เคลียร์พื้นที่ จัดโครงการ “ปลูกป่าอาเซียนแนวชายแดน” ที่ อช.เขาพระวิหาร

นายชัยวัฒน์ ผอ.สบอ.9 เคลียร์พื้นเตรียมความพร้อม จัดโครงการ “ปลูกป่าอาเซียนแนวชายแดน” ไทย-กัมพูชา ที่ อช.เขาพระวิหาร

วันนี้ (23 มิ.ย. 63) นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ดำเนินการเตรียมความพร้อมในพื้นที่ อช. เขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ เพื่อจัดกิจกรรม , โครงการปลูกป่าอาเซียน , ปล่อยสัตว์ป่า , วันพิทักษ์ป่าโลกร่วมกัน (กระทรวง/ทหาร/กัมพูชา) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23-26 กรกฎาคมนี้ โดยที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 63 ได้มีการเจรจาทั้งสามฝ่าย และได้พื้นที่คืน โดนมีข้อตกลงจะปลูกป่าร่วมกันในพื้นที่ที่ถูกบุกรุกตามแนวเขตชายแดนเขตสมมุติ

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

อีกทั้งยังมีการตรวจทุ่นระเบิด โดยมีชุดเก็บกู้ทุ่นระเบิด จากกองกำลังสุรนารี เข้าสำรวจเก็บกู้เมื่อวันที่ 2-21 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา โดยบริเวณพื้นที่ที่เข้าสำรวจคือ
1)เส้นทางเข้าพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ระยะทางถึงหนองใหญ่ประมาณ 1 กม. โดยกวาดล้างตามแนวถนนข้างละ 25 ม.
2) บริเวณพื้นที่จอดรถ พื้นที่ตั้งเต็นท์ พื้นที่เวทีงาน
3) บริเวณพื้นที่แปลงปลูกป่า 22 ไร่ และบริเวณโดยรอบ

โดยผลการตรวจพื้นที่ดังกล่าวพบว่า มี ลย./ค. ขนาด 61 มม. จำนวน 4 นัด ลูกระเบิดขว้าง TYPE 67 จำนวน 1 ลูก ลูกระเบิดขว้าง M 46 จำนวน 1 ลูก ทุ่นระเบิด TYPE 69 จำนวน 5 ทุ่น ทุ่นระเบิด MBV 78A2 จำนวน 1 ทุ่น ทุ่นระเบิด PMD-6M 1 ทุ่น รวมได้พื้นที่ถูกเก็บกู้ทั้งหมด 58,100 ตร.ม.(36.16 ไร่)

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 63 เวลา 09.30 – 12.30 น. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สบอ.9 พร้อมด้วย พ.อ.บุญเสริม บุญบำรุง หัวหน้าศูนย์ประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา และทำหน้าที่รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เข้าดูพื้นที่เพื่อกำหนดรูปแบบงาน ผังงาน และองค์ประกอบ โดยสามารถสรุปผลการจัดกอจกรรมได้ดังนี้
1) รูปแบบการจัดกิจกรรม
– ทุกกิจกรรมในงานจะต้องมาจากแนวความคิดของทั้งสองประเทศเห็นพ้องกัน
– การจัดกิจกรรมเป็นแบบเรียบง่าย แต่ได้ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
โดยมีกำหนดกิจกรรม ดังนี้
1.1. การปลูกป่า – เพื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจะมีการปลูกให้คงความเป็นธรรมชาติของไม้ถิ่นเดิมให้มากที่สุด
1.2. การปล่อยสัตว์ป่า เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้เกิดการปกป้องสัตว์ป่าร่วมกัน
1.3. กิจกรรมเนื่องในวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก (World Ranger Day) 31 กรกฎาคม ของทุกปี

2) การเตรียมพื้นที่ปลูก
– พื้นที่ไม่ต้องปรับไถ
– คงลูกไม้ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติ และปักหลักหมาย
– กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายข้าง

3) การจัดสถานที่และติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก
– เวทีหลักเปิดงาน และเวทีกิจกรรมปล่อยสัตว์ป่า โดยผู้ร่วมกล่าวบนเวที ประกอบด้วย
รมว.ทส. – ทหาร – กัมพูชา
– ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ของทั้งสองประเทศ จัดทำเป็นสองภาษา
– เต็นท์อาหาร /เต็นท์รับรองแขกกรณีฝนตก
– ที่จอดรถของผู้ร่วมงานไว้ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ขห.1 (เขื่อนห้วยขนุน)
– ที่จอดรถสำหรับ VIP ไว้ที่กองร้อยทหารพรานที่ 2303
– โต๊ะ-เก้าอี้
– ห้องสุขาเคลื่อนที่แยกชาย-หญิง

4) การเข้าพื้นที่ปลูกป่า
– ผู้เข้าร่วมงานเดินทางโดยรถลำเลียง (รถสองแถว)
– คณะ VIP เดินทางโดยรถยนต์หน่วยงานในสังกัด สบอ.9 และรถยนต์หน่วยงานของทหารในสังกัดกองทัพภาคที่ 2

5) กำหนดจุดคัดกรอง จุดวัดอุณหภูมิร่างกาย และจุดลงทะเบียน แยกเป็น 2 จุด ทางเข้าฝั่งไทย และทางเข้าฝั่งกัมพูชา

6) สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
– พัดลม เครื่องปั่นไฟ ร่ม ชุดกันฝนแบบใช้แล้วทิ้ง รองเท้าบูท วัสดุกันแมลงต่าง ๆ

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน