ไม่ว่าจะเกษตรกรหรือไม่ ก็เสี่ยงได้รับสารพิษจากยาฆ่าหญ้า

กรมควบคุมโรคเผย แต่ละปีมีผู้ป่วยจากการรับสารพิษจากยาฆ่าหญ้าถึง 2,013 ราย แนะ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์

“ยาฆ่าหญ้า” อย่ามองข้ามว่าเกี่ยวกับเกษตรกรเท่านั้น ไม่ใช่เกษตรกรก็เกี่ยวเหมือนกัน เพราะสารพิษเหล่านั้นอาจปนเปื้อนมาในผลผลิตที่เราจะกิน จะใช้ด้วย เพียงแต่เกษตรกรอาจจะหนักกว่า เพราะพวกเขาใกล้ชิดที่สุด

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


กรมควบคุมโรค เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร สถานการณ์การเจ็บป่วยตั้งแต่ปี 2544 จนถึง 2560 มีรายงานผู้ป่วยรวม 34,221 ราย เสียชีวิต 49 ราย ป่วยเฉลี่ยปีละ 2,013 ราย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย อายุ 45 – 54 ปี อาชีพเป็นเกษตรกร

ภาพจากอีจัน
สารเคมีต่างๆ ที่แฝงอยู่ในยาฆ่าหญ้า คือ สารกำจัดแมลง จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเรา หากได้รับในปริมาณความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน จะมีอาการเวียนหัว ปวดหัว รูม่านตาหดเล็กลง น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย และเหงื่อแตก อ้วก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นช้า หรือเร็วตามความดันเลือด อาจต่ำ หรือ สูง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และอ่อนแรง รวมถึงอาจจะมีอาการหายใจแผ่ว บางรายอาจชัก ซึม หรือหมดสติได้ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตของเส้นประสาทสมองเลย ส่วนถ้าสัมผัสทางผิวหนังก็จะเป็นผื่นคัน แสบร้อน ชา บริเวณที่สัมผัส
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ต่อมา เป็นสารกำจัดวัชพืช หากร่างกายเราได้รับ จะเป็นพิษเฉียบพลัน ทำให้เป็นแผลในปาก เจ็บคอ กลืนลำบาก อ้วก ปวดท้อง แสบร้อนในอก ระยะต่อมา จะเกิดปัสสาวะออกน้อย ไตวาย ตับอักเสบ หัวใจ หอบเหนื่อย และ มีอัตราการเสียชีวิตสูงจากระบบอวัยวะหลายระบบไม่ทำงาน ถ้าผิวหนังได้รับการสัมผัสสารพิษ ผิวหนังจะไหม้ แผลพุพอง ปวดแสบปวดร้อน และเล็บเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือเหลือง ถ้าเข้าตาอาจจะเป็นแผลที่กระจกตา อาการพิษเรื้อรัง มักเกิดจากการสัมผัสทางผิวหนังโดยมีอาการผื่นคัน ผิวหนังไหม้ ตาดำอักเสบ น้ำตาไหลเยอะ บางรายอาจจะมีเลือดกำเดาไหลออกมาด้วย
ภาพจากอีจัน


และมี สารกำจัดเชื้อรา หากได้รับในปริมาณมากๆ ความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน มักคอแห้ง แสบจมูก ตาแดง คันตามผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนังและผื่นแดง 
อีกอย่างหนึ่ง คือ สารกำจัดหนู หรือ สารกัดแทะอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อ้วก ปวดท้องอย่างรุนแรง บางรายเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน บางรายมีอาการแน่นหน้าอกจนหายใจลำบากร่วมด้วย

สารจากยาฆ่าหญ้าเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้สามทางด้วยกัน
จากการหายใจ ซึ่งเราไม่ควรฉีดพ่นขณะที่ลมแรง หรือ ฝนตก ควรจะยืนให้อยู่เหนือลมเสมอและอย่าลืมสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย
ทางปาก จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อเรามีมือที่เปื้อนสารเคมีแล้วไปหยิบไปจับอะไรมากิน พยายามอย่ากินน้ำ อย่ากินอะไรขณะที่มือเปื้อนสารเคมีเหล่านี้ และเพื่อเป็นการป้องกัน ก็ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ให้ดีอย่าให้สารพิษรั่วไหลออกมาเปื้อนมือ หรืออวัยวะของเราได้

อีกทางหนึ่ง คือ ทางผิวหนัง ฉะนั้นต้องใส่ถุงมือปกปิดร่างกายผิวหนังให้มิดชิด ไม่ให้สารเคมีซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันดีกว่าแก้ไขนะคะ

ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น กรมควบคุมโรคยังแนะนำให้ เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการทำเกษตรอินทรีย์และการใช้สารชีวภาพ แทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ควร อ่าน ใส่ ถอด ทิ้ง

อ่าน : ฉลากเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ใส่ : อุปกรณ์เครื่องมือป้องกันอันตรายจากสารเคมีขณะทำงาน
ถอด : ชุดและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ขณะพ่นหรือทำงานแยกซักจากเสื้อผ้าอื่นๆ แล้วรีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
ทิ้ง : ผลิตภัณฑ์บรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้อง ขัดแยกออกจากขยะทั่วไปให้อยู่ในกลุ่มขยะอันตรายทิ้งให้ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

ช่วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ไกล “โรค”