รู้หรือไม่? ลอยกระทง ใช้ กระทงขนม เสี่ยงทำน้ำเน่า

กรมประมง เผย ? ลอยกระทง โดยการใช้ กระทงขนม เสี่ยงทำน้ำเน่า หากลอยในแหล่งน้ำไม่ถูกที่

หลายคนคงรอคอยวัน ลอยกระทง ซึ่งหลายๆ จังหวัด หลายพื้นที่ จัดกิจกรรม ลอยกระทง ขึ้น แน่นอนว่าเราต้องหาวัสดุต่าง ๆ มาทำกระทง บ้างก็ใช้ ขนมปัง ให้หยวกกล้วย หรือ กะลามะพร้าว มาใช้ในการ ลอยกระทง แต่ทุกวันนี้ มีการรณรงค์รักสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเลือกใช้วัสดุเป็นสิ่งสำคัญในการ ลอยกระทง

ภาพจากอีจัน


ล่าสุดวันนี้ (30 ต.ค. 63) ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง เผยว่า ช่วงปีที่ผ่านๆ มา การ ลอยกระทง ผู้คน และพ่อค้าแม่ค้า มักจะ นำ ขนมปัง ข้าวโพดย้อมสี กรวยไอศครีม มาทำเป็น กระทง แทนการ ลอยกระทง แบบที่ใช้หยวกกล้วยเมื่อสมัยก่อน เพราะมักคิดว่า เมื่อ ลอยกระทง เสร็จแล้ว กระทงเหล่านั้น จะเป็นอาหารให้ ปลา หรือ สัตว์น้ำ ในบริเวณนั้นต่อไปได้

ภาพจากอีจัน


อย่างไรก็ตามควรเลือกใช้วัสดุอย่างระวัง ไม่ควร ลอยกระทง ในแหล่งน้ำปิด เช่น สระน้ำวัด สระน้ำในสถาบันการศึกษา เพราะในแหล่งน้ำนั้น อาจไม่มีปลา หรือ สัตว์น้ำชนิดอื่น เพราะถ้า ปลา หรือ สัตว์น้ำ กินไม่หมด ก็จะเกิดการตกตะกอนหมักหมม ส่งผลทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย และอาจทำให้สัตว์น้ำตายได้
นอกจากนี้ ปลาที่จะกินอาหารเหล่านี้ มีเพียงปลากินพืชเท่านั้น ปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ฯลฯ ก็จะไม่กินอาหารเหล่านี้ ดังนั้นหากต้องเลือกใช้กระทงเหล่านี้ขอให้เพิ่มความระมัดระวัง ควรเลือกแหล่งน้ำเปิดที่เหมาะสม

ภาพจากอีจัน


ส่วนการเลือกกระทง ควรเลือก กระทงที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ สามารถเก็บขึ้นไปกำจัดได้ทัน เลี่ยงกระทงที่มีเข็มหมุด พลาสติก และ โฟม และวัสดุที่หลากหลายเกินไป เพื่อลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด
นอกจากนี้ ควรลดขนาดกระทงให้เล็กลง เพราะจะใช้วัสดุน้อยกว่า และหากมา ลอยกระทง เป็นครอบครัว หรือคู่รัก ขอให้ ลอยกระทง โดยใช้กระทงร่วมกันเพียง 1 กระทง

ขอฝากถึงประชาชน พ่อค้าแม่ค้า ให้เลือกใช้วัสดุทำกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีต้องใช้สีในการตกแต่ง กระทงควรใช้สีผสมอาหาร