แก่งตะนะ หรือแก่งมรณะ ทำไมถึงเรียกชื่อนี้ เที่ยวทั้งทีต้องมีเรื่องราว

ปลดล็อกนี้ มีที่เที่ยวในใจหรือยัง? ไปสัมผัสมหัศจรรย์ธรรมชาติสร้างกันไหม? แก่งตะนะ โขดหินสีหินลวดลายแปลกตา ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่าแก่งมรณะ อีกหนึ่งที่เที่ยว UNSEEN เมืองอุบลฯ เพราะอะไรถึงเรียกแก่งมรณะ ไปหาคำตอบพร้อมกัน ะเที่ยวทั้งทีต้องให้มีเรื่องราว

ปลดล็อกแล้วไปไหนดี คำถามนี้ยังติดอยู่ในใจ ทะเลหรือภูเขา หรือจะไปแก่งตะนะ ที่อุบลฯกับเรา เธอว่าไง?
วางแพลนเที่ยวกันไว้หรือยัง? จะไปเที่ยวทั้งที่แค่ภาพสวยๆ บรรยากาศอิ่มๆ มันเอาท์ไปแล้ว สัมผัสเรื่องราวของทุกๆที่ นี่สิของจริง 1 ก.ค.63 นี้อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะเปิดแล้วนะรู้ยัง

ภาพจากอีจัน
สัมผัสเมืองมหัศจรรย์ธรรมชาติสร้างแห่งนี้ จันขอเล่าความ UNSEEN นี้ ที่จันหอบกลับมาเล่าที่นี่ม้วนเดียวจบ สัปดาห์ที่ผ่านมาจันมีโอกาสไปเยือนเมืองดอกบัว แห่งอีสานใต้ หรือ จ.อุบลราชธานี และที่นี่เป็นที่ที่คนอุบลฯ บอกจันคำเดียวว่าห้ามพลาด “อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ” หรือแก่งมรณะ ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างน่าน่าอัศจรรย์ เป็นโขดหินนิลสีดำ หินนิลดำขนาดใหญ่กลางลำน้ำ ที่มองเผินๆ เหมือนมีคนและเครื่องมือมาเจาะไว้ แต่ที่ไหนได้ลวดลายและรูทุกรูธรรมชาติเนรมิตมาทั้งนั้น
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
แก่งหินงามแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตั้งอยู่ที่ อ.โขงเจียม คาบเกี่ยว อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ ที่ตลอดทั้งปีจะมีน้ำไหลผ่านตลอด ยิ่งหน้าหนาวพระอาทิตย์ตกที่นี้สวยมาก และหน้าแล้งน้ำลดก็จะเห็นโขดหินได้ชัดสวยไม่แพ้ ส่วนต้นฝนแบบนี้ ใช่ว่าจะเที่ยวไม่ได้นะจ๊ะ มีน้ำตกและสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในอีสานไว้ให้สัมผัสความงดงามกันด้วย
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ก่อนไปเยือนความมหัศจรรย์ของแก่งตะนะ จันก็มีโอกาสไปไหว้ขอพร ศาลเจ้าพ่อตะนะ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของคนที่นี้ พอเดินไปอีกสักนิดเราก็จะพบกับความมหัศจรรย์ที่เราตามหา แก่งหินนิลดำขนาดใหญ่กลางลำน้ำ ละลานตา ถ้าใครมีโอกาสไปเยือนแล้วอยากทราบเรื่องราว ของชื่อแก่งที่แปลกหูนี้ ไม่ต้องแคลงใจ เพราะภายในอุทยานจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำตลอดเวลา
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
และวันนี้จันก็ได้ความรู้ว่าเล่าสู่กันฟังแล้วว่า ที่มาของ “แก่งตะนะ” คืออะไร ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานบอกจันว่า “ตะนะ” เป็นภาษามอญ ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ตะเนี้ย หรือเพรี้ยะ ซึ่งหมายถึงห้าง หรือที่ดักจับปลา พอชาวชาวบ้านพูดต่อๆ กันมา ภาษาเลยเพี้ยนเป็น ตะนะ บวกกับเรื่องราว “แก่งมรณะ” เพราะความเชื่อของชาวบ้าน สมัยก่อนแก่งตะนะนี้มีกระแสน้ำที่เชี่ยวมาก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่หากมีคนหาปลา หรือเรือประมงออกจับปลา ก็จะต้องอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ เพราะโขดเหตุที่เป็นรูและบางครั้งคนไม่รู้เวลาน้ำขึ้นก็ตกไปในรูและขึ้นไม่ได้ บวกกับสายน้ำที่ไหลเชี่ยว จึงทำให้แก่งนี้ถูกขนานนามว่า “แก่งมรณะ” พอจันเล่ามาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกลัว ไม่ต้องกลัวค่ะ สมัยนี้กับสมัยก่อนต่างกันมาก มีการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ไว้หมดแล้ว หายห่วงได้
ภาพจากอีจัน
และสิ่งที่ทำให้จันประทับใจคือ แสงแดกที่กระทบแอ่งน้ำเล็ก สะท้อนขึ้นมาบนหินสีนิล ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในหุบเขาหรือหน้าผามืดๆ ทำให้จันย้อนคิดถึงมุมสงบในในมืดของเรา ไม่รู้ใครเป็นเหมือนใจหรือเปล่าแต่จันเป็น และ ไฮไลท์ของที่นี่อีกอย่างหนึ่งคือ ลวดลายของหินที่ถูกน้ำกัดกร่อนไม่เท่ากัน ทำให้จันนึกขึ้นมาอีกว่า หินเหมือนกันแต่ทำไมรับแรงน้ำได้ต่างกัน เปรียบกับชีวิตคนได้อีกแล้ว ทุกอย่างที่นี่มีเรื่องราวไปหมด ยิ่งยามเย็นเจ้าหน้าที่บอกว่าพระอาทิตย์ตกกระทบผิวน้ำ ยันเก็บภาพบนโขดหินเป็นภาพที่สวยงามไม่แพ้ที่ไหนๆ จันไปมาแล้วยังอยากไปอีก อิ่มในธรรมชาติ ปลื้มในมนต์เสน่ห์ที่เล่าเมื่อไหร่ก็คงไม่อิน ต้องไปฟินเอง
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
อย่าหาว่าจันพูดเยอะ แต่ที่นี้ดีจริงๆ เรื่องราวของแต่ละที่มีไม่เหมือนกัน แต่อยากต้องมนต์ธรรมชาติ และความมหัศจรรย์ของหินสีนิล ต้องที่นี่ “แก่งตะนะเมืองอุบล”
ภาพจากอีจัน