1 ธันวาคม วันเอดส์โลก WALK TOGETHER : เอดส์อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา

แนวคิด การรณรงค์ วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2563 “ WALK TOGETHER : เอดส์อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา ”

กว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การติดเชื้อเอชไอวี นับว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ และส่งผลกระทบ ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมต่อทุกประเทศทั่วโลก วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก (World AIDS Day) จากรายงานของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พบว่า ในปี 2562 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั่วโลกสะสม 38 ล้านคน เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 1.7 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ 690,000 คน ในปีนี้โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้กำหนดธีมในการรณรงค์ คือ Global solidarity, shared responsibility

จากการคาดประมาณล่าสุดปี 2563 (Spectrum-AEM 2019,6 เม.ย.2563) พบว่าเมื่อสิ้นปี ประเทศไทย จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 472,376 คน เอชไอวีรายใหม่ 4,855 ราย/ปี (เฉลี่ย 33 ราย/วัน) และจานวนผู้ติดเชื้อฯ ที่เสียชีวิตจากเอชไอวี 11,882 ราย/ปี (เฉลี่ย 32 ราย/วัน) และผลการดาเนินงาน ตามเป้าหมาย 90-90-90 ในปี 2562 พบว่า มีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่และรู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง ร้อยละ 99.8 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด แต่มีผู้ติดเชื้อฯ ที่รู้สถานะและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพียงร้อยละ 79.9 ของผู้ติดเชื้อฯ ที่ได้รับการวินิจฉัย และในจานวนของผู้ที่กาลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส สามารถกดไวรัส ในกระแสเลือดได้สำเร็จ ร้อยละ 97.3

ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์อย่างมุ่งมั่นที่จะยุติปัญหาเอดส์ (Ending AIDS) ภายในปี 2573 โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์พ.ศ.2560–2573มีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 1. ลดจานวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือปีละไม่เกิน ๑,๐๐๐ ราย 2. ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหลือปีละ ไม่เกิน ๔,๐๐๐ ราย และ 3. ลดการรังเกียจและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงจากเดิม ร้อยละ ๙๐ โดยการดาเนินงานเพื่อลดการรังเกียจและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีและเพศภาวะ ยังเป็นความ ท้าทายในการดาเนินงานเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรหลัก

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (Health Examination Survey) ในปี 2558 พบว่า ประชาชนไทย มีทัศนคติการเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี สูงถึงร้อยละ 58.๖ และการสำรวจจากกลุ่มประชากรทั่วไป ผลการสำรวจการตีตรา และเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพในผู้ให้บริการและผู้รับบริการ พ.ศ. 2560 พบว่า ผู้ติดเชื้อฯ มีการตีตราตนเองเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 34.9 เคยถูกเลือกปฏิบัติระหว่างรับบริการสุขภาพ ร้อยละ 11.1 เคยถูกเปิดเผยสถานะและความลับเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 10.2 และเคยถูกแนะนาให้ยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 2.1 สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้รับบริการเคยตัดสินใจไม่ไปรับบริการที่สถานบริการสุขภาพ ร้อยละ 34.9

ส่วนการสำรวจผู้ให้บริการ พบว่าในปี 2558 และปี 2560 มีผู้ให้บริการที่เลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี และกลุ่มประชากรหลัก ร้อยละ 23.7 และร้อยละ 27 มีการป้องกันตนเองมากกว่าปกติเมื่อให้บริการแก่ผู้มีเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 53 และร้อยละ 60 สรุปได้ว่า ผู้รับบริการยังคงตีตราตนเองและผู้ให้บริการก็ยังคงเลือกปฏิบัติอยู่ด้วย และสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในประชากรหลัก (MSM TG MSW FSW) ในการสำรวจ IBBS ปี 2561 พบว่า กลุ่มประชากรหลักต้องพบปัญหาการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติโดยครอบครัว สถานที่ทางาน/สถานศึกษา สถานบริการสุขภาพ โดยกลุ่มหญิงข้ามเพศพบปัญหามากที่สุดในสถานที่ทางาน/สถานศึกษา ร้อยละ 12.11

ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 4.99 และในการรับบริการด้านสุขภาพ โดยพบว่า พนักงานบริการชายตัดสินใจ ไปเข้ารับบริการสุขภาพล่าช้าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สูงถึง ร้อยละ 4.71 รองลงมา คือ กลุ่มหญิงข้ามเพศ ร้อยละ 4.39 ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 3.28 การตีตราตนเองมากที่สุด ร้อยละ 17.14 ในพนักงานบริการชาย รองลงมา ในชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 14.27 และกลุ่มหญิงข้ามเพศ ร้อยละ 9 การมีประสบการณ์ ถูกล่วงละเมิดหรือกระทาความรุนแรงทางเพศ สูงถึง ร้อยละ 8.99 ในกลุ่มหญิงข้ามเพศ รองลงมา คือ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการชาย และพนักงานบริการหญิง ร้อยละ 7.39 7.12 และ 5.60 ตามลาดับ
กรมควบคุมโรคได้กาหนดมาตรการเพื่อขจัดปัญหาการรังเกียจตีตราและเลือกปฏิบัติให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่ง มีเป้าหมายลดลง ร้อยละ 90 จากข้อมูลพื้นฐาน โดยมีการดาเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1. ขับเคลื่อนและขยายผลการอบรม การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ตามมาตรการ 3 X 4
2. พัฒนาหลักสูตรและขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้การลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในกลุ่มบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุขโดยใช้การเรียนรู้แบบE–learning
3. ปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ โดยการจัดกลไกการปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ในพื้นที่ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม และภาคประชาสังคม และการจัดทาระบบรับเรื่องและคุ้มครองการละเมิดสิทธิ์ ด้านเอดส์ (CRS web application)
4. แก้ไขปัญหาการถูกละเมิดสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานที่ทางาน ร่วมกับภาคประชาสังคม 5. ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติเอดส์ในสถานที่ทางาน “องค์กรดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทางาน”
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันเอดส์โลกพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 และติดโบว์แดงเพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ถึงการสนับสนุนร่วมใจกันของทุกภาคส่วนในสังคม ที่จะช่วยสร้างจุดเปลี่ยนในการยุติปัญหาเอดส์ภายใต้แนวคิดการรณรงค์คือ “WALK TOGETHER: เอดส์อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา”

มีสาระสำคัญ คือ ทุกคนมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในการก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวีและเพศภาวะ โดยสร้างความตระหนักและความเข้าใจ อย่างถูกต้องว่า “เอดส์เป็นเรื่องธรรมดา” ไม่ใช่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่น่ารังเกียจและน่ากลัว และไม่ได้ติดต่อกัน ได้ง่ายๆ ผู้มีเชื้อเอชไอวี มีสิทธิ เสรีภาพ ในการดารงชีวิต ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ไม่บังคับตรวจเอชไอวี

ไม่เปิดเผยผลเลือดของผู้อื่น และไม่นาผลเลือดมาเป็นเงื่อนไขในการเข้าทางาน การเข้าศึกษา การรับบริการ ด้านสุขภาพ ทั้งนี้ การก้าวไปด้วยกันเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติจาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล องค์กร และสังคม อันจะส่งผลให้ผู้มีเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและได้รับการบริการที่เท่าเทียม ซึ่งนาไปสู่ การยุติปัญหาเอดส์ของประเทศไทยภายในปี 2573 ต่อไป ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลและสื่อต้นแบบได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมโรค ddc.moph.go.th/das/ และ ขอเชิญร่วมกิจกรรมวันเอดส์โลกได้ทาง Facebook Fanpage: Safe SEX Story และบริการปรึกษาได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422