เปิดความหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ

ทำความเข้าใจ ความหมายของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ หลัง นายกฯ ประกาศใช้ 26 มี.ค.63 นี้

ภาพจากอีจัน

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร ?

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็น "พระราชกำหนด" ไม่ใช่ "พระราชบัญญัติ" เนื่องจากไม่ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร มีไว้เพื่อแก้สถานการณ์ภัยคุกคามด้านต่างๆ ที่กระทบต่อสาธารณะ หรือ ที่เข้าข่ายเป็นภัยพิบัติสาธารณะ ตามนิยามที่กฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 4 ที่ว่า "สถานการณ์ฉุกเฉินให้หมายรวมถึงสถานการณ์ที่กระทบกับความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง"


ซึ่งการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายกฯ สามารถประกาศไปก่อนได้ “ทันที” เพื่อให้ทันสถานการณ์แล้วค่อยนำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือจะนำเข้าคณะรัฐมนตรีก่อนเพื่อประกาศออกมาเป็นมติ ครม. ก็ได้
โดยเมื่อประกาศใช้แล้ว อำนาจจะตกอยู่ที่ นายกฯ ตามมาตรา 7 ซึ่งจะทำให้การสั่งการของ นายกฯ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ข้ามขั้นตอน หรือ สายการบังคับบัญชาตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน


ส่วนอำนาจพิเศษที่สามารถนำมาใช้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

มีบัญญัติในมาตรา 9 และ 11 รวมประมาณ 16 มาตรการ เช่น

ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หรือ "เคอร์ฟิว" ที่สั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่

สั่งปิดเส้นทางคมนาคม

ห้ามชุมนุมมั่วสุม หรือไปรวมตัวกันจำนวนมากๆ

ห้ามนำเสนอข่าวสารที่กระทบกับสถานการณ์

ห้ามใช้อาคารสถานที่ตามที่กำหนด

รวมไปถึงประกาศให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น "เจ้าพนักงาน" ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งจะทำให้มีเอกภาพในการปฏิบัติและการสั่งการมากขึ้นด้วย

มาตรการเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นทันที หลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

แต่ต้องให้นายกฯ ประกาศ "ข้อกำหนด" เป็นเรื่องๆ เป็นมาตรการไป 

ภาพจากอีจัน