ทราย สก๊อต แฉบริษัททัวร์ เกาะสุรินทร์ ใช้แรงงานเด็กมอแกน หัวหน้าอุทยานโต้กลับ

ฟัง 2 มุม! ทราย สก๊อต แฉบริษัททัวร์ เกาะสุรินทร์ ใช้แรงงานเด็กมอแกน หัวหน้าอุทยานโต้กลับ เป็นหนังคนละม้วน

ฟัง 2 มุม ทราย สก๊อต แฉบริษัททัวร์ เกาะสุรินทร์ ใชเแรงงานเด็กมอแกน เป็นไกด์ทัว ดำน้ำ 7 ชั่งโมง เสิร์ฟอาหาร เก็บจาน ให้เด็กชายถอดเสื้อ ถ่ายกับแขก แต่ได้ค่าจ้าง 4,000 บาท ต่อเดือน หัวหน้าอุทยานรู้เรื่องนี้ แต่กลับเพิกเฉย

ส่วนทางด้าน หัวหน้าอุทยานฯ เกาะสุรินทร์ โต้กลับ ทรายชวนเด็กมอแกน 2 คน ไปถ่ายคอนเทนท์ เก็บขยะใต้น้ำ ไม่ให้ค่าจ้าง พอวันถัดไปมาชวนอีก เด็กไม่ไปแล้ว เพราะเหนื่อย

ทราย สก๊อต หรือ สิรณัฐ สก๊อต โพสต์เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 68 เล่าความอัดอัด กับปัญหาที่เจอ บริษัททัวร์ ใช้แรงงานเด็กชาวมอแกน อยากให้มีการตรวจสอบ

โดยบอกว่า ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงใคร แต่จะเล่าในสิ่งที่ทรายเห็นและเจอ เพื่อหวังว่าจะได้มีการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นอุทยานเดียวในช่วงระหว่างที่ทรายทำงาน เป็นที่ปรึกษาอธิบดีทรายจะหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เราเคยไปเกาะนี้แค่ 3 ครั้งและถือว่าไม่อยากกลับไปอีก ทำไมทรายถึงรู้สึกอึดอัด?

3 ปีก่อน ทรายไปเกาะสุรินทร์ ครั้งแรก

ตอนนั้นทรายได้จองทัวร์นอนแคมป์ บนเกาะและดำน้ำ 3 วัน ทรายไม่ได้ทราบก่อนหน้าว่า ทัวร์ที่ทรายจองนี้ มีชื่อเสียงในพื้นที่ เพราะเขานำเด็กชาวมอแกนมาเป็นเหมือนทัวร์ไกด์ พนักงานสอนดำน้ำ น้องๆชาวมอแกนจะมีประมาณ 5-6 คน อายุตั้งแต่ 12-18 ปี

แต่ละวันน้องๆต้องพานักท่องเที่ยวดำน้ำ ตั้งแต่คร่าวๆ 9 โมงเช้า จนถึงบ่าย 4 โมง ทั้งเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำ และดำน้ำถ่ายภาพกับแขก บางทริปน้องๆต้องรับมือดูแล กลุ่มลูกค่าทัวร์ 10 คน รวมถึงทำหน้าเสิร์ฟอาหารให้แขก และเก็บจาน

ส่วนค่าจ้างและค่าตอบแทน เดือนละ 4,000 บาท และทางเจ้าของทัวร์จะให้ทิปเด็กๆ ด้วยการเติมอินเทอร์เน็ตโทรศัพท์ของน้องๆ เพื่อได้เล่นเกม

ตอนนั้นทรายไปเที่ยวรู้สึกอึดอัดมากๆ เพราะในสังคมธรรมดา เขาไม่ได้จ้างเด็กมาเป็นแรงงาน และขนาดตอนทานข้าวเที่ยงบริษัททัวร์ดังกล่าว จะไม่ให้น้องๆ มานั่งทานข้าวด้วยกัน เด็กๆจะต้องนั่งตรงพนักงานไม่สามารถมาให้นั้งกับลูกค้าได้

สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้หญิงสาวๆ ทัวร์นี้ก็จะให้เด็กชาวมอแกนผู้ชายถอดเสื้อถ่ายภาพด้วย เด็กๆชาวมอแกนกลุ่มนี้ จะทำงานทุกฤดูการท่องเที่ยวตามช่วงที่อุทยานเปิด น้องๆจะไป ”รับใช้“ ทัวร์ทุกๆครั้ง ที่มีลูกค่าจองมา โดยจะมีผู้ใหญ่ในหมู่บ้านคนหนึ่ง ที่คอยเกณฑ์และรวบรวมน้องๆ มารายงานตัวกับทัวร์

