นิ้วล็อก! โรคร้ายของคนวัยทำงาน

มูลนิธิหมอชาวบ้าน เตือน วัยทำงานระวังเป็นโรคนิ้วล็อก เผย ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 40 – 50 ปี และ ในกลุ่มคนทำงาน โดยเฉพาะคนที่ทำงานต้องใช้มือจับสิ่งของหรืออุปกรณ์บ่อยๆ

ระวังนะ! ทำงานอยู่ดีๆ นิ้วล็อกเฉยเลย
ข้อมูลจากเพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน บอกว่า นิ้วล็อก คือ อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนในช่วงอายุ 40-50 ปี และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนทำงานในออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อกเพิ่มมากขึ้น หรือคนทำงาน ที่ต้องใช้มือ จับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องในการทำงาน เช่น ช่างฝีมือ ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างทำผม ช่างตัดเสื้อผ้า ทันตแพทย์ คนสวน แม่บ้าน คนทำอาหาร หมอนวด เป็นต้น

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


นิ้วล็อก! แบ่งอาการเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : เจ็บฝ่ามือ แต่ยังสามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้ปกติ
ระยะที่ 2 : เวลางอนิ้วจะมีการสะดุดแต่ยังงอได้เหยียดได้ ยังใช้งานได้เป็นปกติ การเคลื่อนไหวมือยากขึ้น
ระยะที่ 3 : กำมือได้ แต่จะมีอาการค้าง, เหยียดนิ้วมือไม่ออก จึงต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยในการเหยียดนิ้วมือออกมา
ระยะที่ 4 : เวลากำมือนิ้วจะกำไม่ลง

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


สาเหตุเกิดจาก ปลอกเส้นเอ็นของเราอักเสบและตีบแคบลง ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนไหวได้ไม่เป็นปกติ เมื่อปล่อยให้ถึงระยะที่ 4 ปลอกเอ็นจะตีบแคบมากจนกระทั่งเอ็นไม่สามารถผ่านจุดคอดได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราควรพักผ่อน และเปลี่ยนพฤติกรรม หยุดการใช้งานมือ หลีกเลี่ยงการใช้มือจับ หรือเกร็งอะไรเป็นเวลานานๆ, แช่มือในน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอาการอักเสบได้ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น, เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง แต่หากไม่ดีขึ้นพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที