เจ้าของสวนช้ำใจรอบนี้หนัก ! เจอช้างป่าบุกเพียงข้ามคืนเสียหายนับแสน

ช้างป่าแก่งกระจาน บุกเข้าสวนทุเรียนป่าละอู เสียหายนับแสนบาทเจ้าของกำลังจะได้เก็บขายสิ้นเดือนนี้ “ พี่ใหญ่ ” ละเลงคืนเดียวเสียหายเป็น1,000 ลูก

ช้างป่าเราทำอะไรเขารุนแรงไม่ได้ ! ทำได้แค่จุดประทัดไล่เดี๋ยวก็กลับมาใหม่ คืนก่อนเผลอหลับช้างป่าบุกเข้าสวนทุเรียนของป้า กำลังจะได้เก็บขายสิ้นเดือนนี้แต่เจอช้างบุกเข้ามากินทุเรียนเสียหายเป็นแสนเลย อีจัน… มาดูได้เลยเดี๋ยวคือช้างป่าก็มาเพราะทุเรียนป้ากำลังสุก ! นางทัชฑภักษร รตนรุ่งเรือง หรือป้ารัตน์ เจ้าของสวนทุเรียนที่ถูกช้างป่าบุกเข้ามากินทุเรียนเมื่อคืนก่อน ( 10 มิถุนายน 63 ) บอกกับทีมข่าว “ จันลั่นทุ่ง ” มาช่วยป้าไล่ช้างหน่อยป้าไม่รู้จะทำยังไงแล้ว เข้าใจว่าช้างหากินแต่ขอให้สงสารป้าบ้างเถอะ !

ภาพจากอีจัน
ภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสวนทุเรียนป่าละอู ต้องบอกว่านี้ไม่ใช่ครั้งแรก เป็นแบบนี้มา 5 ปีแล้ว หากจำกันได้ช้างป่าเคยบุกสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่มาแล้วเมื่อปี 60 ครั้งนั้นพังกำแพงเข้าไปกินทุเรียนจนเกือบหมด อีจัน ลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์ช้างป่าบุกเข้าหมู่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังจำเหตุการณ์ได้ดี ได้ยินแต่เสียงปะทัดดังไปทั่วหมู่บ้าน ชาวบ้านจุดปะทัดไล่ช้างไม่ให้เข้ามากินทุเรียนในสวน ภาพแบบนั้นกำลังจะกลับมาอีกครั้งเมื่อทุเรียนเริ่มสุก เจ้าของสวนทุเรียนไม่เป็นอันกินอันนอนเผลอไม่ได้ ถ้าเผลอทุเรียนหมดสวนแน่นอน ! ด้วยรสชาติหอมหวานของทุเรียน ทำให้ช้างป่าติดใจแอบเข้ามาในหมู่บ้านเกือบทุกคืน เพื่อมากินผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกไว้
ภาพจากอีจัน
จากร่องรอยความเสียหายที่พบในสวนของป้ารัตน์ เมื่อคืนก่อนพบว่าพฤติกรรมของช้างป่าเดินเลือกต้นทุเรียนที่เริ่มแก่แล้ว เพราะจะมีกลิ่นหอมแล้วใช้งวงลูกหรือกิ่งต้นทุเรียนจนได้รีบความเสียหาย เมื่อลูกร่วงลงมาที่พื้นก็จะใช้เท้าเหยียบให้แตกแล้วใช้งวงหยิบกิน ทิ้งไว้แต่ร่องรอยให้ช้ำใจเจ้าของสวนทุเรียน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ที่ผ่านมาแม้ว่าองค์การบริหารส่วนตําบลห้วยสัตว์ใหญ่จะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าแก่งกระจานที่เข้ามาสร้างความเสียหาย โดยจะช่วยเหลือชดเชยให้ต้นละ 1,600 บาท สำหรับต้นที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป สวนต้นเล็กขึ้นไป 5 ต้น จ่ายให้ 1,600 บาท แน่นอนว่าไม่คุ้มค่ากับความเสียหาย เพราะทุเรียนแต่ละต้นต้องใช้เวลาดูแลอย่างดี ซึ่งต้นทุเรียนตั้งแต่อายุ 4 ปี ขึ้นไปจึงจะเริ่มให้ผลผลิต ชาวบ้านจึงอยากให้หน่วยงานผู้เกี่ยวข้องหาวิธีช่วยเหลือแก้ปัญหาคนกับช้างอย่างจริงจังไม่ให้ช้างเข้ามากินผลผลิตของชาวบ้าน ซึ่งถือว่ายังเป็นปัญหาซ้ำซากยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างจริงจัง
ภาพจากอีจัน