ทรายสังเกตุว่า สถานการที่น้องๆมอแกนอยู่ไม่ปลอดภัยเลย หลังจากที่ทัวร์เสร็จทราย ได้เบอร์ติดต่อน้องๆโดยตรง และจะคอยทักไปถามเรื่องการเป็นอยู่ และชวนมาทำกิจกรรมอาสาสมัครข้างนอกพื้นที่เกาะ เพื่อจะได้โอกาสเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่น้องๆจะกล่าวเสมอว่า ต้องถามทางเจ้าของทัวร์และทุกครั้งเจ้าของจะปฏิเสธไม่ให้น้องๆมา มีหลักฐานแชท ที่ทรายโพสต์

ชาวมอแกนอาศัยอยู่บนหาดเล็กๆบนเกาะสุรินทร์ ในเขตอุทยาน ทั้งชุมชนอยู่บนหาดเดียวยาวประมาณ 230 เมตร ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้ แม้ว่าประชากรเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ณ วันนี้พื้นที่หาดที่ชุมชนชาวมอแกนอาศัยมีบ้านเรียงติดๆกัน 100 กว่าหลัง ถ้าใครเคยไปเที่ยวเกาะสุรินทร์ ก็จะเห็นว่าสภาพสุขอนามัยเป็นสภาพที่ ควรตั้งคำถามต่อการเป็นอยู่ของเขา

ครั้งที่ 3 ล่าสุด ที่ทรายไป เกาะสุรินทร์

ทราย สก๊อต เล่าว่า ครั้งที่ 3 ล่าสุดที่ทรายไปเกาะ คือ ตอนที่ทรายได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาทราย เลยเอาเรื่องราวนี้เรียนหัวหน้าอุทยานช่วงต้นปีที่แล้ว

ทราย เล่าว่า มีบริษัททัวร์ในพื้นที่อุทยาน กำลังใช้แรงงานเด็ก ทางหัวหน้าบอกทรายว่าเขาทราบและรู้จักบริษัท การพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้สงผลการเปลี่ยนแปลงใด เพราะในสำนักงานอุทยานบนเกาะเอง เขาก็ได้จ้างชาวมอแกน มาทำงานเก็บกวาดทำงานครัว ทำงานแบกกระสอบข้าว ขนของ ช่วยงานอุทยานทั้งวัน เมื่อทรายถามพนักงานมอแกนว่าอุทยานให้ค่าตอบแทนเท่าไหร่เขา ตอบว่าเดือนละ 4,000 – 5,000 บ.

อยากเพิ่มข้อมูลให้ทุกคนว่าชาวมอแกนส่วนใหญ่ เป็นคนไทยนะครับ สมเด็จย่าได้ให้นามสกุลชาวมอแกนว่า “กล้าทะเล” และหลายๆคนในชุมชนมีบัตรประชาชนไทย

ในช่วงต้นปีที่แล้ว ทรายได้แวะไปช่วยภารกิจอนุรักษ์ของอุทยาน 3 วัน เลยได้นึกถึงน้องๆ ที่ทรายเคยรู้จัก 6 คน แต่เสียชีวิตชีวิต 2 คน เหลือเด็ก 4 คน เลบชวนมาอาสาช่วยงานอุทยานกับทราย

แต่สำหรับภารกิจรอบนี้ทราย ได้น้องๆ มอแกน 2 คน มาร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร เพราะเด็กที่เหลือติดงานทัวร์ รอบอื่นๆทรายเคยชวนน้องๆ มาร่วมกิจกรรม แต่บริษัททัวร์ไม่ให้น้องมา แต่รอบนี้ทรายใช้อำนาจของตำแหน่งกดดันให้เขาปล่อยให้เด็กมา

ทำไมทรายถึงนำน้องๆ มาลองร่วมอาสา และเรียนรู้ในภารกิจของอุทยาน เพราะว่าชาวมอแกนไทยเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งของหนัง Avatar Way of Water เพราะชาติพันธุ์ของน้องๆ และกรรมพันธุ์ของชาวมอแกนที่อยู่คู่ทะเลมาเสมอ เปลี่ยนให้ร่างกายของพวกเขา สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานกว่ามนุษย์ปกติ และบางคนมีสายตาใต้น้ำดีมากๆ นี่คือพรสวรรค์ที่ทรายเห็นในตัวน้องๆกับตา จึงอยากให้เขามาช่วยภารกิจ

ส่วนอีกเหตุผลที่ทรายอยากให้น้องๆ มาร่วมกิจกรรมด้วย เพราะต้องการให้น้องๆที่ทรายรู้จัก ได้มาอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่อุทยาน ให้เจ้าหน้าที่เขารู้ว่าทรายรู้จักน้องๆ เพื่อจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็กๆ

