ทลายโกดังกักตุนแมส? ชุด PPE ชุดตรวจโควิด-19 ยึดของกลางได้ 113 ล้านบาท

ตำรวจ ปคบ. บุกทลายแหล่งกักตุนแมส? ชุดตรวจโควิด-19 ชุด PPE เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด มูลค่าของกลาง 113 ล้านบาท

10 เมษายน 2563 มีรายงานว่า พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายชาตรี อารีวงศ์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและปฏิบัติการ ร่วมกันแถลงผลปฏิบัติการจับกุมหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ชุดตรวจไวรัสโควิด-19 ชุดตรวจป้องกัน PPE เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด และเจลแอลกอฮอล์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

สำหรับของกลางที่ยึดได้มีหลายรายการ ประกอบด้วย
1.หน้ากากอนามัย 160,000 ชิ้น
2.หน้ากากผ้า 81,600 ชิ้น
3.เจลแอลกอฮอล์ 473,974 ขวด
4.เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงอินฟาเรด 1,280 ชิ้น
5.ชุดตรวจหาเชื้อโรค 4,500 กล่อง
6.ชุดป้องกันโรค PPE 4,000 ชุด
7.ถังบรรจุเจลล้างมือขนาด 40 ลิตร จำนวน 88 ถัง 3,520 ลิตร
8.เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย (ลำโพง) จำนวน 190 หน่วย
9.ของเล่นไม่แสดงเครื่องหมาย มอก. จำนวน 48 หน่วย
10.เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย (กล่องรับสัญญาณ) จำนวน 280 หน่วย

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
รวมมูลค่าของกลางที่ตรวจยึดมูลค่า 113,990,000 บาท

ซึ่งทั้งหมดมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542

สำหรับการจับกุมสืบเนื่องจาก ปคบ. ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผ่านทางเพจเฟซบุ๊กกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และสายด่วน ปคบ.1135 ว่ามีการลักลอบนำเข้าสินค้าควบคุม มาเพื่อจำหน่าย จึงได้สืบสวนจนทราบว่าโกดัง ซ.บางกระดี่ 16 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เป็นแหล่งเก็บสินค้าควบคุม จึงเข้าตรวจสอบโกดังดังกล่าว พบนายมานะ ถาวร เป็นผู้ดูแลสถานที่

ด้าน เภสัชกรหญิงสุภัทรา กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้ยังมีลักษณะพิเศษ คือ พบชุด PPE ที่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้ เวลาเข้าไปตรวจผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อและรักษาผู้ติดเชื้อโควิด ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบว่าได้มาตรฐานหรือไม่ หากไม่ได้มาตรฐานแล้วเกิดมีการนำไปขายทางออนไลน์ แล้วมีคนหวังดีซื้อเพื่อที่จะไปบริจาคให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ถ้าเป็นของที่ไม่ได้มาตรฐานบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับอันตราย

ภาพจากอีจัน

ส่วนเจลแอลกอฮอล์ ทาง อย.ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าของผลิตรายใหญ่รายหนึ่งว่ามีการลักลอบผลิตเจลแอลกอฮอล์เลียนแบบจากโรงงานเถื่อน ซึ่งไม่ได้คุณภาพและนำเลขจดแจ้งของผลิตภัณฑ์อื่นมาแสดง จึงอยากฝากเตือนประชาชนที่จะซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ไปบริจาค จะต้องตรวจสอบว่ามีคุณภาพหรือไม่ ผ่านการรองรับจาก อย.หรือไม่ โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบเลขจดทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของ อย. เนื่องจากหากเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จะเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้

ภาพจากอีจัน
เภสัชกรหญิงสุภัทรา ยังฝากไปถึงผู้บริโภคด้วยว่า อย่าซื้ออุปกรณ์ชุดตรวจโรคโควิด-19 ทางเว็บเพจหรือสื่อออนไลน์มาใช้โดยเด็ดขาด เพราะในการตรวจวิเคราะห์จะต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความชำนาญในการอ่านและแปลผล

หากมีการตรวจด้วยตนเองแล้วเกิดข้อผิดพลาดอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่ติดเชื้อได้ จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อมากขึ้น และอย่าหลงเชื่อโฆษณาขายยาต้านไวรัสทางเว็บเพจ อ้างช่วยรักษาโรคไวรัสโคโรนา เพราะการใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ การซื้อมาใช้เองอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา

ภาพจากอีจัน

และสิ่งที่สำคัญขอให้ตรวจสอบเลขจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อทุกครั้งโดยสามารถตรวจสอบได้ที่ Oryor Smart Application หรือ อย. ตรวจเลขหรือ Line @Fdathai เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงหากพบการลักลอบผลิตนำเข้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556