กินปลาทูเข้าไปจะเป็นอันตรายไหม? หลังพบไมโครพลาสติกในท้องปลาทู

อันตรายไหม? หากกินปลาทูที่มีไมโครพลาสติก

หลังจากที่เพจเฟซบุ๊ก "ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง" ได้โพสต์ภาพปลาทู ที่เก็บตัวอย่างมาจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู

ปลาทู

โดยระบุข้อความว่า “ในการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติก จากการกินอาหารของปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) พบว่าปลาทูขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 66.53 ± 1.136 กรัม (ค่าเฉลี่ย ± SE) ความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 17.46 ± 0.087

ปลาทู
ไมโครพลาสติก

(ค่าเฉลี่ย ± SE) เซนติเมตร มีไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูเฉลี่ย 78.04 ± 6.503 ชิ้น/ตัว ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย (สีดำน้ำเงิน แดง และเขียว) ชิ้น (สีดำ ขาว แดง น้ำตาล-ส้ม ฟ้า-น้ำเงิน และเหลือง) แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96”

อ่านเพิ่มเติม : พบไมโครพลาสติกในท้องปลาทู อื้อ! 


แล้วแบบนี้คนที่กินปลาทูเข้าไปจะเป็นอันตรายไหม?

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยกับอีจันว่า ไมโครพลาสติก มาจากการย่อยสลายพลาสติกที่มนุษย์ทิ้งกันแล้วมันย่อยไม่หมดกลายเป็นชิ้นเล็กๆ หรือมาจากการชะล้างในครัวเรือน เช่น ล้างโฟมล้างหน้า พวกนี้ก็จะมีนาโนพลาสติกเล็กๆ อยู่ในโฟมล้างหน้า มันก็จะลงไปในน้ำ แล้วพวกนี้มันใช้เวลาในการย่อยสลายนาน 10 ปี ถึง 100 ปี และในพลาสติกประกอบไปด้วยสารอันตรายหลายตัว เช่น stabilizer หรือ สารคงสภาพ สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด
พอสิ่งพวกนี้ลงสู่แหล่งน้ำ หรือลงทะเล ก็จะไปสู่ตัวห่วงโซ่อาหาร คือ ปลา สัตว์ต่างๆ ก็ไปกิน
ปลาทู
เมื่อปลาทูกินแพลงก์ตอนในน้ำ ก็กินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย จากนั้นก็ไปอยู่ในท้อง บางส่วนสลายตัวกลายเป็นนาโนพลาสติก เข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อปลาได้ หากเรากินสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป ในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง