ ทิศดีนี้ด้วยเช่นกัน โดยเจ้าตัวโพสต์ภาพลูกไฟ ที่พุ่งขึ้นจากบนบก ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า อลงกต สงพัฒน์แก้ว

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวนี้ก็เป็นความเชื่อส่วนหนึ่ง และเป็นประเพณีของพี่น้องชาวนครพนม คงต้องใช้วิจารณญานในการคิดและวิเคราะห์นะครับ

คลิปอีจันแนะนำ
คลิปโซเชียล เดี๋ยวผมช่วยส่องไฟ พาตายายกลับบ้านเอง