สธ. และ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เร่งพัฒนาแอป หมอชนะ เพื่อควบคุม – ติดตามโควิด

สธ. และ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จับมือหารือ เร่งพัฒนาแอป หมอชนะ เพื่อควบคุม – ติดตามโควิด หลัง มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน

ช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยิน “แอปพลิเคชัน หมอชนะ” มาบ้างแล้ว

ล่าสุด (18 ม.ค. 64) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อติดตามและประเมิน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด 19 เนื่องจากอยู่ในระหว่างการพัฒนาร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กับผู้ใช้งานในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข “ อาจมีบางประเด็นที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน” ต้องมีการหารือและทำความเข้าใจเพิ่มเติมต่อไป โดยเฉพาะประเด็นที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กังวลเกี่ยวกับสถานะของผู้ติดเชื้อ จะได้นำไปทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้แอปพลิเคชันหมอชนะ มีประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนในการป้องกันควบคุมโรค

ภาพจากอีจัน
นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า ช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ มีการนำแอปพลิเคชันหมอชนะ มาช่วยติดตาม สอบสวนโรค และเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพิ่มเติมจากการใช้ไทยชนะ ตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากแอปพลิเคชันหมอชนะ สามารถติดตามการเดินทางผู้ที่มีความเสี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยได้ โดยในวันที่ 16 มกราคม 2564 ได้มีการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ใช้แอปพลิเคชัน จำนวน 3,283 เครื่อง ส่งข้อความไปยัง 2 กลุ่ม ได้แก่ – กลุ่มที่ 1 ผู้มีความเสี่ยงต่ำที่ไปในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ ให้รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อประเมินความเสี่ยงและให้สังเกตอาการ 14 วัน หากมีอาการป่วย ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ และพบแพทย์ใกล้บ้านทันที หรือสอบถามที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1422 – กลุ่มที่ 2 ผู้มีความเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ และพบแพทย์ใกล้บ้านทันที หรือสอบถามที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1422 ทั้งนี้ มีการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันหมอชนะ 2 รูปแบบดังนี้คือ แบบที่ 1 เมื่อทีมสอบสวนพบผู้ป่วยยืนยันโควิด 19 จะถ่ายภาพ QR code และ ส่งมาที่กรมควบคุมโรค เพื่อสืบค้นหาเครื่องใกล้เคียง ที่ลงแอปพลิเคชันในช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อส่งข้อความให้เฝ้าอาการระวังตนเองและการปฏิบัติตัว พร้อมสถานที่หรือเบอร์ติดต่อสอบถามกลับ แบบที่ 2 การสืบค้นหาเครื่องใกล้เคียงที่ลงแอปพลิเคชัน จากสถานที่ที่ผู้ป่วยยืนยันเดินทางไปในช่วงเวลาที่คาดว่ามีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อได้ และดำเนินการส่งข้อความไปเช่นเดียวกับแบบที่หนึ่ง
ภาพจากอีจัน