เปิด 16 ข้อกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

16 ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เม.ย.63 นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้เร็วและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเเงื่อนเวลาดังนี้

ภาพจากอีจัน

1.การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง

ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 หรือตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศหรือสั่งไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ

2.การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ออกคำสั่งพิจารณาสั่งปิดสถานที่ที่มีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเป็นการชั่วคราว แต่อย่างน้อยให้ปิด สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่การแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย สถานบันเทิง

3.การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ในการใช้ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นอากาศยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะสิ่งอื่นใด ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปิดช่องทางเข้า ออก ด่าน จุดผ่านแดนหรือจุกผ่อนปรน

ภาพจากอีจัน

4.การห้ามกักตุนสินค้า
ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม ดูสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 สำหรับกรณีที่เป็นสินค้าควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ปริมาณการผลิต การควบคุมราคาจำหน่ายและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5.การห้ามชุมนุม
ห้ามไม่ให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรมหรือการมั่วสุมกันในสถานที่แออัดหรือการกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยทั้งนี้ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงประกาศกำหนด

ภาพจากอีจัน

6.การเสนอข่าว
ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่างๆซึ่งมีข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าอันนี้เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

7.มาตรการเตรียมรับสถานการณ์

1.ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย
2. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดและประชาสัมพันธ์ เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่
3. ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงาน ที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายาเวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรคเครื่องช่วยในการหายใจและอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือแนะนำ
4. ในการกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ หรือเป็นผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่นให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้นหรืออาสาสมัคร เข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังหรือความเข้มงวดจริงจังในการจัดการตนเอง

8.มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับทุกบุคคลบางประเภท
ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่ายๆดังต่อไปนี้ อยู่ในเคหะสถานหรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก
1. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
2. กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรคและด้วยยาที่ใช้รักษา
3. กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา

ภาพจากอีจัน
9.มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้มงวดในการตรวจลงตราหรือออกวีซ่าหรืออนุญาตให้ชาวต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้มีกิจการงานปกติหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราชอาณาจักร บุคคลผู้ใดไม่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะได้รับการอำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด

10.มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย
ในกรุงเทพฯให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดเวรยามหรือจัดตั้งจุดตรวจตามถนนเส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุการก่ออาชญากรรมและการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุม ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคหรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาส ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนหรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรคและหากพบเห็นการกระทำดังกล่าวให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที

ภาพจากอีจัน
11.มาตรการป้องกันโรค ให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อให้ปฏิบัติเป็นการทั่วไปหรือ ในกรณีผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้ 1. ให้ทำความสะอาด โดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการจัดกิจกรรมและให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน 2.ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า 3. ให้บุคคลตามข้อ 2 ล้างมือด้วยสบู่แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค 4. ให้บุคคลตามข้อ 2 เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัสหรือแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลาย 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัดหรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน

12.นโยบายการยังคงให้เปิดสถานที่ทำการ
รัฐบาลมีนโยบายให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหาร ในส่วนซึ่งไม่ใช่สถานบันเทิงหรือสถานบริการ และแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งผู้บริโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่ โรงแรม ในส่วนซึ่งเป็นที่อาศัยและร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้าในส่วนซึ่งเป็นแผนก Supermarket แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ด อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจการเงิน ธนาคาร ตู้ atm ตลาดและตลาดนัด ในส่วนที่จำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้ารวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่งเดลิเวอรี่ ยังคงประกอบกิจการต่อไปได้ ตามปกติเพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ตามปกติของประชาชน

ภาพจากอีจัน

13.คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด
ในช่วงเวลานี้ประชาชนหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จำเป็นและควรพักหรือทำงานอยู่ที่พำนักของตน กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด

ภาพจากอีจัน

14.คำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่นๆ
การจัดกิจกรรมหรือพิธี การทางสังคมตามประเพณีนิยม เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์โดยกิจกรรมภายในครอบครัว ตลอดกิจกรรม หรืองานพิธีทางราชการจัดขึ้นหรือเป็นไปตามหมายกำหนดการของทางราชการยังคงจะได้ตามความเหมาะสม

15.โทษ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 แห่งข้อกำหนดนี้ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมีความผิดมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 หรือมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณี

16. การบังคับใช้
ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการประกาศฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเว้นแต่จะมีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น

ในกรณีมีความจำเป็นนายกรัฐมนตรีอาจออกข้อกำหนดเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดมาตรการหรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