กฟน. แนะวิธีใช้ไฟให้ประหยัด ช่วงหน้าร้อน

บิลมาตาไม่ค้างแล้ว! กฟน.แนะวิธีใช้ไฟฟ้า ช่วงหน้าร้อน ให้ค่าไฟลด

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครตาค้างหลังเห็นบิลเรียกเก็บค่าไฟบ้าง
กฟน. แนะวิธีการใช้ไฟฟ้า ให้ประเงิน ประหยัดไฟ ตาไม่ต้องค้างหลังเห็นบิลเรียกเก็บอีกต่อไป

ภาพจากอีจัน


เริ่มจากเราต้องรู้ก่อนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว ใช้ไฟเท่าไหร่
กฟน. ยกตัวอย่างการใช้ไฟฟ้า 1 ชั่วโมงเอาไว้
1. เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 8 บาท /ชม.
2. เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5 – 10 บาท/ ชม.
3. เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600 – 2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 9 บาท /ชม.
4. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500 – 6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท /ชม.
5. เครื่องซักผ้า ฝาบน – ฝาหน้า ขนาด 10 kg ค่าไฟ 2 – 8 บาท /ชม.
6. เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชม. ค่าไฟ 2.5 – 6 บาท /ชม.
7. พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12 – 18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15 – 0.25 บาท /ชม.
8. โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40 – 1 บาท /ชม.
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3 – 4 บาท /ชม.
10. ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5 – 12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30 – 0.40 บาท /ชม.
11. หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3 – 6 บาท /ชม.
12. เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760 – 900 วัตต์ ค่าไฟ 3 – 3.5 บาท /ชม.
13. เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 -2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8 – 14 บาท /ชม.


ใน 1 ชั่วโมง คุณใช้ไฟฟ้าไปกี่ตัว ก็ลองเอาค่าไฟมาบวกกันนะคะ

ภาพจากอีจัน
เมื่อรู้แล้วว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทใช้ไฟเท่าไหร่ ค่าไฟเท่าไหร่ เราก็มาดูวิธีการประหยัดไฟกันต่อค่ะ เริ่มจาก แอร์คอนดิชั่น เปิดแอร์ที่ 26 องศาเซลเซียส เปิดพัดลมช่วย เพิ่มความเย็นได้ หรือปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 82 บาท/เดือน คิดที่ขนาด 13,000 บีทียู/ชม. ไม่รีดผ้าในห้องแอร์ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก สิ้นเปลืองค่าไฟ ควรรีดผ้าครั้งละมาก ๆ และถอดปลั๊กก่อนรีดเสร็จ 2- 3 นาที ไม่ควรพรมน้ำให้เปียกชุ่มเกินไป เตารีดขนาด 1,000 วัตต์ ใช้งาน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเสียค่าไฟเพิ่ม 12 บาท/เดือน กาต้มน้ำร้อน ใครชอบเสียบปลั๊กค้างไว้ตลอดเวลา คุณทำผิด เพราะหากเสียบปลั๊กกระติกน้ำร้อนทิ้งไว้วันละ 10 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น 123 บาทต่อเดือน คิดที่ขนาด 2.5 ลิตร 700 วัตต์ ดังนั้น ถอดปลั๊กเมื่อน้ำเดือด ควรต้มน้ำแค่ปริมาณที่ใช้ และเลิกพฤติกรรมเสียบปลั๊กไว้ตลอดวัน ตู้เย็น เปิดตู้เย็น เมื่อจำเป็น และปิดให้สนิททุกครั้ง ไม่ใส่ของจนแน่นตู้เย็นเกินไป และจัดของในตู้ให้เป็นระเบียบ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังด้านหลัง/ด้านข้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร ช่วยระบายความร้อน และประหยัดไฟเพิ่มขึ้น คอมพิวเตอร์ หากเปิดทิ้งไว้วันละ 3 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น 22 บาท/เดือน ควรเลือกใช้ที่มีสัญลักษณ์ Energy Star เปลี่ยนมาใช้โน้ตบุ๊คแทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจะประหยัดไฟได้ถึง 3 เท่า คิดที่ชุดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พร้อมจอภาพ 24 นิ้ว โทรทัศน์ ปิดสวิตช์/ถอดปลั๊กทุกครั้ง เมื่อเลิกใช้งาน เพราะปุ่ม Stand by กินไฟในบ้านแบบไม่รู้ตัว การปิดด้วยรีโมทคอนโทรล โดยไม่ถอดปลั๊ก จะสิ้นเปลืองค่าไฟประมาณ 1.2 บาท/เดือน คิดที่ LED backlight TV ขนาด 43 นิ้ว ปิดด้วยรีโมทคอนโทรล 19 ชั่วโมง/วัน หลอดไฟ เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED ประหยัดพลังงาน หลอด LED สามารถประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่น ๆ 50 – 75% โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุการใช้งานสูงสุด 50,000 ชั่วโมงหรือประมาณ 5 ปีขึ้นไป เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าทรงกลม 32 วัตต์ แทนด้วยหลอด LED 18 วัตต์ จำนวน 1 ดวง ใช้งาน 5 ชั่วโมง/วัน จะประหยัดไฟลงได้ 14 บาท/เดือน ลองปรับใช้ไฟฟ้าตามคำแนะนำของ กฟน. แล้วมาดูกันค่ะว่า ค่าไฟเราลดลงหรือเปล่า