เปิดข้อมูลพลาสมา ใช้ทำเซรุ่มช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

สภากาชาดเปิดข้อมูลพลาสมา ที่ทางการแพทย์รับบริจารจะนำไปทำเป็น“เซรุ่ม” ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก ชี้ เเพทย์ใช้วิธีนี้มานานนับร้อยปีแล้ว

จากกรณีสภากาชาดไทยเปิดรับบริจาคเลือดเเละพลาสม่าของผู้ป่วยที่หายเเล้ว เพื่อนำไปเป็นเซรุ่มเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าพลาสม่าคืออะไร เเละจะใช้รักษาผู้ป่วยอย่างไร วันนี้จันมีคำตอบ

ภาพจากอีจัน

สภากาชาดให้ข้อมูลว่า การบริจาคโลหิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.การบริจาคโลหิตรวม สามารถนำไปแยกเป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดต่างๆ ได้แก่ พลาสมาเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดแดง เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย และได้ตรงตามอาการของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การบริจาคโลหิตเฉพาะส่วนจากผู้บริจาครายเดียว ซึ่งเป็นการบริจาคโดยผ่านเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ ได้แก่ การบริจาคพลาสมา เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดแดง

ซึ่งคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตเฉพาะส่วนจะแตกต่างจากผู้บริจาคโลหิตรวมทั่วไป

ภาพจากอีจัน
ส่วนพลาสมา “พลาสมา” มีสีเหลือง แต่ ไม่ใช่น้ำเหลืองใช้ทำเซรุ่มช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

ปกติผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อไวรัส ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมาปกป้องตัวเอง ทางการแพทย์จึงนำภูมิต้านทานนั้น มารักษาผู้ป่วยที่กำลังติดเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน โดยการเอา “พลาสมา” มาทำเป็น “เซรุ่ม”

แต่ “พลาสมา” ที่กำลังขอรับบริจาคกันอยู่ขณะนี้ จะอยู่ในเลือด ไม่ได้มาจากต่อมน้ำเหลืองอย่างที่แชร์เข้าใจผิดกัน

เมื่อแยกส่วนประกอบของเลือดออกจะพบ เลือดแดงที่อัดแน่น (packed red cells) เกล็ดเลือด (platelet) และ พลาสมา (plasma) ซึ่งเป็นน้ำสีเหลืองใส ที่รวมของโปรตีนทุกชนิดในร่างกาย

ดังนั้นการบริจาคพลาสมา ก็มีวิธีการเหมือนกับการบริจาคเลือด เพียงแต่จะนำเลือดไปเข้าเครื่องปั่นแยกส่วนประกอบอีกที

ผู้ที่หายจากโควิด-19 ไปนับร้อยคนแล้ว อยากให้มาช่วยกันไปบริจาคกันมากๆ

ทางการแพทย์ก็จะนำไปทำเป็น“เซรุ่ม” ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก ซึ่งโลกได้ใช้วิธีนี้มานานนับร้อยปีแล้ว ตัวอย่างเช่น เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เซรุ่มไวรัสตับอักเสบบี
ขอบคุณข้อมูลจาก vacine