นายจ้าง สั่งงาน ลูกจ้าง วันหยุดต้องจ่าย OT

นายจ้าง สั่งงานวันหยุด ลูกจ้าง ไม่ตอบ ไม่ผิด! ไม่มีผลต่อการประเมิน สั่งงานวันหยุด ถือว่าทำงานล่วงเวลา ต้องจ่าย OT

เคยโดนกันไหมคะ? วันหยุดทั้งทีวางแผนจะออกไปเสริมสวย ไปช็อปปิ้ง หรือไปเดทกุ๊กกิ๊กกับคนรัก แต่… ก็ต้องชะงัก เมื่อเจ้านายไลน์มาสั่งงาน!!!
อ๊ะๆๆๆ แต่รู้ไหมว่า วันหยุด ถ้า นายจ้าง สั่งงาน ลูกจ้างไม่ตอบ ไม่ผิดนะ และไม่มีผลต่อการประเมินด้วย ที่สำคัญ ถ้า นายจ้าง สั่งงานวันหยุด ก็ต้องจ่ายโอทีด้วย เพราะถือว่า ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
เพจกฎหมายแรงงาน โดย อ.ตรีเนตร สาระพงษ์ ได้โพสต์ให้ความรู้ถึงประเด็นดังกล่าวว่า การสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกเวลาทำงาน ถือเป็นการให้ ลูกจ้าง ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ย่อมเป็นการทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ซึ่ง ลูกจ้าง มีสิทธิที่จะปฏิเสธการทำงานได้ หรือถ้า ลูกจ้าง ทำงาน นายจ้าง ควรต้องจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดให้ ซึ่งในประเทศฝรั่งเศส มีหลัก " สิทธิจะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน " ที่กฎหมายให้อำนาจ ลูกจ้าง ที่จะไม่อ่าน ไม่ตอบ การสื่อสารนอกเวลาทำงานได้ โดยไม่มีความผิด แล้วการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำงาน นายจ้างทำได้ไหม? อ.ตรีเนตร สาระพงษ์ ระบุว่า เบื้องต้นขอเรียนว่าเรื่องที่ท่านกำลังอ่านนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมาย ทุกวันนี้พนักงานออฟฟิศรับข้อมูลมากกว่าเมื่อสี่ปีก่อนถึง 7 เท่า และจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 32 เท่า ในปี 2563 ซึ่งข้อมูลที่ล้นเกินก็ไม่จำเป็นต้องสนใจ เมื่อพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 23 กำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงข้างต้นเรียกว่า "ล่วงเวลา" และถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่าย "ค่าล่วงเวลา" ถ้าล่วงเวลาวันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า ถ้าล่วงเวลาในวันหยุดจ่าย 3 เท่า ปัญหาว่าการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไลน์ ข้อความเฟซบุ๊ก อีเมลล์ ฯ นายจ้าง สามารถทำได้หรือไม่ จะขอแยกอธิบายเป็น 3 ประเด็น คือ 1.สั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเวลาทำงานปกติ เช่นนี้การสั่งการดังกล่าวสามารถทำได้ เพราะ นายจ้าง มีอำนาจบังคับบัญชา ลูกจ้าง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว นายจ้าง ได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนในรูปของ "ค่าจ้าง" อยู่แล้ว 2. สั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ "นอกเวลาทำงานปกติ" หรือ "ในวันหยุด" และผลจากคำสั่งนั้นทำให้ ลูกจ้าง ต้องทำงานให้แก่ นายจ้าง เช่น นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างคำนวณต้นทุน หรือทำเอกสาร หรือค้นคว้าหาข้อมูล จะเห็นได้ว่าผลจากคำสั่งดังกล่าวลูกจ้างต้องทำงาน และเป็นการทำนอกเหนือเวลาทำงานปกติ หรือทำงานในวันหยุด อ.ตรีเนตร สาระพงษ์ จึงแสดคงามความเห็นทางกฎหมาย ว่า 1. ลูกจ้างปฏิเสธที่จะทำได้ เพราะมาตรา 24 กำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย 2. หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างจะนำเอาเหตุดังกล่าวไปใช้ในการประเมินผลงานไม่ได้ เพราะสิทธิที่จะปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา เป็นสิ่งที่กฎหมายบัญญัติรองรับให้สิทธิ 3. เมื่อการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นการ "ทำงานล่วงเวลา" หรือ "ทำงานในวันหยุด" เพราะเป็นการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ หรือทำงานในวันหยุด นายจ้างน่าจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ในมาตรา 61 , 63 และมาตรา 62 4.หากการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เป็นการทำงาน แต่เป็นการสอบถามหรือสื่อสารทั่วไป เช่น ถามที่เก็บกุญแจตู้ หรือขอรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนเห็นว่า ไม่ถือว่าเป็นการทำงาน นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด หลักสิทธิมนุษยชนกับการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำงาน เมื่อพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาตรา 12 ที่กำหนดว่า "บุคคลใดจะถูกแทรกแซงในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศชื่อเสียงตามอำเภอใจหรือโดยผิดกฎหมายไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าว" จะเห็นว่าการทำงานในโลกดิจิทัลที่มีการเชื่อมต่อ นายจ้าง เข้ากับ ลูกจ้าง แบบออนไลน์ ทำให้ นายจ้าง มีเครื่องมือในการบังคับบัญชา ลูกจ้าง ได้ตลอดเวลา แต่หากพิจารณาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะเห็นได้ว่าการสั่งงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นการแทรกแซงต่อเวลาอันเป็นส่วนตัวของ ลูกจ้าง ในช่วงเวลานอกเหนือเวลาทำงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจบังคับบัญชา หรือสั่งงานของนายจ้างเอาไว้ในมาตรา 23 แห่งกฎหมายแรงงาน อีกทั้ง เมื่อพิจารณาจากมาตรา 24 ในกฎหมายฉบับเดียวกันยังได้คุ้มครอง ลูกจ้าง จากการทำงานล่วงเวลาโดยวางหลักห้ามมิให้บังคับให้ ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจาก ลูกจ้าง โดย นายจ้าง จะต้องจ่ายค่าตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า "ค่าล่วงเวลา"