หมอจุฬาฯ เผยแค่คุยกับคนติดโควิด มีโอกาสสัมผัสละอองฝอย

รศ.นพ.ธีระ ชี้เเค่คุยกับคนติดเชื้อโควิด-19 นาน 10 นาที มีโอกาสสัมผัสละอองฝอยถึง 6,000 ละออง โดยที่ไม่ได้ไอ-จาม แนะออกไปเจอใครช่วงนี้ต้องระวัง

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย เริ่มคลี่คลายเเล้ว หลังจากยอดผู้ติดเชื้อลดลงมาอยู่เลขสองหลักกว่า สัปดาห์เศษเเล้ว ซึ่งถือเป็นข่าวดีของคนทั้งประเทศ

เเต่ถึงเเม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะลดลง เเต่ก็ยังเข้มมาตรการป้องกันเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้โควิดกลับมารุนเเรงขึ้นอีก ซึ่งการป้องกันต้องเริ่มจากการป้องกันที่ตัวเอง เเละคนรอบข้าง สังเกตุความเสี่ยงเเละรับมือได้ทันท่วงที

ภาพจากอีจัน

เช่นเดียวกับ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โพสต์ให้ความรู้ว่าหากเราคุยกับผู้ติดเชื้อ หรือคนที่เราไม่รู้ว่าเสี่ยงรับเชื้อจากละอองฝอยน้ำลายได้

ภาพจากอีจัน

โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า

เสี่ยงแค่ไหน…ถ้าเราคุยกับคนที่ติดเชื้อโรค COVID-19

โดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่น่ากลัวหน่อยคือ คนที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ

การคุยกันระยะใกล้ โดยที่เค้าไม่มีไอ ไม่มีจาม มีการวิจัยพบว่าจะมีละอองน้ำลาย (aerosol) ขนาดราว 1 ไมครอนออกมาเวลาพูดคุยกันได้

แถมจำนวนละอองฝอยขนาดเล็กนี้ มีปริมาณถึง 10 ละอองต่อวินาที

นั่นคือ การคุยกันธรรมดา 10 นาที เรามีโอกาสสัมผัสละอองฝอยจากคนที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ มากถึง 6,000 ละอองฝอย (หากพูดไม่หยุดเลย ^_^)

แต่หากคุยแบบเสียงดัง ตะโกน ตะเบ็ง จำนวนละอองฝอยที่ออกมาจะมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังเคยมีคนทำการวิจัยไว้ด้วยว่า ละอองฝอยเหล่านี้สามารถนำพาเอาไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปได้ ซึ่งก็เป็นไปได้สำหรับโควิด-19 เช่นกัน

แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ แวดล้อมที่อาจส่งผลต่อโอกาสแพร่เชื้อด้วย เช่น การถ่ายเทอากาศ ทิศทางและความแรงของลม ฯลฯ แต่สุดท้ายเมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว ก็คงพอพิจารณาได้ว่า เวลาออกไปเจอใครต่อใครในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ช่างน่ากังวลยิ่งนัก จึงต้องใส่หน้ากากเสมอ และอยู่ห่างๆ กับคนอื่น

อ้างอิง

Asadi S et al. The coronavirus pandemic and aerosols: Does
COVID-19 transmit via expiratory particles? Aerosol Science and Technology. 3 April 2020. DOI: 10.1080/02786826.2020.1749229

ซึ่งโพสต์ดังกล่าวถือเป็นข้อมูลในการป้องกันอย่างดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง