จากช้างป่า สู่ ช้างเลี้ยง กลายสายใยที่ตัดไม่ขาด

ช้างเป็นเหมือน “เพื่อน” เหมือน “ครอบครัว” เสียงจากปากของชาวกูย สะท้อนให้เห็นสายใยรัก ที่ตัดกันไม่ขาด!

โครงการอีจันช่วยช้างตกงาน ทำให้เราได้คลุกคลี อยู่ที่บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ "หมู่บ้านเลี้ยงช้างใหญ่ที่สุดในโลก" เราได้สัมผัสถึงสายใยความผูกพันธ์ ระหว่างคน กับช้าง

ทำให้เราอยากค้นหาคำตอบ?

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
บ้านตากลาง หรือ หมู่บ้านกูย คนส่วนใหญ่เป็นชาวกูย พูดภาษาเขมร ชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เกิด ลืมตาขึ้นมาก็เห็นช้างแล้ว ช้างเป็นเหมือน "เพื่อน" เหมือน "ครอบครัว" หากจะพูดถึงจุดเริ่มต้น ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2500 ชาวกูยมีอาชีพหลัก คือ จับช้างป่ามาฝึกไว้ใช้งาน แต่ทุกวันนี้ชาวกูย ไม่ได้ทำแบบนั้นแล้ว ส่วนช้างที่เราเห็นอยู่เยอะมากที่นี่ เป็นช้างที่เลี้ยงไว้ ซึ่งเกิดจากผสมพันธุ์กัน ตามธรรมชาติ คอยเลี้ยงตั้งแต่คลอดออกมา จนตายจากกันไป เลยทำให้มีความผูกพันธ์กันมาก
ภาพจากอีจัน
เราถามต่อว่า เมื่อมีใครดูถูกว่า "ใช้ช้างหากิน" รู้สึกอย่างไร ชาวบ้าน ตอบกลับมาทันที ว่า ยอมรับ แต่อยากให้คิดกลับกัน ถ้าช้างไม่มีคนดูแล ก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันนะ ช้างเหล่านี้ ถูกเลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก การใช้ชีวิต การให้อาหาร ก็ต้องมีคนคอยดูแล การที่จะปล่อยให้ช้างเข้าป่า เหมือนปล่อยให้หนึ่งชีวิต ต้องเผชิญกับชะตากรรมที่เลวร้าย
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เมื่อเราได้ฟังทั้งหมด จากปากชาวกูย ทำให้เรายิ่งเข้าใจ และสัมผัสได้ถึงสายใยความรัก ของชาวกูย มีให้กับช้าง ทำให้คลายสงสัย