ซีพี เผย บทความฝ่าวิกฤตโควิด-19 ที่นครอู่ฮั่น

ซีพี เผยบทความ 7 มาตรการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ที่นครอู่ฮั่น

วันนี้ (26 มี.ค. 63) เนื่องจากสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการหลายแห่งวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับการต่อสู้กับภาวะโรคระบาดนี้ วันนี้จันจึงนำบทความดีๆ จากซีพีในประเทศจีน มาแบ่งปันค่ะ

ภาพจากอีจัน

สูตรสำเร็จ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ที่อู่ฮั่น
ระหว่างที่นครอู่ฮั่น อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า 3 ปิด คือ ปิดเมือง ปิดถนน และปิดชุมชน สิ่งที่ซีพีประเทศจีนแบ่งปันประสบการณ์ คือ

เรื่องที่ 1 ซีพีประเทศจีน ประกาศนโยบายทันทีว่า “พนักงานทุกคนต้องแจ้งสถานะสุขภาพตัวเองทุกวัน” เพราะหากวัดผลไม่ได้ ก็ไม่มีทางควบคุมได้ สิ่งนี้คือขั้นตอนแรก ที่ต้องโปร่งใส มีข้อมูลในมือรายงานทุกวัน ถึงจะบริหารจัดการได้ หากมีอาการก็ต้องตรวจวัด ไม่ให้ไปเจือปนในกระบวนการผลิตเด็ดขาด และทุกขั้นตอนมีการตรวจสอบ ทำให้ผู้บริหารเห็นข้อมูลทุกวัน รู้ว่าผลิตเมื่อไหร่ แจกจ่ายไปที่ไหน มีรถกี่คัน วิ่งไปไหนบ้าง ติดตามได้ตลอด ทำให้ระบบโซนนิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องที่ 2 การที่เอกชนกับรัฐผนึกกำลังกันเพื่อ “สร้างความเชื่อมั่นว่า อาหารเพียงพอ” เพราะประชาชนต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องนี้ เครือซีพีซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติในจีนได้ร่วมผนึกกำลังกับภาครัฐ คือ การให้ความมั่นใจกับรัฐบาลว่า สินค้าจะมีอย่างเพียงพอ โดยกำลังการผลิตอาหารต่อวันในอู่ฮั่นของซีพี คือ หมู 260,000 กิโลกรัม ไก่ 300,000 กิโลกรัม ไข่ 2.5 ล้านฟอง และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน 500,000 ชุด สามารถผลิตได้ตรงตามเป้าหมาย จากนั้นวางระบบศูนย์กระจายและขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การแต่งกายและการดูแลขนส่งได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันวางระบบกระจายสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งภายในอู่ฮั่นมีการแบ่งเขตชัดเจนโดยให้พนักงานขนส่งไปส่งตามจุดที่กำหนดไว้

เรื่องที่ 3 “สังคมปลอดเงินสด ลดการสัมผัส (Cashless)” คนจีนยุคนี้ไม่จับเงินสด ใช้จ่ายออนไลน์เป็นนิสัย ทำให้ลดการติดเชื้อได้อย่างมาก และยังมีการสั่งของออนไลน์เป็นเรื่องปกติ โดยซีพีในอู่ฮั่น ได้ดำเนินการระบบส่งถึงบ้าน (Delivery) ซึ่ง CP Freshmart ในจีนส่งทั้งของสด อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ถึงบ้าน

เรื่องที่ 4 “พนักงานต้องปลอดภัย” ถือเป็นหน้าที่ว่า พนักงานต้องปลอดภัย ลูกค้าถึงจะปลอดภัย ทำให้ซีพีจีนลงทุนอย่างมากเรื่องถุงมือยาง ชุดคลุมทั้งตัว แว่นตาแบบครอบ ซึ่งระบบเข้าโรงงานเป็นระบบปิดฆ่าเชื้อ การขนส่งมีการตรวจสอบย้อนกลับทุกขั้นตอน และทำความสะอาด ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ พร้อมบันทึกไว้ทุกขั้นตอน

เรื่องที่5 “การขนส่งต้องมีใบอนุญาต” ที่อู่ฮั่นเมื่อปิดการจราจร การขนส่งอาหารจำเป็นต้องดำเนินต่อไป ในช่วงสัปดาห์แรกหลังปิดเมือง ประเทศจีนเริ่มมีนโยบายออกใบอนุญาตให้รถขนส่งอาหารวิ่งได้ สัปดาห์ต่อมารถขนส่งวัตถุดิบต้นน้ำวิ่งได้และตามด้วยการออกใบอนุญาตให้มีการขนส่งปลายน้ำให้จนถึงบ้านประชาชนทำให้สอดคล้องกับระบบ Zoning ว่าส่งได้ถึงไหน ตามระดับความเข้มข้น การส่งอาหารปลอดภัย ถึงทุกบ้านผ่านอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเป็นหัวใจสำคัญ

เรื่องที่ 6 ชุมชนต้องเข้มแข็งเชื่อมโยงการ“กระจายสินค้า” จากโรงงานเพื่อส่งถึงมือผู้บริโภค ใช้รูปแบบรวบรวมอาสาสมัครในแต่ละเขตพื้นที่และชุมชนทั่วนครอู่ฮั่นจำนวน 11,000 คน มาช่วยในการกระจายสินค้า โดยอาสาสมัครจะมารับสินค้าจากจุดหลักในการกระจายสินค้าและนำไปส่งต่อให้แก่พี่น้องในชุมชน ซึ่งอาสาสมัครเหล่านั้นจะรับใบสั่งซื้อหรือ Order ในวันถัดมากลับมาด้วย

เรื่องที่ 7 คนปลอดภัย อาหารปลอดภัย หนึ่งในหัวใจสำคัญของ 3 สูตรสำเร็จในการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ในอู่ฮั่น เมืองที่มีทั้งการปิดเมือง ปิดถนน และปิดชุมชน คือเรื่องของ “คน” เพราะเมื่อคนปลอดภัย อาหารก็จะปลอดภัย ซึ่งซีพีในอู่ฮั่นได้ประกาศนโยบายและแผนงานป้องกันการแพร่ระบาดทันทีว่า พนักงานทุกคนต้อง “แจ้งสถานะสุขภาพตัวเองทุกวัน” โดยมาตรการการดูแลพนักงานทุกคนต้องยึดหลัก “ปลอดภัย” เป็นอันดับแรก เพราะเมื่อพนักงานปลอดภัยสินค้าก็จะปลอดภัย โดนพนักงานต้องได้รับการประเมินประวัติเสี่ยง โดยการทำแบบคัดกรองของบริษัท เมื่อเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานจะต้องใส่ชุดป้องกันที่รัดกุม ทำความสะอาด 3 ครั้งต่อวัน

ภาพจากอีจัน
ทั้งหมดนี้คือเกร็ดความรู้ แนวทางจากอู่ฮั่น ที่บอกถึงวิธีการดำเนินงานและวิธีจัดการระบบต่างๆ สำหรับผู้ที่ได้อ่านจนจบทั้ง 7 ข้อนี้ หวังว่าจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