เผยตัวเลขฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1-15 พ.ค. จำนวนคดีที่เข้าสู่การพิจารณากว่า 8,990 คดี

เลขาธิการศาล ฯ เผยสถิติฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1-15 พ.ค. ยอดปริมาณคดีที่เข้าสู่ การพิจารณากว่า 8,990 คดี แนะประชาชนเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามคําแนะนํา ของเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคอย่างเคร่งครัดแม้จะมีการผ่อนปรน เพื่อไม่ให้ยอดสถิติคดีสูงขึ้น

วันนี้ (16 พฤษภาคม 2563) นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม เปิดเผย ข้อมูลสถิติคดีความผิดตามพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลคดี สํานักแผนงานและงบประมาณ สํานักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมสถิติคดีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ภายหลังรัฐบาลประกาศ เคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. โดยไม่มีความ จําเป็น เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยภาพรวมสถิติคดีสะสม ต้ังแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม 2563 มีจํานวนคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาล ดังนี้

ภาพจากอีจัน

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง

1. จํานวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 8,990 คดี
2. จํานวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 8,756 คดี (คิดเป็นร้อยละ 97.40)
3. ข้อหาที่มีการกระทําความผิดสูงสุด คือ ฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จํานวน 12,116 คน
4. จังหวัดที่มีผู้กระทําความผิดสูงสุดในการฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คือ กรุงเทพมหานคร จํานวน 964 คน กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว
1. จํานวนคําร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 496 คําร้อง
2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม สูงสุด คือ ฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จํานวน 530 คน
นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่า ภายหลังจากที่มีการบังคับใช้ กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อพิจารณาปริมาณคดีที่เข้าสู่ ศาล ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม 2563 มีจํานวนเฉลี่ย 599 คดี/วัน จังหวัดที่ยังพบว่ามี การกระทําผิด ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ สูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร จํานวน คน 964 คน

ขณะที่ยอดคดีสะสมเดือนที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 เมษายน – 30 เมษายน 2563) พบว่า

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง
ปริมาณคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 17,466 คดี ปริมาณคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จทั้งหมด 17,039 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.56
ส่วนข้อหาที่มีการกระทําความผิดสูงสุด คือ ฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีผู้กระทําผิดรวมทั้งหมด จํานวน 23,628 คน รองลงมาคือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผู้กระทําผิดสะสมทั้งหมด จํานวน 316 คน และ พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มีผู้กระทําผิด 38 คน จังหวัดที่กระทํา ความผิดสูงสุดในฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 คือ กรุงเทพมหานคร จํานวน 1,829 คน

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว
1. จํานวนคําร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 1,262 คําร้อง
2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม สูงสุด คือ พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จํานวน 1,360 คน

ภาพจากอีจัน
ส่วนที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ มีมาตรการผ่อนปรนให้กิจการบางประเภทเปิดทําการเพิ่มเติมได้ (ผ่อนปรนเฟส 2) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งขนาดใหญ่และร้านอาหาร สถานที่ออกกําลังกาย ให้เปิดใช้บริการ ได้ตั้งแต่วันที่ 17พฤษภาคม 2563 โดยให้มีมาตรการป้องกันโรค ฯ รวมทั้งได้มีการปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็น 23.00 – 04.00 น. นั้น ขอให้พี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการ ศึกษาข้อกําหนดของมาตรการ การผ่อนปรนอย่างละเอียด เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคอย่าง เคร่งครัดเพื่อไม่ให้ยอดสถิติคดีสูงขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าศาลจะคํานึงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยสาธารณะในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจําเลย โดยได้นําข้อแนะนําแนวปฏิบัติช่วงโควิด-19 ระบาด ของนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา มาปรับใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งจําเลยเข้าไปรับโทษกักขังในสถานที่กักขัง หรือจําคุกในเรือนจํา เพราะเป็นการเสี่ยงที่จําเลยจะเป็นพาหะนําเชื้อไวรัสไปแพร่ระบาดในสถานที่กักขัง หรือเรือนจํา ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ จึงเห็นควรที่ศาลจะพิจารณา นํามาตรการที่มีอยู่หลากหลายในประมวลกฎหมายอาญามาใช้แทน