องค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์ ออสเตรเลีย เริ่มทดสอบวัคซีนฆ่าโควิด-19 กับอาสาสมัครรายแรก

องค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์ ออสเตรเลีย เผย เริ่มทดสอบวัคซีนฆ่าโควิด-19 กับอาสาสมัครรายแรก หลังเพาะเชื้อไว้ในห้องปฏิบัติการ

วันนี้ (2 เม.ย. 63) สำนักข่าวซินหัวรายงาน องค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครื่องจักรภพ (csiro) ที่ห้องปฏิบัติการสุขภาพสัตว์ออสเตรเลีย (AAHL) ในเมืองจีลอง ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเมลเบิร์นในรัฐวิกตอเรีย ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 75 กิโลเมตร เริ่มการทดลองขั้นตอนแรก ของการทดสอบวัคซีนสำหรับโควิด-19 ซึ่งการทดลองคาดว่าจะต้องใช้เวลากว่า 3 เดือน และจะทดสอบในตัวพังพอนเพื่อตรวจสอบวัคซีน 2 ชนิด ว่ามีชนิดใดที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยไวรัสอันก่อให้เกิดโรคโควิด-19 หรือ เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นในห้องปฏิบัติการ ได้ถูกย้ายจากเมลเบิร์นไปยังห้องปฏิบัติการสุขภาพสัตว์ออสเตรเลีย เมื่อเดือนมกราคม

ภาพจากอีจัน
โดย เทรเวอร์ ดรูว์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า เราได้ศึกษาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาตั้งแต่เดือนมกราคม และกำลังเตรียมพร้อมจะทดสอบใช้วัคซีน กับอาสาสมัครรายแรกทันทีที่พร้อมใช้งาน โดยเราปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ เพื่อความเร็วและความปลอดภัย เพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของทั่วโลก

ด้าน แลร์รี มาร์แชล (Larry Marshall) หัวหน้าผู้บริหารขององค์การฯ เผยว่า การเริ่มทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครที่องค์การฯ จะกลายเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกัน ทั้งในออสเตรเลีย และทั่วโลก โดยนักวิจัยขององค์การฯ กำลังเร่งทำงานตลอดวันตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับโรคไวรัสนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก แต่เราจะเดินหน้าต่อไปจนกว่าจะกำราบไวรัสร้ายนี้ได้ โดยองค์การฯ ได้รับมอบหมายให้เริ่มทำงานต้านโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม โดยกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาวัคซีน และนอกเหนือจากการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว องค์การฯ ยังมุ่งประเมินวิธีจัดการวัคซีนให้ดีที่สุดด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ผลการทดสอบจะออกมาว่าวัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ก็อาจต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 12-18 เดือน กว่าจะสามารถกระจายวัคซีนไปทั่วโลก