อีจัน Online Team
เผยแพร่เมื่อ : 11 ม.ค. 2564, 19:02
1
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความทางออนไลน์ว่า สภากาชาดไทย จำหน่าย เลือด ที่ได้รับจากการบริจาคฟรี ให้กับ โรงพยาบาล จนมีการแชร์ต่อออกไปเป็นจำนวนมาก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (28 พ.ย. 2563) ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าว เป็น ข่าวปลอม โลหิต บริจาค ไม่ใช่ของซื้อขาย ด้วยมีค่าสูงสุดจากน้ำใจของเพื่อนมนุษย์ที่มิอาจประเมินค่าได้ และ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ให้บริการ โลหิต และส่วนประกอบ โลหิต แก่ โรงพยาบาล เพื่อใช้รักษาผู้ป่วย โดยมิได้จำหน่ายหรือคิดค่าโลหิตซึ่งได้รับจากการบริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนของผู้บริจาคโลหิตทั่วประเทศ เพื่อให้การซื้อขายโลหิตในประเทศหมดไป ตามหลักการขององค์การอนามัยโลก กาชาดสากล ตามปณิธานที่สภากาชาดไทยเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร

ภาพจากอีจัน
แต่จะมีค่าต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในการรับบริจาคโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต หลอดเก็บตัวอย่างโลหิต น้ำยาตรวจค่า ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) น้ำยาตรวจหมู่เลือด เป็นต้น 2. ค่าใช้ถ่ายการผลิตส่วนประกอบโลหิต ในการปั่นแยกโลหิตให้เป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cells) พลาสมา (Plasma) เกล็ดเลือด (Platelets) เป็นต้น 3. ค่าใช้จ่ายในกรตราทาห้องปฏิบัติกร ได้แก่ ค่าตรวจหมู่โลหิตเอบีโอ (ABO grouping) การตรวจหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh) ค่าตรวจกรองแอนติบอดี (Antibody screening) ค่าตรวจภาวะการติดเชื้อที่สามารถติดต่อทางการให้เลือด (Transfusion-transmissible infection) ได้แก่ ชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสดับอักเสบซี ไวรัสเอขไอวี และซิฟิลิส โดยการตรวจวิเคราะห์ทางซีโรโลยี และวิธี Nucleic Acid Test (NAT) 4. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาส่วนประกอบโลหิตชนิดต่าง ๆ และการขนส่ง เช่น ตู้เย็นเก็บเม็ดเลือดแดง 1-6 องศาเซลเซียส ตู้เก็บเกล็ดเลือด 20-24 องศาเชลเซียสที่ต้องเขย่าตลอดเวลา ตู้แช่แข็งพลาสมา -20 องศาเซลเซียส เป็นต้น อีกทั้งต้องรักษาอุณหภูมิของส่วนประกอบโลหิตชนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Blood cold chain ตลอดระยะเวลาขนส่งจากต้นทางจนถึงปลายทาง 5. ค่าใช้ถ่ายในการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ตามระบบ ISO และ GMP ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะถูกกำหนดโดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะนำมาเทียบเคียงให้เทียบเท่า หรือต่ำกว่าเกณฑ์กลางตามความหมาะสมกับการบริการโลหิตทุกประเภท นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนค่าอาคารสถานที่ ค่ารถออกหน่วยเครื่องที่ ค่าเครื่องมือครุภัณฑ์ ค่าบุคลากร ค่า สาธารณูปโภค และค่าดำเนินการสนับสนุนอื่น ๆ ที่รวมแล้วจะสูงกว่าต้นทุนบริการที่เรียกเก็บ โดยส่วนที่ขาด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะรับผิดชอบทั้งหมด ประกอบกับได้รับงบประมาณดำเนินการบางส่วนจากรัฐบาลมาช่วยเหลือ ดังนั้น ระวัง!! อย่าหลงเชื่อข้อมูลผิดๆ นะคะ