กรมอนามัย แนะวิธีทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี

กรมอนามัย แจงวิธีจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ทิ้งอย่างไร ไม่แพร่เชื้อต่อ

ทุกวันนี้ แทบทุกคนเลือกประเภทและใช้หน้ากากอนามัยกันถูกวิธีแล้ว จากความรู้ที่มีการเผยแพร่กันตามสื่อต่างๆ แต่เคยฉุกคิดไหม ใช้หน้ากากอนามัยจนหมดประสิทธิภาพแล้ว เราจะทิ้งมันอย่างไร?

หน้ากากอนามัย ที่ป้องกันเชื้อโรคเข้าร่างกาย ถ้าทิ้งปนกับขยะทั่วไป แล้วเมื่อเจ้าหน้าที่มาจัดการเก็บขยะเหล่านั้นล่ะ พวกเขาต้องเจอเชื้อโรคที่ติดมากับหน้ากากอนามัย ที่เราทิ้งโดยไม่ทันป้องกันหรือเปล่า ?

ภาพจากอีจัน

นพ.บัญชา ค้าทอง รองอธิบดีกรมอนามัย แนะการจัดการหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มคนทั่วไป คนไทยถือว่าเป็นต้นแบบของคนทั่วโลก สำหรับการใช้หน้ากากผ้า และหน่วยงานกรมอนามัยประสบความสำเร็จในมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยผลิตหน้ากากผ้าด้วยตนเอง ซึ่งการทำความสะอาดหน้ากากผ้าคือ การใช้สบู่หรือผงซักฟอกหลังจากนั้นนำไปตากแดด เนื่องจากแสงแดดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ และสามารถนำหน้ากากผ้ากลับมาใช้ได้ใหม่

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ในกรณีที่บุคคลที่สวมใส่หน้ากากอนามัย หลังใช้เสร็จควรจับสายคล้องหู อย่าจับที่ตัวหน้ากากเพราะเป็นการสัมผัสเชื้อโรค แล้วพับทิ้งในถังขยะปิดฝามิดชิดดีที่สุด หากนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ใส่ถุง แปะป้ายแจ้ง ก่อนทิ้ง เพื่อช่วยป้องกันความปลอดภัยต่อการติดเชื้อโรคของเจ้าหน้าที่เก็บขยะ

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

กลุ่มที่ 3 คือบุคลากรทางการแพทย์ หมอ พบาบาล และผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ปกติบุคลากรทางการแพทย์จะใช้หน้ากากอนามัย แต่ถ้าดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดจะใช้หน้ากาก N95 ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มที่จะขาดแคลน จึงเกิดการใช้ซ้ำกันอยู่

ภาพจากอีจัน

นอกจากนี้ นพ.บัญชา ทิ้งท้ายความเป็นห่วงถึงพนักงานเก็บขยะว่า สิ่งที่พนักงานเก็บขยะควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือต้องใส่หน้ากากอนามัย สวมถุงมือยาง ควรมีไม้คีบขยะ ในการทำงานทุกครั้ง หลังทำงานเสร็จต้องล้างมือ อาบน้ำให้สะอาด และซักเสื้อผ้าทันที

ภาพจากอีจัน