ททท. – สมาคมผู้ประกอบการ ร่วมหารือ โครงการ เราเที่ยวด้วยกัน – เที่ยวไทยวัยเก๋า

ททท. – สมาคมผู้ประกอบการ ร่วมหาทางออก เราเที่ยวด้วยกัน – เที่ยวไทยวัยเก๋า ยัน เลื่อนได้ สิทธิคงเดิม

วัันนที่ 11 ม.ค.64 เวลา 10.00 น. ที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา เเละ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เชิญตัวเเทนสมาคมผู้ประกอบการเอกชนร่วมหารือมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid – 19) ต่อภาคการท่องเที่ยว

ภาพจากอีจัน
ซึ่งเมื่อเวลา 12.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. ได้ร่วมกันแถลงถึงข้อสรุปหลังการประชุมเมื่อช่วงสายที่ผ่านมาว่า รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา กล่าวว่า ทางกระทรวงฯ เชิญผู้ประกอบการทั้ง 5 สมาคม ได้แก่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ สมาคมการแสดงสินค้าไทย สมาคม TICA สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ สมาคมโรงเเรม มาร่วมประชุม หารือจากการเกิดวิกฤติการณ์ของโควิด-19 ในรอบนี้ ซึ่งทำให้การเดินทาง การท่องเที่ยวหยุดชะงักไป เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการสายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต้องการที่จะทราบว่า ภาครัฐจะช่วยเหลือเยียวยาอย่างไรได้บ้าง โดยในกรณีที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐก็ได้มีการทำมาก่อนเเล้ว ก็คงจะมีการนำเสนอเรื่องเหล่านี้กลับไปสู่รัฐบาลใหม่ เเละจากการหารือกับผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล ก็จะมีการทำหนังสือ เเละยื่นเอกสารมาที่กระทรวงฯ เเละรมว.การท่องเที่ยวฯ จะเป็นผู้นำส่งต่อไปยังนายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. ในวันที่ 12 ม.ค.64 ส่วนจะมีผลสรุปอย่างไร ก็จะต้องรอติดตามหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้รับเอกสารเเละนำไปหารือ ศบศ. หรือ ครม.ในโอกาสต่อไป ซึ่งทางสมาคมต่างๆ ยังได้เสนอเรื่อง ซอฟท์โลน หรือการลดค่าไฟ 15% ในช่วงวิกฤติโควิด-19 เบื้องต้นขอลดค่าไฟถึงเดือนเมษายน รวมถึงการหยุดพักชำระ หนี้ดอกเบี้ย เงินต้น ให้ยืดระยะเวลาออกไป เเละเรื่องภาษี ของปี 2563 จะยืดเวลาในการชำระภาษีออกไปได้หรือไม่ ทั้งนี้จะต้องดูสถานการณ์ของโควิด-19 อีกครั้ง ซึ่งทางรมว. กระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา จะได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งหนึ่ง เเละจะมีการประสานกับธนาคารชาติ บยส. เเละทางธนาคารพาณิชย์ ในการหาทางออกร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามว่า รัฐบาลจะตั้งกองทุนเพื่อผู้ประกอบการหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถไปต่อได้
ภาพจากอีจัน
ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. ได้กล่าวว่า โครงการเที่ยวไทยวัยเก๋า ตอนนี้รอดำเนินการที่จะนำเข้า ครม. คาดว่าจะมีการพูดคุยรายละเอียดกับทางสมาพันธ์อีกเล็กน้อย ส่วนในช่วงนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือไม่ให้มีการเดินทางข้ามจังหวัด คาดว่าน่าจะดำเนินการโครงการนี้ได้ประมาณเดือน มีนาคม หรือเมษายน ส่วนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ตัวเลขล่าสุดข้อมูล ณ วันที่ 9 ม.ค.64 จำนวนสิทธิห้องพัก ตอนนี้เหลือ 664,540 สิทธิ ตั๋วเครื่องบินเหลือ 1,485,438 สิทธิ สำหรับหลักเกณฑ์การเลื่อน ซึ่งได้หารือกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเเล้ว คาดว่าจะมีการนำเข้าสู่ ครม. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเเพคเกจในการช่วยเหลือเยียวยาเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล เเละคาดว่า หลังจากที่ ครม.มีมติในวันที่ 12 ม.ค.64 เเล้ว ก็จะสามารถดำเนินการได้ สำหรับเเนวทาง หลักเกณฑ์ เเละเงื่อนไข 1. ประชาชนต้องติดต่อเลื่อนการเข้าพักผ่านโรงเเรมโดยตรง 2. Booking ที่ทำการเลื่อนได้ต้องเป็น Booking ที่เป็นการจองห้องพักสำหรับการเข้าพักตั้งเเต่วันที่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป เนื่องจาก สธ.มีการแถลงกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดเชียงรายไปเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.63 3. ในเบื้องต้น สามารถเลื่อนการเข้าพักออกไปได้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 4. การเลื่อนเข้าห้องพัก ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการจอง เว้นวันเวลา ที่เข้าพักเท่านั้น กล่าวคือ เปลี่ยนได้เเค่วันเช็กอิน – เช็กเอ้าท์ จำนวนคืนการเข้าพักเท่าเดิม ราคาเท่าเดิม ส่วนรายละเอียดต่างๆ ต้องพูดคุยกันอีกครั้ง อย่างเช่น ถ้าจองในช่วงไฮซีซัน เเต่เลื่อนมาเป็นวันธรรมดา โรงเเรมจะจัดการอย่างไร 5. ต้องเป็น Booking ที่ไม่มีการเช็กอินเท่านั้น 6. ประชาชนสามารถติดต่อโรงเเรม เพื่อทำการเลื่อนตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบคาดว่าจะเเล้วเสร็จ ภายในเดือนมกราคม 2564 เริ่มใช้ระบบได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งในระหว่างนี้ ทางโรงเเรมอาจต้องจัดการด้วยตนเองไปก่อน เเต่สามารถเลื่อนโครงการนี้ได้เเน่นอน เเละสิทธิต่างๆ ยังคงไว้เหมือนเดิมทุกอย่าง ทุกประการ
ภาพจากอีจัน
รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ได้กล่าวอีกว่า โครงการ STV (Special Tourist Visa) ในปี 2563 ก็ได้นักท่องเที่ยวมาประมาณ 1,000 กว่าคน ซึ่งถือว่า ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เเต่ประสบความสำเร็จใจเเง่ของสภาพจิตใจของคนไทย ที่รู้ว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาในโครงการ STV ทั้งหมด เมื่อกักตัวครบ 14 วัน ผลออกมาไม่มีคนติดโควิด-19 สักคน ซึ่งหลังจากนี้ หากเป็นไปได้ ก็อยากจะ นำเรื่องนี้ไปหารือกับกระทรวงสาธารณสุขในเบื้องต้น ก่อนจะนำเรื่องเข้าไปหารือกับ ศบค. คือ เรื่องของ Area Quanrantine ของโรงเเรม โดยใช้บริเวณโรงเเรมเป็นสถานที่กักตัว เเทนการกักตัว 14 วันในห้องพัก ซึ่งเรื่องนี้ทาง สธ. ได้หารือ กับศบค.ไว้เเล้ว เเละทางครม. ได้รับทราบเรื่องการขอผ่อนปรน จากการกักตัวในห้องพัก 14 วัน ในระบบ ASQ ลดเหลือ 10+4 คือกักตัวในห้อง 10 วัน อีก 4 วันสามารถออกมาข้างนอกได้ เป็น Hotel Quanrantine สามารถเข้ามากักตัวในที่พัก หรือรวมถึง รีสอร์ท ที่มีรั้ว เเละมี บริเวณที่สามารถออกได้พักผ่อนได้ ซึ่งเป็นโรงเเรมที่อยู่ใน ASQ อยู่เเล้ว เเต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องผ่านการตรวจสอบ ของหลายๆ กระทรวงอีกครั้ง ซึ่ง สธ.จะต้องเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขทั้งหมด ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีนักท่องเที่ยวที่เข้ามา อยู่ใน Area ของ Hotel Quanrantine มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่า STV เพราะฉะนั้น ก่อนจะมีวัคซีนเข้ามา ถ้าเราได้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ก็ถือเป็นการกระตุ้นรายได้ของเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว