เข้าป่าฝนใต้ สำรวจ รังนกเงือก

ภารกิจสุดชุ่มฉ่ำ ลุยป่าฝนภาคใต้ สำรวจ รังนกเงือก หากไม่มีรัง นกเงือกจะไม่มีลูก

วันนี้แอดยังคงอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี จังหวัด นราธิวาส เพื่อที่จะทำภารกิจ สำรวจ รังนกเงือก ว่าพร้อมให้ นกเงือก มาอาศัยอยู่ในช่วงต้นปีหรือไม่

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
หลายคนคงพอทราบกันมาบ้างว่า นกเงือก เป็นสัตว์ที่เสมือนดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของ ธรรมชาติ ซึ่งในประเทศไทยจะมีสถานที่ ที่จะสามารถเห็น นกเงือก ตามธรรมชาติได้เพียงไม่กี่แห่ง และแต่ละแห่งก็จะต่างสายพันธุ์กันไป โดยในประเทศไทยมี นกเงือก เพียง 13 สายพันธุ์เท่านั้น และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ นกเงือก ก็คือ รังนกเงือก เนื่องจากนกเงือกจะอาศัยอยู่ในโพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งหากไม่มีโพรงให้อยู่ นกเงือกก็จะไม่จับคู่กัน ทำให้การสืบพันธุ์ลดน้อยลงไปด้วย จึงได้มีการทำ รังเทียม ขึ้นมา เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนนกเงือกที่มีอยู่ในพื้นที่ โดย ทางเจ้าหน้าที่และคนในชุมชน ได้ร่วมกันทำโครงการ 1ปี 1 หมู่บ้าน 1 รังเทียม ซึ่งใน 1ปี แต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ จะเป็นการสร้างรังเทียมให้นกเงือก 1 รัง โดย รังเทียม 1 รัง จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่ง รังนกเงือกเทียม จะต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง และมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปากโพรงต้องมีขนาดกว้างเพียงพอ และการติดตั้งต้องเป็นผู้ที่ชำนาญเท่านั้น เพราะมีความอันตรายมาก เนื่องจากต้องขึ้นต้นไม้ใหญ่ที่ค่อนข้างสูงและลื่น
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน



วันนี้เราทุกคนตื่นกันแต่เช้า เพราะนัดรวมตัวที่บ้านพี่ปรีดา เทียนส่งรัศมี (หัวหน้าโครงการคุ้มครองนกเงือก ส่วนภาคใต้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) เราตั้งใจกันไว้ว่าวันนี้ เราจะเข้าไปสำรวจ รังนกเงือก กัน ถึงแม้ฝนที่ตกตั้งแต่เมื่อวานจะยังไม่มีท่าทีหยุดตกง่ายๆ เราก็ไม่หวั่น ซึ่งวันนี้มีชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมเดินสำรวจ รังนกเงือก กับเราด้วย

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เส้นทางที่เราจะเข้าไปสำรวจวันนี้คือเส้นทางใน อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งระหว่างทางขาเข้านอกจากฝนที่ตกชุ่มฉ่ำลงมาแล้ว เรายังได้เดินผ่าน น้ำตกปาโจ ซึ่งเป็นระยะใกล้พอที่ไอเย็นจากน้ำตกสัมผัสกับผิวเราได้เลย แต่ต่อให้เสียงน้ำตกดังแค่ไหน แอดกลับได้ยินเสียงหอบจากการหายใจถี่ของตัวเองก็ดังกลบทุกเสียง เนื่องจากทางเดินช่วงต้นเป็นบันไดต่อเนื่องระยะยาว ทำให้แอดที่ไม่ได้เตรียมตัวมาดีพอเกิดอาการวิงเวียนหายใจไม่ทัน เกือบไม่รอดเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็รอดนะ เพราะพี่ๆทุกคนดูแลดีมาก พอพ้นช่วงบันไดชันต่อเนื่อง แอดก็เดินลุยกันต่อได้ยาวๆ
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เดินเข้าป่ากันไปซักพักใหญ่ หลังจากทักทายเจ้าทากน้อยกันตลอดทาง เราก็เจอ โพรงนกเงือก ซึ่งโพรงนี้ พี่ปรีดา บอกว่าเป็นโพรงที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ โพรงจะเจอแค่ตามต้นไม้อายุมากๆ อย่างต้นที่แอดเห็นนี้ก็อายุนับร้อยปี เพราะโพรงนกเหล่านี้ เกิดจากการผุพังของไม้จนเกิดเป็นรูโพรง และกลายเป็นที่อาศัยของสัตว์ ซึ่งจุดที่เราเห็น โพรงนกเงือก จุดนี้ มีการทำจุดซุ่มดูไว้ด้วย เพื่อพรางตัวเราจากสายตานก ส่องดูความสวยงามกันซักพัก เราก็มุ่งหน้าเดินกันต่อ
ภาพจากอีจัน
พี่ปรีดา นำทีมพาเราเดินเข้าป่ากันต่อ เพื่อจะไปสำรวจ รังเทียมนกเงือก ที่ได้ติดตั้งไว้เมื่อเดือนที่แล้ว เดินผ่านต้นไม้น้อยใหญ่ที่เขียวชอุ่ม มาประมาณ 1 กิโลเมตร เราก็มาเจอรังนกเงือกเทียมกันแล้ว ซึ่งรังเทียมนี้ ได้ถูกติดตั้งแทนรังเทียมเดิมที่ผุพังตามกาลเวลาไป และรังเทียมนกเงือก ที่เห็นอยู่นี้ ถูกติดตั้งโดย นูลีฮัน สาวแกร่งแห่งบูโด ผู้ที่ผ่านการอบรมจากพี่ปรีชา และศึกษาข้อมูลจนชำนาญ ที่เราต้องทำรังเทียมนกเงือกขึ้นมาเพราะมีความสำคัญต่อการ อนุรักษ์ นกเงือก เนื่องจากนกเงือกจะอาศัยอยู่ในโพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งหากไม่มีโพรงให้อยู่ นกเงือกก็จะไม่จับคู่กัน ทำให้การสืบพันธุ์ลดน้อยลงไปด้วย จึงได้มีการทำ รังเทียม ขึ้นมา เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนนกเงือกที่มีอยู่ในพื้นที่ โดย ทางเจ้าหน้าที่และคนในชุมชน ได้ร่วมกันทำโครงการ 1ปี 1 หมู่บ้าน 1 รังเทียม ซึ่งใน 1ปี แต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ จะเป็นการสร้างรังเทียมให้นกเงือก 1 รัง โดย รังเทียม 1 รัง จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่ง รังนกเงือกเทียม จะต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง และมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปากโพรงต้องมีขนาดกว้างเพียงพอ และการติดตั้งต้องเป็นผู้ที่ชำนาญเท่านั้น เพราะมีความอันตรายมาก เนื่องจากต้องขึ้นต้นไม้ใหญ่ที่ค่อนข้างสูงและลื่น
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
สำรวจ รังนกเงือก และ รังเทียมนกเงือก ที่นี่เสร็จ ก็เดินต่อไปอีกซักหน่อยก็พบลำธารน้ำใสเย็น เราตัดสินใจแวะทานอาหารพร้อมพักเหนื่อยกันที่นี่ ได้นั่งพักลงบนโขดหิน ริมธารน้ำ ฟังเสียงน้ำไหลเคล้าเสียงนกร้อง ระหว่างนั้นก็ตักข้าวเข้าปาก ช่างเป็นมื้อเจริญอาหารอีกมื้อเลยทีเดียว


ดื่มด่ำบรรยากาศกันพอสมควร ก็ได้เวลาเดินทางลงจากเขากันแล้ว เส้นทางขาลงนั้นเป็นคนละเส้นทางกับตอนขาขึ้น โดยเส้นทางขาลงนี้เสมือนเราเดินตามธารน้ำไหลลงมาจากเขา ทางค่อนข้างลื่น ต้องระวัง ระหว่างทางเราได้เจอเห็ดถ้วยสีสันสวยงาม เจอเห็ดเข็มป่าที่มีสีส้มอมแดง และพืชพันธุ์อีกหลายชนิดที่เพิ่งเคยพบเห็น ระหว่างเดินทางลงเขาจึงได้ความรู้อีกหลายเรื่องจากคนในพื้นที่

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน



เดินลงเขามาพักใหญ่ในที่สุดก็ใกล้จะถึงจุดมุงหมาย เหลือเพียงเดินข้ามขอนไม้ใหญ่นี้ไป เราก็จะถึงที่พัก อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี กันแล้ว แอดขอเวลาทำใจซักพักก่อนจะปีนขึ้นขอนไม้ใหญ่ พร้อมกับก้าวเท้าอย่างมีสติทุกก้าวย่างเพื่อไม่ให้ตัวเองตกลงสู่ธารน้ำเบื้องล่าง หากทรงตัวไม่ดีตกลงไปเราจะกลายเป็นภาระให้คนอื่นๆทันที สุดท้าย…ก็ถึงจุดหมายโดยสวัสดิภาพทุกคน เย่! ภารกิจแรกสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ภารกิจต่อไป คือ ไปติดตั้ง รังเทียมนกเงือก ที่ ฮาลาบาลา พวกเราจะทำสำเร็จหรือไม่ ร่วมเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