สังคมระอุ ปมบ้านพักศาลฯ บุกรุกอย่างถูกกฎหมาย ?

สังคมระอุ ปมบ้านพักศาลฯ บุกรุกอย่างถูกกฎหมาย ?

สังคมระอุ ปมบ้านพักศาลฯ บุกรุกอย่างถูกกฎหมาย ?

เกิดกระแสที่ “บ้านป่าแหว่ง”
การต่อต้าน สร้างบ้านพักศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณเชิงดอยสุเทพ กลายเป็น กระแสที่ร้อนระอุขึ้น
เมื่อมีภาพโพสต์เปรียบเทียบพื้นที่บริเวณดังกล่าว ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ที่ยังไม่มีการก่อสร้าง กับภาพภาพในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งได้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไปมาก จนไม่สามารถยับยั้งโครงการได้

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

นำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และการเคลื่อนไหวของเครือข่ายกลุ่มต่างๆ และแสดงสัญลักษณ์ ด้วยการตัดผมทรง “บ้านป่าแหว่ง พร้อมดวงตาน้ำตาตก” แสดงเชิงสัญลักษณ์แนวร่วมต้านโครงการบ้านพักข้าราชการศาลในพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

ภาพจากอีจัน
มีการล่ารายชื่อขอยุติโครงการบ้านพักศาลอุทธรณ์ และความเคลื่อนไหวรณรงค์ผ่านเว็ปไซด์ change.org โดยตั้งหัวข้อรณรงค์ว่า “ขอให้ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 คืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ 147 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา” โดย ดร.ทนง ทองภูเบศน์ เจ้าของแคมเปญให้เหตุผลสำคัญว่า แม้จะถูกต้องตามกฎหมาย แต่เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่คุ้มค่ากับคุณค่าแท้ของพื้นที่ป่าธรรมชาติ และมีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าธรรมชาติและระบบนิเวศน์ภูเขา จะทำให้สูญเสียทัศนียภาพที่งดงามของดอยสุเทพ และสูญเสียป่าที่เป็นปอดของคนเชียงใหม่ พร้อมเรียกร้องให้ยุติโครงการก่อสร้าง ล่าสุดมีผู้สนับสนุนแล้ว 44,960 คน ณ วันที่ 10 เมษายน 2561
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


กระแสเคลื่อนไหวคัดค้านต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558
กระแสเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการ เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558 โดยนายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ กลุ่มจักรยานวิบาก เล่าว่า ระหว่างที่ไปปั่นจักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ บริเวณดอยสุเทพ และพบรถแบคโฮกำลังเคลียร์พื้นที่ เพื่อก่อสร้าง บริเวณเชิงดอยสุเทพ จึงได้เข้าร้องเรียนต่อกรมอุทยานฯ แต่กลับได้รับคำตอบจากกรมอุทยานฯ ว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตอุทยานฯ และเป็นพื้นที่ของทหาร และ ยกให้กับกรมธนารักษ์ดูแล โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างบ้านพัก และ สำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


ช่วงนั้นเป็นการเคลื่อนไหว หาคำตอบจากคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ตั้งคำถามกับศาล ถึงความเหมาะสม ในการใช้พื้นที่สร้างบ้านพักที่ ซึ่งอาจรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ที่ตั้งอยู่บนแนวลาดชันของภูเขาและลักษณะพื้นที่ดูคล้ายยื่นเข้าไปในพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ในตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
แม้ถูกคัดค้านต่อเนื่อง แต่สำนักงานศาลยุติธรรมยืนยันจะเดินหน้าก่อสร้างบ้านพักตุลาการ บริเวณเชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ตามแผนเดิมและพร้อมทำความเข้าใจผู้เห็นต่าง

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

รวมพลังกลายเป็นเครือข่าย “ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ”
กระทั่ง ตัวแทนภาคพลเมืองเชียงใหม่ รวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่าย “ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” ประกอบด้วยเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ ภาคีคนฮักเชียงใหม่,เครือข่ายเขียวสวยหอม,ชมรมจักรยานวันอาทิตย์ ,โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และกลุ่มรักษ์แม่ปิง เป็นต้น เพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 นำโดยศาสตราจารย์เฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเชียงใหม่ และนายชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานกรรมการโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และอธิบดีกรมธนารักษ์ โดยนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

โดยขอให้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงการก่อสร้างดังกล่าว เช่น การขออนุมัติใช้พื้นที่ราชพัสดุ,การพิจารณาโครงการ,การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในเชิงวิศวกรรม เป็นต้น ส่วนหนังสือที่ยื่นถึงกรมธนารักษ์ จะเป็นการขอให้ปรับปรุงระเบียบการใช้พื้นที่ราชพัสดุและการแก้ไขปัญหาทัศนอุจาดของดอยสุเทพ โดยขอไม่ให้มีการอนุญาตใช้ที่ดินราชพัสดุที่อยู่ติดกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และให้กรมธนารักษ์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตและปรับปรุงให้เป็นสภาพป่าเชิงเขาเช่นเดิม

