อีจันส่องใต้ พาไปส่อง “ลูกหัวครก” หรือที่รู้จักกันคือ “มะม่วงหิมพานต์”

ฉันคือ ลูกหัวครก เม็ดยาร่วง ลูกกาหยี โม่งหัวครก หรือเรียกยาวๆ หน่อย ทางการหน่อย ก็คือ มะม่วงหิมพานต์ นั่นเอง

มาแล้วพี่น้องเห้อ ของดีบ้านเรา อีจันส่องใต้ พาไปรู้จักกับลูกหัวครกพี่น้อง ว่าหรอยนิ

ลูกหัวครก เม็ดยาร่วง ลูกกาหยี โม่งหัวครก โอ้ยยย ชื่อนางเยอะมาก วันนี้จันพามาแนะนำให้รู้จักกับสิ่งนี้ คนกรุงเทพฯ คนอีสาน คนกลาง อาจม่รู้จัก ถ้าเรียกตามภาษาพื้นบ้านไม่คุ้นหู แต่ถ้าเรียก มะม่วงหิมพานต์ ก็คง อ่อ ตามๆ กัน

ภาพจากอีจัน
ส่วนพี่น้องทางใต้ ไม่ต้องพูดถึง รู้จักดี แต่กว่าจะได้กินเม็ดมันก็เล่นเอาเหงื่อตกเหมือนกัน และถ้าจะแนะนำทั้งต้น ก็เกรงว่าต้องใช้เวลานานมากๆ เอาเป็นว่า เรามาทำความรู้จักแค่ ลูกของนางก็พอ ลูกหัวครก (มะม่วงหิมพานต์) จะอยู่ส่วนหัว ตุ่มๆ อยู่ที่ผลของลูก มะม่วงหิมพานต์ ซึ่งถ้าไปใต้ คงได้เห็น ลูกหัวครกชุบน้ำตาล ว่าหรอยนิ!
ภาพจากอีจัน
ลูกหัวครก มีประโยชน์ มีสารประกอบที่ในเมล็ด ได้แก่ น้ำ 5.9% โปรตีน 21.0% ไขมัน 47.0% คาร์โบไฮเดรต 22.0% แร่ธาตุ 2.4% แคลเซียม 0.5% ฟอสฟอรัส 0.4% เหล็ก 5.0 มิลลิกรัม แคโรทีน 100 i.u/100 กรัม
ภาพจากอีจัน
มาทางการมาเลยจ้า! เห็นแล้วน้ำลายยายไหลย้อยเลย พี่น้องคนใต้คงมีโมเมนต์ดีๆ ในความทรงจำ เกี่ยวกับเม็ดหัวครก ได้ยินเสียงยายเรียก หินลูกหัวครกหม้าย เดินตามมา… เก็บเสร็จ ก่อไฟให้พร้อม หาหลังคาสังกะสี มาเตรียมไว้ วางบนไฟ เอาหัวครกลงไป หาไม้ยาวๆ มารอเขี่ย ระวังทุนะ >< ไฟต้องแรง คั่วจนดำ แล้วไม่มีอะไรปะทุแล้ว ก็ถือว่าใช้ได้ เอามาพักไว้ให้เย็น หลังจากนั้น วิ่งไปเอาสากกะเบือในครัวของยาย มาตี เอาเม็ดข้างในออกมา
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


ดูเหมือนง่ายใช่ไหม แต่ไม่เลย กว่าจะได้ออกมากินนั้น มือก็ดำ เผลอๆ มือพองเพราะโดนความร้อนด้วย แต่รับรองความมัน ความหวาน และความอร่อย ไม่เป็นสองรองใครแน่นอน

อีจันส่องใต้ ภาษาใต้วันละคำ คือคำว่า "ลูกหัวครก" นั้นเอง ที่แปลว่า มะม่วงหิมพานต์ นั้นแหละจ้า