ภารกิจหลักของเราใน 3 วันนั้น คือการดำน้ำสำรวจปะการังและเก็บขยะ ซึ่งน้องๆสามารถทำได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ แม้ว่าจะต้องดำน้ำไป 10 กว่าเมตร แต่เขาสามารถดำลงไปตัดอวน และดึงกลับขึ้นฝั่งเร็วกว่าเจ้าหน้าที่บนเกาะเอง เมื่อเราทำภารกิจสำรวจแนวปะการัง น้องๆสามารถชี้และสังเกตุ สัตว์ทะเลและเศษอวนเร็วกว่าทุกๆคนในกลุ่มทีมงาน

ช่วงเย็นทรายใช้โอกาสนั่งเรือ ไปที่หมู้บ้านชาวมอแกน และนั่งคุยกับชาวมอแกนท่านหนึ่ง เขาเล่าว่า ชาวมอแกนบนเกาะ ไม่สามารถสร้างเรือตามรูปทรงของวัฒนธรรมของเขาได้ เพราะถูกกดดันว่าชาวมอแกน ต้องซื้อเรือหางยาวจากฝั่งพังงามาทำทัวร์ เพราะมันไปตามภาพของการท่องเที่ยวของทะเลใต้

บนเกาะมีโรงเรียนหนึ่งโรง และมีคุณครูอาสาสมัคร 1 ท่าน มาสอน ครูคนนี้จะต้องสอนทุกๆวิชา และด้วยการเดินทางที่ลำบากบางครั้ง ก็จะไม่ได้มาสอนเด็กๆบนเกาะ จึงสงผลให้เด็กๆมอแกน ไม่ได้รับการศึกษาเหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ

หลังจากที่ภารกิจจบและทรายกลับฝั่ง ทรายได้รายงานอธิบดี เรื่องของการที่อุทยานจ้างชาวมอแกนเดือนละ 4,000 – 5,000 บาท และมีแรงงานเด็ก

ทราย สก๊อต เล่าอีกว่า สองเดือนต่อมา น้องชาวมอแกน ที่มาช่วยอาสางานกับทราย ทักมาบอกผ่านแชทว่า เพื่อนชื่อ “น้องชล” อายุ 18 ปี ชาวมอแกน ถูกรถชนเสียชีวิต ระหว่างที่เดินทางในตัวเมืองพังงา หลังจากที่ น้องชล ได้โอกาสไปฝึกงานกับบริษัททัวร์แถวเกาะสิมิลัน

น้องที่ติดต่อมา อยากให้ทรายช่วยคิดหาทางนำศพน้องชล กลับมาฝังศพที่เกาะสุรินทร์ ทรายเลยบอกน้องเขาว่า จะคุยกับอุทยานให้ แต่ทรายเองรู้สึกหดหู่มาก ขนาดในกรณีแบบนี้ ทำไมน้องๆเขาไม่รู้สึกว่าสามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ บนเกาะได้

ชาวมอแกน เป็นส่วนหนึ่งของประชากรคนไทย เป็นสมาชิกที่สำคัญของสังคมเรา นอกเหนือจากกลยุทธและความสามารถทางดำน้ำของน้องๆ วัฒนธรรมและประวัติของชาวมอแกน เป็นสีสันของประเทศไทยที่เตือน ให้เราทบทวนถึงความหลากหลายของคำว่า ‘คนไทย’

ความเป็นอยู่ของชีวิตเขา สมควรคู่ควรกับความสามารถของเขา ทางองค์กรใหญ่ๆและภาครัฐควรเพิ่มโอกาสเพื่อสงเสริมและนำความสามารถของเขามาเป็นเอกลักษณ์เด่น ที่ยกระดับการท่องเที่ยวทะเลไทยใต้ให้เป็นสีสัน หาไม่ได้ที่อื่น นอกเหนือจากนั้นชาวมอแกนเป็นบุคคลที่เหมาะสม กับการเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่มากๆ เพราะเขาเข้าใจพื้นที่ดีกว่าคนอื่นๆ

ทรายมาเล่าให้ทุกคนฟัง เพราะผมสัญญากับตัวเองว่าเมื่อพร้อมและมีโอกาสทรายจะพูด และอยากให้ชาวมอแกนออกมาเล่าเรื่องราวของเขา อยากให้ทุกคนสนใจของเรื่องราวการเป็นอยู่ของน้องๆชาวมอแกน เพราะเด็กไทยทุกคนสมควรได้ชีวิตที่มั่นคงและปลอดภัย