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ศาสตราจารย์เฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเชียงใหม่ ระบุว่า หากเป็นไปได้อยากให้ยุติการใช้พื้นที่ในส่วนที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ยืนยันว่าภาคประชาชนไม่ต่อต้านคัดค้านการก่อสร้างตามโครงการนี้ในส่วนของอาคารที่ทำการและอาคารที่พักที่ตั้งอยู่ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบ เพียงแต่เห็นว่าการก่อสร้างในส่วนของบ้านพักที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดชันและยื่นเข้าไปในพื้นที่ป่าดอยสุเทพนั้น ไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะมีการขออนุญาตใช้พื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


เนื่องจาก พื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ถือว่ามีความอ่อนไหวทางระบบนิเวศน์และหากได้รับความเสียหายแล้วย่อมยากที่จะปรับปรุงแก้ไขให้กลับมาดีดังเดิม ซึ่งหากเป็นไปได้อยากวิงวอนให้มีการพิจารณายุติและยกเลิกโครงการส่วนนี้ แล้วย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสมแทน
นอกจากนี้ "เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ" ยังเคลื่อนไหวเข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.สาธิต ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ขอให้มีคำสั่งระงับการก่อสร้าง

เจรจา 3 ฝ่ายไร้เงาศาล ทั้ง 2 ครั้ง
ขณะที่เครือข่าย “ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” ยังคงเคลื่อนไหวในเชิงสัญญาลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับเสวนา การจัดกิจกรรมบวชป่า หรือ การเดินขบวนต่อต้าน จนกระทั่งกองทัพ ออกมาแสดงตัวเป็นตัวกลาง ในการเจรจา ระหว่างศาลกับภาคประชาชน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 แต่ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า เมื่อศาลอ้างว่า ไม่มีการประสานงานมาจากทาง กองทัพ

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


จนกระทั่ง วันที่ 4 เมษายน 2561 นายกฤตย์ เยี่ยมเมธากร อายุ 49 ปี ,นายศรุต ศรีถาวร อายุ 44 ปี และนายดิลก จันทรดิลก อายุ 54 ปี ซึ่งอาสาเป็นตัวแทนประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ที่สนับสนุนการเรียกร้องให้ยุติและยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บนพื้นที่ป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ตัดสินใจออกเดินเท้าจากจังหวัดเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ เพื่อขอเข้าพบและยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอ ให้ใช้ ม. 44 สั่งยกเลิกโครงการก่อสร้างตัดสินใจออกเดินเท้าจากจังหวัดเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ เพื่อขอเข้าพบและยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอ ให้ใช้ ม. 44 สั่งยกเลิกโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการดังกล่าว และคืนพื้นที่ป่าบริเวณนั้นพร้อมทำการฟื้นฟูสภาพ โดยมีประชาชนชาวเชียงใหม่ จำนวนมากให้กำลังใจ และร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการเดินทาง แต่ก็ต้องยุติการเดิน ในวัดถัดไป โดยให้เหตุผลว่า ไม่ปลอดภัย

ภาพจากอีจัน


และเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะมีการ พบกัน 3 ฝ่าย เพื่อเจรจา ปัญหาดังกล่าว โดยจะมีผู้แทนจากศาลอุทธรณ์ภาค 5 มาร่วมเจรจาด้วย แต่ท้ายที่สุด ก็ไร้เงาจากศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งได้แจ้งยกเลิกผ่านทางแม่ทัพภาคที่ 3 ในภายหลัง พร้อมแจ้งว่าจะมีการประชุมภายในคู่ขนานกันกำหนดท่าทีและสรุปปัญหาในวันเดียวกันด้วย
ซึ่งในที่ประชุมหารือในวันนั้น ได้มี พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชุมหารือกับตัวแทนองค์กรภาคประชาชน 16 เครือข่าย ทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ ร่วมวงหารือ

โดยแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวสรุปถึงข้อเรียกร้องของภาคประชาชน ขอให้รื้ออาคารศาลบางส่วน โดยจัดกรรมการร่วมทุกฝ่ายไปชี้จุดที่เหมาะสม เพื่อกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจนภายในวันที่ 19 เมษายน นี้ ส่วนการก่อสร้างให้ผู้รับเหมาทำงานต่อจนครบสัญญา เพื่อไม่ให้ภาคเอกชนที่ประมูลงาน โดยถูกกฏหมายได้รับผลกระทบ หรือให้ยุติทันทีโดยรัฐบาลจ่ายค่าชดเชย
หากมีการรื้อถอน รัฐบาลต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมทดแทนและเยียวยาด้วยการจัดหางบประมาณมาสร้างใหม่ และให้สำนักงานศาลส่งคืนพื้นที่ให้ราชพัสดุและมอบพื้นที่ให้ดำเนินโครงการปลูกป่าร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน โดยผลการหารือในวันนี้ จะได้นำเสนอผู้บัญชาการทหารบก เพื่อนำเสนอต่อหัวหน้า คสช. หาข้อสรุปในแนวทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อไป

