รั้วไผ่หนาม หนึ่งวิธีการทางธรรมชาติ ป้องกันสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์

ปลูกไผ่หนาม สร้างรั้วป้องกันสัตว์ใหญ่ บุกรุกพื้นที่เกษตรกร

30 ก.ค. 62 นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่ดูงานโครงการปลูกสร้างรั้วไผ่หนามป้องกันสัตว์ขนาดใหญ่ออกหากินนอกเขตป่า บริเวณแนวเขตรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ณ บ้านคลองเพล ตำบลหมูสีอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบกับแกนนำกลุ่มรั้วไผ่หนาม และกลุ่มจิตอาสาที่ร่วมกันปลูกสร้างรั้วไผ่หนามรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


โดยนายจงคล้าย กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสัตว์ป่าออกนอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะช้างป่าเข้าไปในพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยชุมชน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในหลายจังหวัดซึ่งอยู่ในความดูแลของกรม
อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สร้างความเดือดร้อนกับประชาชนที่อยู่อาศัยติดกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่า และพื้นที่อื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน

ภาพจากอีจัน


รวมถึงเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่าซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความสูญเสียทรัพย์สิน บาดเจ็บ และเสียชีวิต

นายจงคล้าย บอกอีกว่า จากสภาพปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะปัญหาข้างป่าออกนอกพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า ซึ่งหลายหน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ติดกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ และหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น สร้างแหล่งน้ำ อาหารในพื้นที่ รวมทั้งก่อสร้างรั้วแนวกั้น อาทิ รั้วไฟฟ้า รั้วเสาไฟการไฟฟ้า และด้วยวิธีทางธรรมชาติ เช่น ขุดคูกันช้าง รั้วรังผึ้ง รวมทั้งรั้วไผ่หนาม ด้วย

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


สำหรับโครงการปลูกสร้างรั้วไผ่หนามป้องกันสัตว์ขนาดใหญ่ออกหากินนอกเขตป่า บริเวญแนวเขตรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นหนึ่งในวิธีการทางธรรมชาติที่หลายประเทศได้นำไปใช้ในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ เช่น ช้างป่า เนื่องจากใช้งบประมาณค่อนข้างต่ำเพราะเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาดำเนินการตามแนวเขตของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้มีการสำรวจพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหา และวางแผนดำเนินการโดยรอบแนวเขตรอบ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ท้องที่จังหวัด
นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัด
สระบุรี โดยเน้นแนวเขตที่มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ออก
นอกเขตอยู่เป็นประจำเป็นเป้าหมายอันดับแรก

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

โดยประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน องค์กรเอกชนต่างๆ ที่อยู่ตามแนวเขตได้รับทราบและเข้าใจ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายอนุรักษ์ หรือสมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.อส.) และอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (อส.อช.) ในแต่ละจังหวัด โดยใช้กล้าไผ่หนามที่มีขนาดความสูงมากกว่า 50 เซนติเมตรที่เพาะโดยชุมชน เมื่อปลูกแล้วจะมีการดูแลกำจัดวัชพืชรอบโคน ใสปุ๋ยและรดน้ำหากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง จนกว่ามั่นใจว่ามีอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็นต์

โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 และจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2564 หากประสบผลสำเร็จ จะสามารถป้องกันสัตว์ป่าขนาดใหญ่ออกนอกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ และจะขยายผลเพื่อก่อสร้างในพื้นที่อื่นๆ ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อไป

ด้าน น.ส.อะมะรา ธรรมแพทย์ ประธานกลุ่ม และผู้ดำเนินโครงการ เปิดเผยว่า รูปแบบของโครงการในปัจจุบันจะต้องปลูกให้เป็นรั้วให้ได้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งเรามีตัวอย่างของรั้วไผ่หนามที่โตแล้วอยู่ที่ จ.สระบุรี