เตรียมพร้อมมาตรการรับมือโควิด-19 ก่อนเข้าสู่ระยะ 3

กทม.เตรียมรับมือโควิด-19 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน พร้อมให้ทุกหน่วยงานราชการ Big Cleaning จุดที่ประชาชนสัมผัสร่วมกัน

(3 มี.ค.63) พล.ต.ท. โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังพบผู้เสียชีวิตรายแรกในไทย และมาตรการเตรียมพร้อมมาตรการรับมือโควิด-19 ระยะ 3 ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ว่า กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center : EOC) กรณีโรคจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์โรค เตรียมความพร้อมมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค เตรียมระบบการคัดกรองที่รวดเร็ว จัดระบบคัดแยกโรคและผู้ป่วยที่รวดเร็ว และมีการรายงานระบบข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง ทันทีที่พบผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เพื่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

พร้อมประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยเน้นย้ำให้มีการเฝ้าระวังและการแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ กรณีพบผู้ป่วยหรือสงสัยว่าป่วย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
การเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และสถานพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อรับมือสถานการณ์กรณีเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ระยะที่ กรุงเทพมหานครได้จัดทำแผนเวชปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการคัดกรองผู้ป่วย ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข และมีการเตรียมห้องแยกความดันลบ สำรองเวชภัณฑ์ต่างๆ และอุปกรณ์ป้องกันตนเองสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อจากผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะบุคคลากรที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ จะต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเองให้เหมาะสม ในส่วนของโรงพยาบาลจะมีระบบการป้องกันโรคติดเชื้อตามมาตรฐาน มีการทบทวนมาตรการและแนวทางป้องกันการติดเชื้อของบุคลากร การอบรมซ้อมแผนภายในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ การทำความสะอาด Big Cleanning ทุกวันอังคารภายในบริเวณส่วนราชการในสังกัดฯ ทุกแห่ง กำหนดมาตรการรองรับภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยกำหนดช่องทางเข้าออกโรงพยาบาลให้เหลือเฉพาะช่องทางที่จำเป็น ตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยก่อนเข้าสู่ภายในโรงพยาบาล เปิดคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจนอกอาคารโรงพยาบาล รองรับผู้ป่วยเข้าข่ายติดเชื้อไวรัส พร้อมแจกบัตรคำแนะนำด้านสุขภาพ (Health Card) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 หลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หากสงสัยในอาการของโรค สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ 1646 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
พล.ต.ท. โสภณ เผยต่ออีกว่า สำหรับมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมความรู้และให้คำแนะนำแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนบริเวณรอบโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และพื้นที่ใกล้เคียงให้ปฏิบัติตามมาตรการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย” เพื่อควบคุมป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการจัดกิจกรรม Big Cleaning ทำความสะอาดโดยเฉพาะจุดสำคัญที่ประชาชนสัมผัสร่วมกัน เช่น ราวจับบันไดเลื่อน ปุ่มกดลิฟท์ รถเข็นคนไข้ ห้องน้ำ เก้าอี้ และ พื้นที่อื่นๆ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์และสอนสุขศึกษาเรื่อง COVID-19 ทั้งในโรงเรียน ชุมชน และสถานประกอบการ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเชิงรุกอย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 68 แห่งของกรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ โต๊ะ เก้าอี้ มือจับประตู เตียงและม่านกั้นเตียง และทุกๆที่ที่มือสัมผัส ด้วย 70% Alcohol อย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคลินิกตรวจรักษาโรค กำหนดให้ทำวันละ 2 รอบ ก่อนให้บริการทั้งภาคเช้าและบ่าย