ต่อมา นายเกรียงไกร เพาะเจริญ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ได้ออกชี้แจง 5 ข้อ หลังถูกทราย สก๊อต โพสต์กล่าวหาว่า บริษัททัวร์และอุทยาน ใช้แรงงานเด็กมอแกน

  1. การตั้งถิ่นฐาน และการดูแลชาวมอแกน
    การย้ายชาวมอแกนจากวิถีชีวิตดั้งเดิมบนเรือกะบางมาตั้งถิ่นฐานถาวรที่อ่าวบอนใหญ่ เกาะสุรินทร์ใต้ ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ เป็นไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานราชการหลายภาคส่วนเข้ามาดูแล ทั้งด้านการศึกษาผ่านศูนย์การเรียนรู้ กศน. ซึ่งมีครูประจำ 4 อัตรา และด้านสาธารณสุขผ่านศูนย์สาธารณสุขมูลฐานที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดทั้งปี ไม่ใช่การทอดทิ้งแต่อย่างใด

2. การใช้แรงงานเด็ก:
มีการจ้างงานชาวมอแกนที่เป็นผู้ใหญ่เท่านั้น ด้วยค่าจ้างวันละ 200-250 บาท สำหรับการทำงานประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน พร้อมอาหารเช้าและกลางวัน ซึ่งผู้ถูกจ้างสามารถนำอาหารกลับบ้านได้ด้วย ส่วนกรณีบริษัททัวร์มีการจ้างชาวมอแกนผู้ใหญ่ในอัตราเงินเดือน 8,000-12,000 บาท (ไม่รวมทิป) ภาพเด็กที่ปรากฏเป็นการติดตามผู้ปกครองมา ไม่ใช่การจ้างงานเด็ก อุทยานฯ ยังดูแลเรื่องอาหารเช้าและเที่ยงแก่เด็กๆ ที่ติดตามผู้ปกครองมาเหล่านี้ด้วย และทางบริษัททัวร์ก็ยืนยันเช่นกันว่าไม่มีนโยบายจ้างหรือใช้แรงงานเด็ก

    1. ประเด็นการไม่ช่วยเหลือเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิต
      ได้มีการประสานงานกับนายตะวัน กล้าทะเล ซึ่งเป็นทั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและญาติของผู้เสียชีวิตแล้ว โดยนายตะวันแจ้งว่าได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายศพและจัดการเอกสารต่างๆ ด้วยตนเองโดยใช้เรือส่วนตัว และไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากทางอุทยานฯ เนื่องจากเห็นว่าสามารถจัดการได้เอง

    4. ข้อกล่าวหาบังคับเด็กชายถอดเสื้อถ่ายรูป
    จากการตรวจสอบกับบริษัททัวร์ที่เกี่ยวข้อง ไม่พบว่ามีการบังคับให้เด็กชายชาวมอแกนถอดเสื้อ เพื่อถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวหญิงแต่อย่างใด การที่ผู้ชายชาวมอแกน ไม่ว่าจะเป็นคนขับเรือ หรือผู้ดูแลนักท่องเที่ยว ถอดเสื้อหลังเสร็จสิ้นภารกิจทางน้ำ ถือเป็นวิถีปฏิบัติปกติ ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการถ่ายรูปหรือถูกบังคับ

    5. กรณีการมาของคุณทราย สก็อต: หัวหน้าอุทยานฯ ให้ข้อมูลว่า คุณทราย สก็อต และทีมงาน ได้แจ้งวัตถุประสงค์การเดินทางมาเมื่อวันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าเพื่อสำรวจทรัพยากรใต้น้ำและเก็บขยะ อย่างไรก็ตาม มีการติดต่อเด็กชาวมอแกน 2 คนโดยตรง เพื่อชวนไปทำกิจกรรมเก็บขยะใต้ทะเลแบบ Freediving เพื่อสร้างคอนเทนต์ โดยไม่ได้แจ้งผ่านผู้ปกครองหรือทางอุทยานฯ ซึ่งเด็กทั้งสองไม่ได้รับค่าจ้างเป็นตัวเงิน แต่ได้รับสิ่งของตอบแทน (แว่นตา, กางเกง, เสื้อ คนละ 1 ชุด) และเมื่อถูกชวนอีกในวันถัดมา เด็กๆ ได้ปฏิเสธเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย

    นายเกรียงไกร เพาะเจริญ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ย้ำว่า ข้อมูลทั้งหมดที่ชี้แจง สามารถตรวจสอบได้ อุทยานฯ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมเสมอมา การให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อาจสร้างความเสียหาย และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้าง ซึ่งผู้กระทำการอาจเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายได้