แอดมินเพจ กัญชาชน มองการ ผลักดัน ปลูกกัญชา เฟส2 ติง ไร้ แผนรองรับ

ผู้ก่อตั้งแฟนเพจ กัญชาชน มอง ภาพรวม การดำเนิน นโยบาย ผลักดัน ของ กรมการแพทย์แผนไทย ชี้ ไม่มีแผน และ มาตรฐานรองรับ

จากกรณี กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ประกาศ เดินหน้า ผลักดัน นโยบายการกระจายการปลูก กัญชา ทั่วประเทศ ผ่าน โรงพยาบาลสุขภาพประจำตำบล 150 แห่ง ซึ่งเป็นการ เดินหน้า นโยบาย กัญชา ทางการแพทย์ ในระยะที่ 2 หลังจาก นำร่อง ด้วยการ อนุญาต ให้ มหาวิทยาลัย ต่างๆที่ได้รับ อนุญาต ทำการปลูก กัญชา เพื่อใช้ใน ทางการแพทย์ ขึ้น

ภาพจากอีจัน
หากดูตามแผนที่ดำเนินมานี้ ดูเหมือนว่า จะไม่มี ปัญหา แต่อย่างใด แต่ใน ความเป็นจริง แล้ว การผลักดัน นโยบาย ดังกล่าว ราบรื่นจริงหรือ? นายรัฐพล แสนรักษ์ หรือ ไกด์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ กัญชาชน ได้ แสดงความเห็น ต่อ การดำเนินการ ผลักดัน นโยบาย ใน ระยะที่ 2 ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เป็น ผู้ดำเนินการ นั้นว่า แม้ภาพที่ออกมา จะเป็นการ กระจายตัว ออกไป 150 โรงพยาบาล สุขภาพ ประจำ ตำบล แล้วก็มีการจับมือกับ วิสาหกิจชุมชน ในการปลูก กัญชา ขึ้นมา ในมุมของ ชาวบ้าน ที่การปลูก ปัญหาอย่างแรก ที่เห็นกันชัดๆ คือ ราคา รับซื้อ ผลผลิต จาก การปลูก กัญชา ราคากลาง อยู่ที่ เท่าไหร่ เมื่อมีการ ผลิต ออกมาแล้วนั้น มี ตลาด รองรับ หรือไม่ โรงพยาบาล ต่างๆ ที่มี ความจำเป็น ต้องใช้ ผลิตภัณฑ์ จาก กัญชา จะมีการ รับซื้อ หรือไม่ ตอนนี้ ความชัดเจน ต่างๆ มันยังไม่เกิดขึ้นมา


“คนที่เป็น ชาวบ้าน จริงๆ เมื่อเขาทำไปแล้ว เขา จะได้ อะไร ซึ่ง เขา ก็ไม่ได้อะไร ไม่มีความชัดเจน ในราคาตลาด แต่อยากให้ มีคนมาทำ ในตรงจุดนี้ แต่เมื่อทำแล้ว มันจะไปขายที่ไหน “ รัฐพล กล่าว
ผู้ก่อตั้งเพจ กัญชาชน ยังมองต่อไปอีกว่า ในการจับมือกันกับทาง กรมการแพทย์แผนไทยฯ นั้น โดยตัวกรมเอง ก็ไม่ได้มี งบประมาณอะไรมากนัก ซึ่ง ยังมองไม่ออกว่า จะมีการจัดสรร งบประมาณ ในการมารับซื้อ ผลผลิตกัญชา จากวิสาหกิจชุมชน จำนวนเท่าไหร่กันแน่
“ คำถามมันก็ยังอยู่ในจุดที่ว่า คนปลูกจะได้อะไร กลไกของตลาด มันจะเป็น อย่างไร แม้ตัว นโยบาย จะมีความชัดเจนขึ้น แต่การที่ไปเอา กลไก ภาครัฐ มาควบคุม มันทำให้ ภาพรวม ของ กลไก มันไม่สามารถ ขับเคลื่อน ไปได้ เท่าควรจะเป็น และมัน ส่งผลให้ กลายมาเป็น ปัญหา อย่างทุกวันนี้ ว่า ขาย ก็ไม่ได้ขาย คนปลูก ก็ไม่ได้เงินกันจำนวนมาก “

นอกจากนี้ นายรัฐพล ยังได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ อีกว่า ในส่วนที่ กรมการแพทย์แผนไทยฯ จะทำออกมานั้น เป็นการทำในส่วน ยาตำหรับโบราณ 16 ตำหรับ ไม่ใช่ การผลิตออกมาเป็น น้ำมันกัญชา ตามที่ ตลาด ต้องการ ซึ่งในส่วน การผลิต น้ำมันกัญชา เป็นหน้าที่รับผิดชอบ ของ แพทย์แผนปัจจุบัน แล้วความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน มีการไปตีกรอบการใช้ น้ำมันกัญชา ทางการแพทย์ ในกลุ่ม 4 กลุ่มโรค ที่ค่อนข้างแคบ จนเกินไป เช่น โรคมะเร็ง โรคระบบประสาทเสื่อม โรคลมชัก แล้วการจะเข้าถึงตัว น้ำมันกัญชา ในระบบ ก็ไม่สามารถเข้าถึง ได้โดยตรง ระบบการจ่ายยาเอง ก็มีความวับซ้อน ทำให้ แพทย์ ก็ไม่กล้า ที่จะ จ่ายยา จากสารสกัด น้ำมันกัญชา ซึ่งน้ำมันในล็อตแรก ก็ หมดอายุ ไป จำนวนมาก
.”หากให้แพทย์แผนไทยทำ ก็จะทำได้เพียงยาตำหรับโบราณ แต่ความต้องการ น้ำมันกัญชา มีสูงมาก และจะยิ่งทำให้ผู้ป่วย ที่ปกติเข้าถึงยาได้ยากอยู่แล้ว ยิ่งเข้าถึงได้ยากมากขึ้นกว่าเดิมขึ้นไปอีก “ รัฐพล กล่าว ทิ้งท้าย .

ก็ได้แต่ หวังว่า เจ้าของนโยบาย จะมีการแก้ไข ปัยหา ที่เกิดขึ้น และ ควรกระจายผู้ที่ได้สิทธิ ในการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ไม่ใช่เพียงคนในพรรคการเมืองใด การเมือง หนึ่ง ยิ่งทำแบบนั้น ปัญหาไม่จบลงอย่างแน่นอน.