จริงมั้ย? หลังคลิปเสียงว่อน คอลเซ็นเตอร์เผยไต๋ คุย 3 นาที ดูดข้อมูลได้

หลังมีคลิปเสียงว่อนเน็ต! เมื่อคอลเซ็นเตอร์เผยข้อมูล ว่าคุย 3 นาทีถูก ดูดข้อมูลทำบัญชีม้า อีจันมีคำตอบ

หลังมีคลิปเสียงว่อนเน็ต เมื่อคอลเซ็นเตอร์เผยข้อมูลหลัง กด 9 ตามเสียงอัติโนมัติ คุยคบ 3 นาที โดนดูดข้อมูลปลายสายไปเปิดทำบัญชีม้า

แค่ 3 นาที! มิจฉาชีพในคราบ พนง.แบงค์ ดูดข้อมูลไปหมด

แค่ 3 นาที ดูดข้อมูลได้หมดจริงมั้ย?

วันนี้ (26 ก.พ.66) อีจันไปหาคำตอบจากคุณณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เพื่อมาไขข้อสงสัย ว่าทำไมในเวลา 3 นาที คอลเซ็นเตอร์ถึงได้ข้อมูลไปทำธุรกรรม

  • คุย 3 นาที คือการหลอกถามข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ข้อมูลที่อยู่

  • ใน 3 นาที มิจฉาชีพ จะใช้จิตวิทยา พูดให้ปลายสายหลงกล

      พูดสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังวิตก เช่นยอดเงิน ความผิด ความเสียหาย 

  • การให้โหลดแอปทั้งแอปปลอม และแอปรีโมทเพื่อดูการใช้งานในมือถือ

  • 3 นาที แค่คุยถ้าไม่พูดข้อมูลส่วนตัว ไม่สามารถดูดข้อมูลได้

และทางคุณณัฐ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการฯ ฝากเตือนภัยให้ระวัง การกดโหลดแอปจากลิงค์ที่ส่งมาทางข้อความ SMS  หรือผ่านไลน์ ลิงค์ที่มิจฉาชีพส่งมาอาจจะเป็น แอปธนาคารปลอมเพื่อหลอกให้ใส่ข้อมูลเพื่อการเข้าถึงการทำธุรกรรม หรือเป็นแอปรีโมท ที่มิจฉาชีพจะดูการเคลื่อนไหว การใช้งานมือถือ การกดรหัสแอปต่างๆ ร่วมถึงเข้าดูรหัส OTP

และถ้ามีสายที่โทรเข้า อ้างว่าติดต่อจากธนาคาร ให้ดูก่อนเลยว่าเป็นเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 02 หรือเบอร์คอลเซ็นเตอร์หลักของธนาคารนั้นๆจริงหรือไม่ และเมื่อมีการสอบถามข้อมูลส่วนตัว อย่าเพิ่งตอบคำถามๆ และติดต่อไปเบอร์หลักของธนาคารโดยตรง

สำหรับผู้ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ให้รีบดำเนินการปิดเครื่องทันที ด้วยวิธีกด Force-Reset คือการกดปุ่ม Power และปุ่มลดเสียง พร้อมกันค้างไว้ 10-20 วินาที แต่ถ้าทำวิธีนี้ไม่สำเร็จ ให้ตัดการเชื่อมต่อของโทรศัพท์ด้วยการถอดซิมการ์ด ปิด Wi-Fi หลังจากนั้น ให้ติดต่อธนาคาร แจ้งความทันที

ทั้งนี้ รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายและมีวิธีการใหม่ๆ เสมอ ดังนั้น เพื่อให้ปลอดภัยจากกลโกงประชาชนควรพึงระลึกเสมอถึง 8 พฤติกรรมปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพหลอกดังนี้ 

1. อุปกรณ์ปลอดภัย-ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ถูกปลดล็อก (root/jailbreak) หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย และตั้งล็อกหน้าจอ

2. ตัวตนปลอดภัย-ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในสื่อสาธารณะเกินความจำเป็น

3. รหัสปลอดภัย-ตั้งค่ารหัส (Password) ที่ไม่ง่ายเกินไป ไม่ซ้ำกับรหัสการใช้ทั่วไป และไม่บอกผู้อื่น

4. สื่อสารปลอดภัย-ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า และไม่แสดงตัวก่อน หากถูกถามให้ตรวจสอบคู่สนทนาให้แน่ชัด

5. เชื่อมต่อปลอดภัย-ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสัญญาณ Wi-Fi สาธารณะ หรือฟรี

6. ดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ได้รับรองโดยผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ (Official Store) เช่น Play Store หรือ App Store เท่านั้น โดยไม่คลิกจากลิงก์ และตรวจเช็กการอนุญาต หรือ Permission ของแอพปลิเคชันและสังเกตการขออนุญาตเข้าใช้งานอุปกรณ์หรือข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์การใช้งานและกับประเภทการทำงานของแอปพลิเคชัน

7. มีสติรอบคอบก่อนการทำธุรกรรมทุกครั้ง อ่านข้อความที่ขึ้นเตือนบนเครื่องโทรศัพท์มือถือให้ถี่ถ้วน ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, Chat หรืออีเมลที่ถูกส่งมาจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ

8. ศึกษาและติดตามข่าวสารการใช้งานเทคโนโลยีเป็นประจำ โดยหมั่นตรวจเช็กการตั้งค่า ไม่ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (Install Unknown Apps) และใช้งาน Antivirus Software

คลิปอีจัน แนะนำ