ขณะที่ตัวแทนเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพยืนยันจุดยืน ว่าต้องการเรียกร้องให้มีการยุติและยกเลิกโครงการนี้ โดยการรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง เฉพาะในพื้นที่บ้านพักที่ล้ำยื่นเข้าไปในพื้นที่ป่าด้านบนออกทั้งหมด แล้วทำการฟื้นฟูพื้นที่สภาพป่าให้กับมาเป็นเหมือนเดิม ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับในส่วนของพื้นที่ก่อสร้างอาคารสำนักงาน และแฟลตที่พักที่อยู่พื้นราบ รวมทั้งโครงการอื่นๆของหน่วยงานอื่น
แม้ที่ผ่านมาจะมีคำชี้แจง นายสวัสดิ์ สุรวัฒนานันท์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ความคลางแคลงใจของภาคประชาชน เบาบางลงได้

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แจง แต่ไร้ผล
นายสวัสดิ์ สุรวัฒนานันท์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ชี้แจงถึงโครงการก่อสร้าง โดยระบุว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลัง ที่อยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ 1273 แปลงหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ 394/2500 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ 147 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา แม้ภายหลังจะมีประกาศ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ปี 2507 แต่ไม่ได้กระทบสิทธิการครอบครองใช้ประโยชน์ของกองทัพบกแต่อย่างใด ทำให้พื้นที่นี้ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยสุเทพ

ต่อมาในปี 2549 กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพักและอาคารชุดสำหรับข้าราชการตุลาการ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพิ่งได้รับงบประมาณและเริ่มก่อสร้างในปี 2557 โดยในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง ทางทหารได้ดูแลพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้พื้นที่ป่าสมบูรณ์ จนทำให้ถูกมองว่าอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยสุเทพ

ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้พื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทางราชการ ทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินซึ่งปัจจุบันมีราคาสูง คงใช้งบประมาณเฉพาะการก่อสร้างเท่านั้น ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก

สำหรับพื้นที่ดังกล่าวมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพักผู้พิพากษา 38 หลัง บ้านพักผู้บริหาร 7 หลัง รวมบ้านพัก 45 หลัง และอาคารชุด 13 หลัง ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท รองรับการพักอาศัยของผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการได้ประมาณ 200 คน ในการก่อสร้างได้เว้นพื้นที่ป่า 58 ไร่ ด้านบนสุดที่อยู่ใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เพื่อคงสภาพพื้นที่ป่า ส่วนพื้นที่ก่อสร้างมีการตัดต้นไม้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 กล่าวว่า หลังจากโครงการแล้วเสร็จ จะมีการปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อคืนพื้นที่สีเขียว ทั้ง ต้นสัก และ ต้นพยุง และ ต้นไม้อื่น ๆ ในทุกพื้นทีที่ปลูกได้ แต่การปลูกต้นไม้ใหญ่อาจต้องใช้เวลากว่าจะเติบโตสมบูรณ์ ส่วนที่ถูกมองว่าไม่เหมาะสม เป็นเรื่องตอบยาก ขึ้นอยู่กับบริบทว่ามองจากด้านใด ส่วนการรณรงค์ที่เกิดขึ้น ทางศาลปฏิเสธให้ความเห็น เนื่องจากไม่ต้องการเข้าไปเป็นคู่พิพาทเผย ที่มาอนุมัติ โครงการบ้านพักศาลอุทธรณ์ ภาค 5รายงานข่าวแจ้งว่า ในปี 2547 กองทัพบกยุคของ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ได้อนุมัติให้สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ใช้พื้นที่กองทัพบกที่ทำเรื่องส่งคืนให้กรมธนารักษ์ 143 ไร่ โดยให้ใช้ที่ดินดังกล่าวตามที่ร้องขอ เพราะในปี 2548 สำนักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 จะย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานคร ไปจังหวัดเชียงใหม่ และช่วงระยะเวลาปี 2547 -2549 ในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นชอบให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพัก และอาคารชุดสำหรับข้าราชการตุลาการ ข่าวแจ้งอีกว่า ต่อมา ปี 2556 ในยุครัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโครงการ จึงดำเนินการก่อสร้างที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 รวมทั้งบ้านพัก จนก่อให้เกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงดังกล่าว